svasdssvasds

ทนายอานนท์ คว้า "รางวัลกวางจู" เพื่อสิทธิมนุษยชนจากเกาหลีใต้ คนที่ 3 ของไทย

ทนายอานนท์ คว้า "รางวัลกวางจู" เพื่อสิทธิมนุษยชนจากเกาหลีใต้ คนที่ 3 ของไทย

คณะกรรมการคัดสรรรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือ "รางวัลกวางจู" ประกาศให้ นายอานนท์ นำภา ได้รับรางวัล กวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2021 อย่างไรก็ตาม ทนายอานนท์ ได้ไม่ได้เข้าร่วมพิธีในวันนี้ เพราะเขายังถูกคุมขังอยู่ อีกทั้งยังรักษาโรคโควิด-19 ที่ติดจากเรือนจำ

•ทำความรู้จักรางวัลกวางจู

ทนายอานนท์ นำภา ทนายคณะราษฎร คือบุคคลคนล่าสุดที่ได้รับรางวัล กวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ( Gwangju Prize for Human Rights) จากประเทศเกาหลีใต้  
    สำหรับรางวัลนี้ ถือได้ว่าก่อตั้งมาเป็นเวลา 21 ปีแล้ว โดยมีการแจกรางวัลนับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา  โดย รางวัลกวางจู มาจากมูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้น ในเกาหลีใต้ ที่ชื่อว่า "มูลนิธิ 18 พ.ค."
    โดย รางวัลกวางจู มีขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชู  "บุคคลกลุ่มหรือสถาบันในเกาหลีและต่างประเทศที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพผ่านงานของพวกเขา"  
     ในตอนแรกนั้น รางวัลกวางจู นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การก่อการครั้งสำคัญ เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980 ซึ่งประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยได้ออกมาต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของ ช็อน ดู-ฮวัน  
     ณ ปี 1980 ที่เกาหลีใต้ มีเหตุการณ์นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัย นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลีลง เหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองกวางจู  ขณะนั้นเกาหลีใต้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง

•รางวัลกวางจูในอดีต

สำหรับ รางวัลกวางจู แจกรางวัลมาต่อเนื่อง ไม่เคยเว้นว่าง นับตั้งแต่ปี 2000 โดยส่วนใหญ่ บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับรางวัล เป็นประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ศรีลังกา ติมอร์ตะวันออก เมียนมา อินโดนีเซีย บังคลาเทศ  เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์   และมีเพียงนักต่อสู้จากอาร์เจนติน่า เท่านั้นที่อยู่นอกทวีปเอเชีย ที่ได้รับรางวัลนี้
    ส่วนของไทย เคยได้รับรางวัลมาแล้ว 3 ท่าน นั่นคือ  นางอังคณา นีละไพจิตร เมื่อปี2006 , นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน เมื่อปี ค.ศ.2017 และล่าสุด นายอานนท์ นำภา ในปีนี้
    โดย ผู้ได้รับรางวัลกวางจู นอกจากได้รับการยกย่องแล้ว ยังได้เงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณเกือบๆ 2 ล้านบาท) อีกด้วย

• องค์กรเคยถอนรางวัลอองซานซูจี

ทั้งนี้ รางวัลกวางจู เคยมอบรางวัลให้กับบุคคลสำคัญของโลก อย่าง นางอองซาน ซูจี  นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มาแล้ว เมื่อปี 2004 แต่รางวัลนี้ต้องถูกยกเลิกเมื่อปี 2018 เพราะเนื่องจากเธอเพิกเฉยในการกระทำที่ไร้มนุษยธรรม และการทารุณกรรมสิทธิมนุษยชนต่อชาวโรฮิงยา

•อานนท์ไม่ได้เข้าร่วมเพราะถูกคุมขัง

สำหรับในปีนี้ จะมีพิธีมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้กับนายอานนท์ นำภา  โดยเชิญให้นายอานนท์ร่วมผ่านทางออนไลน์ (โปรแกรม Zoom) ทว่า นายอานนท์ยังรักษาอาการจากเชื้อโควิด-19 ที่ติดจากเรือนจำ ขณะนี้ยังอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และยังอยู่ในการควบคุมตัว เนื่องจากศาลไม่ให้ประกันตัว จึงไม่สามารถร่วมพิธีได้
    ทั้งนี้ ทนายอานนท์ ได้เริ่มต้นทำงานด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ที่ปรึกษาคดีด้านสิทธิมนุษยชนและกับนักกิจกรรมด้านประชาธิปไตย หลังจากรัฐประหารปี 2557 เขาได้ต่อสู้เพื่อประชาชนที่ถูกฟ้องร้อง จากประมวลกฎหมายอาญาม.112 ที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก และทำโทษนักสิทธิมนุษยชน และผู้เคลื่อนไหวทางการเมือง และช่วยเหลือคนที่ถูกดำเนินคดีโดยศาลทหาร นอกจากนี้ทนายอานนท์ ยังถูกจับจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายครั้ง และถูกตั้งข้อหาความผิดทางอาญา ทั้งยังเผชิญกับความเสี่ยงกับการถูกกักขัง หากไม่หยุดการเคลื่อนไหว แต่เขาก็ยังคงต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนต่อไป
    

related