svasdssvasds

ข่าววิดีโอที่เกี่ยวข้องกับ " ก๊าซธรรมชาติ "

ข่าวทั้งหมด

โมเดลองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ต้นแบบความสำเร็จ เจรจาพื้นที่ OCA ไทย – กัมพูชา

โมเดลองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ต้นแบบความสำเร็จ เจรจาพื้นที่ OCA ไทย – กัมพูชา

“OCA” ย่อมาจาก “Overlapping Claims Area” หรือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล มันคือพื้นที่ที่ 2 ประเทศอ้างสิทธิ์ว่าเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล อย่าง ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือแม้แต่ทรัพยากรทางประมง ก็มีส่วนเช่นกัน ซึ่ง OCA ที่เราพูดถึงกันในที่นี้ก็คือ พื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา ที่บริเวณอ่าวไทย กินพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร และมีการแบ่งพื้นที่บริเวณนี้ออกเป็น 2 ส่วน ด้วยเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ส่วนแรก คือส่วนด้านบน มีพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศต้องเจรจาเรื่องเขตแดน ส่วนที่ 2  ส่วนล่างมีพื้นที่ 16,000 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่กำหนดให้ทั้ง 2 ประเทศ มีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือ Joint Development Area หรือ JDA นอกเหนือจากเรื่องของอธิปไตยของแต่ละประเทศแล้ว พื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ยังเชื่อว่ามีทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า ที่สามารถทำให้เศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้ง 2 ประเทศดีขึ้นได้ นั้น คือ ก๊าซธรรมชาติ ที่ไทยใช้ผลิตไฟฟ้า มากถึง 60 %  จากข้อมูลปี 2566 ไทยต้องการก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 4,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และเป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศ 50 % และอีก 20 % มาจากเมียนมา ส่วน 30 % ที่เหลือ เรานำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่ง 30 % ที่ว่านี้นี่แหละ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าก๊าซที่ผลิตจากภายในประเทศและยังมีความผันผวนตามกลไกตลาดโลก ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าบ้านเราสูงขึ้น รัฐบาลไทยมีความพยายามในการเจรจาพื้นที่ OCA ตรงนี้มานานหลายสิบปีในหลายรัฐบาล รวมถึงรัฐบาลของนายกเศรษฐาเองก็เช่นกัน

08 Aug 2024