ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ซังข้าวโพด นำมาแปลงเป็นชีวมวลอัดเม็ดทดแทนถ่านหิน หรือ Biomass เพื่อทดแทนการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน
Biomass หรือชีวมวล คือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL ได้ร่วมกับ บริษัท แบลควู้ด เทคโนโลยี (Blackwood Technology) จากเนเธอร์แลนด์ซึ่งเชี่ยวชาญการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดทดแทนการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล
FlashTor® เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดการใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า ด้วยกระบวนการการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นผลิตภัณฑ์มีคาร์บอนต่ำ
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
จะทำอย่างไรกับโทรศัพท์เก่า คอมพิวเตอร์เก่า และขยะอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
แก้วน้ำรักษ์โลก ใช้ซ้ำได้ไม่ต้องทิ้ง ในเกาหลีใต้ ช่วยลดขยะให้โลก
เปิดให้เที่ยวหมู่เกาะสิมิลันสวรรค์ของนักดำน้ำ เที่ยวด้วยรักษ์โลกด้วย
สำหรับในประเทศไทยได้มีโรงงานต้นแบบที่ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดขึ้นที่จังหวัดลำปาง ซึ่งสามารถผลิตชีวมวลอัดเม็ดสีดำ หรือ Black Pellet เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลักๆ ได้จากไร่ข้าวโพด ซึ่งเดิมเกษตรกรจะเผาก่อนเพื่อเปิดหน้าดิน ทำการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งการเผาหน้าดินทำให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5
TTCL มีแพลนจะผลิตเชิงพาณิชย์ มีกำลังผลิต 75,000 ตันต่อปีในปี 2566 แม้การก่อคาร์บอนจากการเผาไหม้ Black Pellet จะไม่ต่างกับถ่านหินทั่วไป แต่ Black Pellet จะต้องผ่านกระบวนผลิต H2O จากการเกษตรทำให้สามารถลด PM 2.5 ได้เพราะไม่มีการเผาและสามารถดูดซับคาร์บอน