หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อทุกระบบในร่างกาย เราจึงควรดูแลหัวใจ ป้องกันความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้ายทำลายหัวใจ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้หัวใจแข็งแรงปกป้องชีวิต
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญยิ่งต่อทุกระบบในร่างกาย ทำหน้าที่คอยรับเลือดดำจากทั่วร่างกายไปฟอกที่ปอด หลังจากนั้นจึงนำกลับมาสูบฉีด เพื่อนำสารอาหารและอากาศไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจจึงเป็นกำลังหลักในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท เราควรดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ สูบบุหรี่ ความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ไม่รับประทานผัก ผลไม้ โรคอ้วนลงพุง และกรรมพันธุ์ เป็นต้น
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า หากหัวใจทำงานผิดปกติ จะพบอาการบ่งชี้ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น แน่นหน้าอกอย่างรุนแรงคล้ายมีบางอย่างมากดทับ รู้สึกร้าวไปทั้งแขนด้านซ้าย นอกจากนี้ยังรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือในบางรายมีการแสดงอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ขณะทำงาน เล่นกีฬาหรืออยู่นิ่งๆ แต่มีอาการแน่นหน้าอกที่รุนแรง เหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกรามและสะบักหลังแขนซ้าย จุกคอหอย บางรายมาด้วยอาการจุกลิ้นปี่คล้ายกรดไหลย้อน หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันทีเพื่อนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกวิธีและรักษาชีวิตได้อย่างปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เราสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ดังนี้
หากสามารถปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงเท่านี้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้หัวใจแข็งแรงปกป้องชีวิตของเราได้อย่างปลอดภัย รวมถึงควรตรวจสุขภาพหัวใจทุกๆ 2 ปี แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงควรเพิ่มความถี่ในการตรวจมากขึ้น บางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจหัวใจขั้นสูง เช่น ทดสอบสมรรถภาพหัวใจบนสายพานวิ่ง แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจด้วย