svasdssvasds

ภาษีคริปโต ใครต้องจ่าย เก็บยังไง เก็บตอนไหน เดี๋ยวสรุปให้ฟัง

ภาษีคริปโต คืออะไร? จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมาตั้งแต่ปี 2561 พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ปี 2561 กำหนดว่า คนที่ได้กำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง คริปโต โทเค็นดิจิทัล ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15 % ใครต้องจ่ายภาษีคริปโต 15% บ้าง? 1.นักเทรดคริปโต ที่ได้กำไรได้ต่อธุรกรรม 2. การ Staking แล้วได้รางวัล การเอาเหรียญไปฝากไว้กับตัวกลางเป็นเงินค้ำ เพื่อไปร่วมตรวจสอบธุรกรรมบน Blockchain แล้วจะมี รีวอร์ด รางวัลตอบแทน ตามแต่ละแพลตฟอร์มจะกำหนดให้ (อารมณ์เหมือนเอาเงินไปฝากประจำ ได้ดอกเบี้ย) 3. การขุดเหมือง Mining แก้สมการคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้บิตคอยน์มาเป็นรางวัล  (แต่จะตีเป็นรายได้เมื่อมีการขายให้กับผู้ซื้อ) 2 แบบแรก ถูกตีเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 40 (4) หแบบที่ 3 ถูกตีเป็น 40(8) ปัญหาที่นักเทรดพบ ของภาษีคริปโต? 1. กฏหมายภาษีคริปโต ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ยากต่อการปฏิบัติจริง หัก ณ ที่จ่าย 15% หักยังไง ตอนไหน เท่าไหร่  เพราะ - แพลตฟอร์ม ยังไม่มีการเริ่มจัดเก็บ ภาษี ณ ที่จ่าย 2. ความยุ่งยากในการเก็บหลักฐาน เงินลงทุน กำไร ขาดทุน/ธุรกรรม บางคน ต่อนาที มากกว่า 1 ธุรกรรม และมากกว่า 1 Exchange (Bitkub Zipmex Binance) จำยังไงไหว? 3.ภาระที่เพิ่มขึ้นของนักเทรด และ Exchange -นักเทรดต้องบันทึกข้อมูล เพื่อแจงสรรพากร ทั้งหมดทุกธุรกรรม -Exchange ต้องสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลการเทรดของลูกค้าทั้งหมด -อนาคต ปริมาณการเทรดคริปโตในไทยอาจสะดุด ลดลง เพราะนักเทรดย้ายกระดาน ไปเล่นของต่างประเทศ เพื่อหลบเลี่ยงภาษีที่ค่อนข้างสูง ตลาดหุ้นไทยเรียกเก็บแค่ 0.1%เท่านั้น -Exchange มีรายจ่ายเพิ่ม แต่รายได้ลดลง - นักเทรดเสี่ยงถูกโจรกรรมได้ง่าย จากการพยายามแลกเปลี่ยน เทรดแบบ Peer to Peer นอกระบบเพื่อเลี่ยงภาษี

ภาษีคริปโต คืออะไร?
จริงๆไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมาตั้งแต่ปี 2561 พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ปี 2561 กำหนดว่า คนที่ได้กำไรจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง คริปโต โทเค็นดิจิทัล ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15 %

ใครต้องจ่ายภาษีคริปโต 15% บ้าง?
1.นักเทรดคริปโต ที่ได้กำไรได้ต่อธุรกรรม

2. การ Staking แล้วได้รางวัล
การเอาเหรียญไปฝากไว้กับตัวกลางเป็นเงินค้ำ เพื่อไปร่วมตรวจสอบธุรกรรมบน Blockchain แล้วจะมี รีวอร์ด รางวัลตอบแทน ตามแต่ละแพลตฟอร์มจะกำหนดให้ (อารมณ์เหมือนเอาเงินไปฝากประจำ ได้ดอกเบี้ย)

3. การขุดเหมือง Mining แก้สมการคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้บิตคอยน์มาเป็นรางวัล  (แต่จะตีเป็นรายได้เมื่อมีการขายให้กับผู้ซื้อ)

2 แบบแรก ถูกตีเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 40 (4) หแบบที่ 3 ถูกตีเป็น 40(8)

ปัญหาที่นักเทรดพบ ของภาษีคริปโต?
1. กฏหมายภาษีคริปโต ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ยากต่อการปฏิบัติจริง
หัก ณ ที่จ่าย 15% หักยังไง ตอนไหน เท่าไหร่  เพราะ
- แพลตฟอร์ม ยังไม่มีการเริ่มจัดเก็บ ภาษี ณ ที่จ่าย

2. ความยุ่งยากในการเก็บหลักฐาน
เงินลงทุน กำไร ขาดทุน/ธุรกรรม
บางคน ต่อนาที มากกว่า 1 ธุรกรรม
และมากกว่า 1 Exchange (Bitkub Zipmex Binance) จำยังไงไหว?

3.ภาระที่เพิ่มขึ้นของนักเทรด และ Exchange
-นักเทรดต้องบันทึกข้อมูล เพื่อแจงสรรพากร ทั้งหมดทุกธุรกรรม
-Exchange ต้องสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลการเทรดของลูกค้าทั้งหมด
-อนาคต ปริมาณการเทรดคริปโตในไทยอาจสะดุด ลดลง เพราะนักเทรดย้ายกระดาน
ไปเล่นของต่างประเทศ เพื่อหลบเลี่ยงภาษีที่ค่อนข้างสูง ตลาดหุ้นไทยเรียกเก็บแค่ 0.1%เท่านั้น
-Exchange มีรายจ่ายเพิ่ม แต่รายได้ลดลง
- นักเทรดเสี่ยงถูกโจรกรรมได้ง่าย จากการพยายามแลกเปลี่ยน เทรดแบบ Peer to Peer นอกระบบเพื่อเลี่ยงภาษี