svasdssvasds

โรคหัวใจ โรคประจำตัวที่หากไม่รักษาต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ

โรคหัวใจ โรคประจำตัวที่หากไม่รักษาต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ

การเดินทางออกนอกบ้านให้น้อยที่สุดเป็นการลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 แต่ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคหัวใจ หากรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสุขภาพและมีความเสี่ยงมากกว่า

ในสภาวะวิกฤตของโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงกักตัวอยู่บ้าน แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการลงบ้างแล้วก็ตาม และหลายคนมีความกังวลกับการมารักษาโรคประจำตัวที่โรงพยาบาลตามแพทย์สั่ง สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคปอด อาจมีความลำบากในการใช้ชีวิตในสถานการณ์นี้ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสุขภาพและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

นพ.ศิรพัชร์ พูนวุฒิกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำศูนย์หัวใจโรงพยาบาลนครธน กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจมีอัตราความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่าปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรมีการตรวจและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคปอด ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการค่อนข้างชัดเจน จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอาการ รวมถึงระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคอาจจะยังไม่เห็นชัดในตอนนี้ แต่จะส่งผลใน 1 ปี หรือ 4-5 ปีข้างหน้า

โรคหัวใจ เป็นโรคประจำตัวที่ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ป่วยอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน จำเป็นต้องปรับตัวยาเพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม เช่น การปรับยาค่าแข็งตัวของเลือด ในคนไข้ที่เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดขึ้นมาในหัวใจได้ อาจทำให้ไปอุดตันที่สมองหรือส่วนอื่นๆ

โรคหัวใจ

เมื่อก่อนแพทย์จะให้กินยา วาฟาริน (Warfarin) คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือที่เรียกกันว่า ยาละลายลิ่มเลือด ใช้เพื่อช่วยลดการแข็งตัวของเลือด ซึ่งการใช้ยาวาฟารินจำเป็นต้องได้รับการวัดระดับค่าแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ นอกจากนี้วาฟารินยังอาจตีกับยาตัวอื่นหรือแม้แต่อาหารที่รับประทานได้ค่อนข้างบ่อย รวมถึงอาจเกิดการแพ้ยา จำเป็นต้องเปลี่ยนยาเป็นตัวอื่นตามความเหมาะสม เพราะฉะนั้นควรต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด

สถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดตอนนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลในการเดินทางมารักษา โรงพยาบาลจึงมีการใช้ระบบ Telemedicine เป็นบริการพบแพทย์ตามนัด รักษาต่อเนื่องผ่านวิดีโอคอล และสำหรับผู้ป่วยที่ต้องมีการเดินทางมาเจาะเลือด โรงพยาบาลจะมีบริการเจาะเลือด ณ จุดตรวจพิเศษเฉพาะบุคคล และสามารถรอรับผลเลือดได้ที่บ้าน

นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังมีบริการจัดส่งยาถึงบ้านในกรณีที่แพทย์มีการสั่งยา เพื่อลดเวลาการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ลดความเสี่ยงการรับหรือแพร่เชื้อ และหนึ่งในวิธีการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งบริการนี้จะช่วยตอบโจทย์เรื่องการรักษาโรคให้หัวใจให้กับผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 เป็นอย่างดี

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แนะนำให้เดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลดีที่สุด โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการ เช่น เหนื่อย วูบ ใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก นอนราบไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ผู้ป่วยโรคหัวใจ มีโอกาสติดโรคโควิด-19 เหมือนคนทั่วไป แต่อาจส่งผลรุนแรง และอาจมีอัตราความเสี่ยงการเสียชีวิตสูงกว่าคนปกติ ดังนั้นผู้ป่วยต้องดูแลตนเองทั้งในโรคประจำตัวและโรคโควิด-19 โดยปกติแพทย์จะมีคำแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตนเองเมื่ออยู่บ้าน ทั้งในเรื่องการลดอาหารหวาน มัน เค็ม และออกกำลังกายตามความเหมาะสม

ด้านของการป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว แพทย์จะแนะนำวัคซีนป้องกันไว้ก่อนอยู่แล้ว โดยวัคซีนควรฉีดเกือบทุกคนที่มีโรคประจำตัว คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งควรฉีดเป็นประจำทุกปี เพราะสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนไปทุกปี และถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะจำเพาะ เช่น สูงอายุมาก ไม่เคยมีเรื่องของงูสวัดเลย อาจจะแนะนำให้ฉีดป้องกันงูสวัด หรือวัคซีนในเรื่องของ IPD ที่ป้องกันการเป็นปอดบวมแบบขั้นรุนแรง

นอกจากนี้ โรงพยาบาลนครธนยังมีบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์โควิด-19 เช่น Drive Thru Test COVID-19 เป็นบริการตรวจหาเชื้อ Covid-19 ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ด้วย Vaccine @Home บริการฉีดวัคซีนถึงบ้าน โดยแพทย์สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางมาโรงพยาบาล และยังมี Vaccine Community Unit บริการหน่วยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ถึงหมู่บ้านอีกด้วย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง โดยแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางตามมาตรฐานโรงพยาบาล

 

related