svasdssvasds

Location Intelligence แก้ปัญหารถติดในไทย ทำได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

Location Intelligence แก้ปัญหารถติดในไทย ทำได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

เมืองไทยรถติดหนัก มีอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตบนท้องถนนบ่อยครั้ง รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงให้ความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นเรื่องเร่งด่วนและบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่จะเร็วกว่านั้นมั้ย ถ้านำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาให้ตรงจุด

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ในอันดับ 9 ของโลก โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบการสูญเสียที่เกี่ยวกับการขับรถด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น 4% ขณะที่อุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับในช่วงวันหยุดต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น

เข้าใจปัญหาสภาพการจราจรก่อน

กว่า 10 ปีมาแล้ว ที่แบบจำลองการจราจรเผยให้เห็นถึง ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพบนท้องถนนที่ต้องปรับปรุง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์และกล้องตรวจจับบนท้องถนนที่มอนิเตอร์ความเร็วและจำนวนยานพาหนะ แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายแพงและยังมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล เช่น 

  • ตัวกล้องชำรุดเสียหายง่ายและเสี่ยงที่จะถูกก่อกวน
  • กล้องสามารถบันทึกข้อมูลได้ในระยะเวลาไม่นานพอ
  • ความคับคั่งของการจราจร ยังไม่สามารถบันทึกไว้ในกล้องได้

ปัจจุบัน การใช้ข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์และโซลูชันวิเคราะห์ขั้นสูงช่วยทรานฟอร์มเครื่องมือการทำงานของนักวางแผนการขนส่ง/จัดส่ง หน่วยงานภาครัฐ และผู้กำหนดนโยบายไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่หลายล้านเครื่องภายในยานพาหนะ รวมถึงเซ็นเซอร์ ทำให้มีข้อมูล Big Data มากพอที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ปัญหาการจราจรได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น

Location Intelligence แก้ปัญหารถติดในไทย ทำได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาการจราจรในสิงคโปร์

ประเทศสิงค์โปร์จัดทำเครือข่ายทางด่วนและอุโมงค์ถนนที่มีระยะทางยาว 160 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งแก็ดเจ็ตเซ็นเซอร์และกล้องเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจร เวลาการเดินทาง และความต้องการใช้ถนนเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้สัญจรใช้วางแผนเดินทาง พร้อมทั้งกำหนดไว้ในแผนแม่บทของชาติ Smart Mobility 2030 master plan 

Location Intelligence แก้ปัญหารถติดในไทย ทำได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

HERE Technologies แพลตฟอร์มระดับโลก ช่วยแก้รถติดได้

เพื่อแก้ปัญหาสารพัดที่เกิดบนท้องถนน การนำข้อมูลที่ระบุตำแหน่งการจราจรกว่าล้านล้านจุดมาจัดเก็บและนำไปใช้งานในแต่ละวันบน Location Technology Platform จะช่วยให้บริหารจัดการการจราจรได้ดีขึ้น เช่น HERE Technologies โซลูชันเพื่อการระบุตำแหน่ง ที่ช่วยให้ภาคธุรกิจ ภาครัฐ หรือแม้แต่ผู้ขับขี่บนท้องถนนเห็นสถานการณ์การจราจรภายในเมือง และนำไปใช้วางแผนการเดินทางตามวัตถุประสงค์การเดินทางต่างๆ ได้

โดยระบบประมวลผลการจราจรของ HERE จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทที่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนนด้วยซอฟต์แวร์การติดตามและจำลองผลลัพธ์ ช่วยให้บริษัทประกันภัย ผู้จัดการด้านการขนส่ง และผู้บริโภค ใช้สิทธิประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยได้แม่นยำมากขึ้น และใช้อ้างอิงจากการบันทึกข้อมูลและพฤติกรรมการขับขี่ได้ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2593 70% ของจำนวนประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง  ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความแออัด แต่นั่นเป็นเพียงส่วนยอดปัญหาบนภูเขาน้ำแข็ง ในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ ชาวเมืองในกรุงเทพฯ และกรุงจาการ์ตาต้องอพยพออกจากเมืองเพื่อเลี่ยงความแออัดและปัญหามลพิษ

นอกจากนี้ ระบบ HERE Traffic API จะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดบนท้องถนนในแต่ละวัน ด้วยการให้ข้อมูลเชิงลึก ได้แก่ อุบัติเหตุบนท้องถนนแบบเรียลไทม์, ระดับความคล่องตัวของการจราจรหลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุสำคัญๆ

Location กับการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภคในระบบขนส่ง

Location Intelligence แก้ปัญหารถติดในไทย ทำได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่ง

เมืองที่มีระบบบริหารจัดการความแออัดและเมืองใดก็ตามที่กำลังวางแผนที่จะเปิดใช้งานระบบจัดการดังกล่าว จะต้องใช้ข้อมูล Location Intelligence เพื่อให้แน่ใจว่าแผนงานจะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ

แต่จาก ผลการศึกษา ผู้ใช้งาน HERE Technologies ทั่วโลกระบุว่า ผู้บริโภค 80% ไม่ไว้วางใจว่าบริการต่างๆ ที่รวบรวมข้อมูลตำแหน่งของตนจะจัดการกับข้อมูลดังกล่าวได้ตามที่ควรจะเป็น ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามในจำนวนใกล้เคียงกันระบุว่า พวกเขารู้สึกเครียด ประหม่า ที่ต้องแชร์ Location ให้ผู้อื่น

แม้ว่าการใช้ เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง (Location Technology) สามารถช่วยเมืองต่างๆ ในการระบุตำแหน่งที่แน่นอน จัดการความแออัดบนท้องถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเก็บ Location จากทุกสถานที่ ดังนั้น บริษัทที่จะเก็บ Location จึงจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อใดควรจะขอความยินยอมจากผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลของพวกเขาไปใช้ และต้องมีความโปร่งใสในการรักษาความเป็นส่วนบุคคลหรือวิธีการที่ไม่เปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั้งสองประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่บริษัทต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ 

องค์กรต่างๆ จึงต้องจัดการ ข้อมูล Location อย่างระมัดระวัง และต้องสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินกิจการ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA)

สรุปแล้ว เมืองที่มุ่งบริหารจัดการความแออัดจะต้องใช้ เทคโนโลยีการระบุตำแหน่ง (Location Technology) เพื่อจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลเป็น Location Intelligence ซึ่งนอกจากแนะนำเส้นทางที่เหมาะสมได้ ยังสามารถใช้ Location-Based Data บริหารจัดการค่าใช้จ่าย ตรวจสอบการจราจร ทำความเข้าใจความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของเมือง รวมถึงระบบการบำรุงรักษา และวิธีรวบรวมข้อมูลทั้งหมดได้

related