svasdssvasds

Voyager 1 ยานไปไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งข้อมูลกลับโลกครั้งแรกรอบ 5 เดือน

Voyager 1 ยานไปไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งข้อมูลกลับโลกครั้งแรกรอบ 5 เดือน

ยาน Voyager 1 เพิ่งส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะได้ตามปกติอีกครั้ง หลังต้องเจอกับปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์บนยานมานานกว่า 5 เดือน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2023

SHORT CUT

  • ยาน Voyager 1  คือยานที่ออกเดินทางไปจากโลกตั้งแต่ปี 1977 และถือเป็นยานที่เดินทางไปได้ไกลที่สุด เท่าที่ร่องรอยอารยธรรมของโลกเคยมีมา , แต่ในช่วงปลายปีที่แล้ว ยานมีปัญหาในการส่งสัญญาณกลับมายังโลก
  • อย่างไรก็ตาม ยาน Voyager 1 เพิ่งส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะได้ตามปกติอีกครั้ง หลังต้องเจอกับปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์บนยานมานานกว่า 5 เดือน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2023 
  • ช่วงเวลาเกือบ 5 ทศวรรษที่ ยาน Voyager 1 และ 2 ทท่องไปในอวกาศนั้น เจออะไรมากมายที่เป็นความรู้ใหม่ๆ อาทิ เจอดวงจันทร์ใหม่ของ ดาวพฤหัส  ได้แก่ Adrastea, Metis และ Thebe , เจอวงแหวนของดาวพฤหัส , เจอดวงจันทร์ของดาวเสาร์  3 ดวง ได้แก่ Atlas, Pandora และ Prometheus , รวมถึง Voyager 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่สำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน เป็นต้น

ยาน Voyager 1 เพิ่งส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะได้ตามปกติอีกครั้ง หลังต้องเจอกับปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์บนยานมานานกว่า 5 เดือน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2023

ในช่วงสัปดาห์ต่อจากนี้ ทีมภารกิจยาน Voyager 1 (วอยาเจอร์ 1 ) จะตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อส่วนอื่นของระบบ Flight Data System รวมถึงส่วนที่บันทึกข้อมูลจากอุปกรณ์สำรวจวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถอ่านค่าการตรวจวัดอนุภาคจากบริเวณช่องว่างระหว่างดาวฤกษ์ได้อีกครั้ง

Voyager 1 ออกเดินทางจากโลกเมื่อ 46 ปีที่แล้ว หรือเมื่อปี 1977 และเป็นยานอวกาศที่อยู่ไกลจากโลกที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีความเร็วมากพอจะหลุดพ้นจากระบบสุริยะไปตลอดกาล เช่นกันกับยานฝาแฝดอย่าง Voyager 2 ที่ยังคงทำงานและรับส่งข้อมูลกลับโลกอยู่จวบจนปัจจุบัน 

ในช่วงเวลาปี 1977 นั้น ถือเป็นโอกาสทองในการส่งยาน  Voyager 1 เนื่องจาก ณ เวลานั้น  เป็นโอกาสครั้งเดียวในรอบ 175 ปีที่ดาวเคราะห์ชั้นนอกจะมาเรียงตัวอยู่ในฝั่งเดียวกันของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้การเดินทางไปสำรวจครบทุกดวงนั้นเป็นไปได้ โดยอาศัยเทคนิค Gravity Assist ซึ่งถูก คิดค้นโดยคุณ Giuseppe Bepi Colombo และได้ทดลองกับภารกิจมารีเนอร์ 10 ในปี 1973 มาแล้ว หรือก่อนหน้านั้น 4 ปี 

สำหรับ ยานวอยาเจอร์ 1  นั้นมี ยานฝาแฝด นั่นคือ ยานวอยาเจอร์ 2  โดยทั้งสองลำนั้นเป็นยานที่เหมือนกัน และมีอุปกรณ์ที่สามารถทำการทดลองได้ถึง 10 แบบด้วยกัน ประกอบไปด้วยกล้อง เซนเซอร์อินฟาเรดและอัลตราไวโอเลต เครื่อง Magnetometer อุปกรณ์ตรวจจับพลาสมา รังสีคอสมิส และอนุภาคประจุไฟฟ้า

วอยาเจอร์ 1 (Voyager 1) ออกเดินทางเมื่อไร 

โดย วอยาเจอร์ 1 (Voyager 1) ถือเป็นยานสำรวจอวกาศ (Space Probe) แบบไร้คนขับซึ่งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือองค์การนาซา (NASA) ได้ทำการปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน ปี พ.ศ. 2520 หรือปี 1977 ซึ่งเป็นเวลา 16 วันหลังการปล่อยยานวอยาเจอร์  2 (Voyager 2) ยานแฝดทั้งสองลำอยู่ภายใต้โครงการวอยาเจอร์  (Voyager Program) เป้าหมายเพื่อทำการศึกษาบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะ (Solar System) และห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว (Interstellar Space) ส่วนที่ไกลออกไปจากอาณาเขตเฮลิโอสเฟียร์ (Sun's heliosphere)  โดยทั้ง 2 ลำนั้น เคลื่อนที่ด้วยความเร็วราวๆ 15 กิโลเมตรต่อวินาที 

ยาน Voyager 1 เพิ่งส่งข้อมูลกลับโลกจากสุดขอบระบบสุริยะได้ตามปกติอีกครั้ง หลังต้องเจอกับปัญหากับระบบคอมพิวเตอร์บนยานมานานกว่า 5 เดือน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2023

ในช่วงเวลาเกือบ 5 ทศวรรษที่ ยานทั้งคู่ท่องไปในอวกาศนั้น เจออะไรมากมายที่เป็นความรู้ใหม่ๆ อาทิ เจอดวงจันทร์ใหม่ของ ดาวพฤหัส  ได้แก่ Adrastea, Metis และ Thebe , เจอวงแหวนของดาวพฤหัส , เจอดวงจันทร์ของดาวเสาร์  3 ดวง ได้แก่ Atlas, Pandora และ Prometheus , รวมถึง Voyager 2 เป็นยานอวกาศลำแรกที่สำรวจดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน เป็นต้น

ที่มา : bbc voyager.jpl.nasa.gov

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

related