svasdssvasds

6 เทคนิคลงทุนออนไลน์อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก

6 เทคนิคลงทุนออนไลน์อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก

ปัจจุบันการลงทุนออนไลน์เป็นอีกทางเลือกในการดำเนินกิจกรรมทางการเงิน แต่ก็เป็นช่องทางให้มิจฉาชีพล่อลวงผู้ที่สนใจ หากใครที่สนใจการลงทุนออนไลน์แต่กลัวมิจฉาชีพ เรามีคำแนะนำจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มาฝาก

6 เทคนิคลงทุนออนไลน์อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก

1. อย่าใจร้อนรีบลงทุนตามคำชวนใน social media ไม่ว่าจะมาทางช่องทางใดๆ

 

ไม่ควรตอบข้อความใดๆ และหากดูน่าสงสัยสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่ "ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.ล.ต." โทร. 1207 Facebook :  "สำนักงาน กลต." และ SEC Live Chat ที่ www.sec.or.th

2. ไม่ลงทุนจากคำชวนของคนใน social mediaโดยไม่ตรวจสอบชื่อหรือหน่วยงาน ซึ่งอาจมีการแอบอ้าง

 

ควรตรวจสอบให้ดีก่อน เช่น 

- ชื่อ-ภาพผู้มีชื่อเสียง

- ชื่อ-โลโก้ของ ก.ล.ต. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน

- ชื่อ-โลโก้ของผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.

แม้จะรู้จักบุคคลที่ชักชวน หรืออ้างว่ามาจากบริษัทที่น่าเชื่อถือก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนลงทุนทุกครั้ง

3. ไม่ฝาก หรือโอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวโดยเฉพาะคนที่มาชวนลงทุนหรืออ้างเป็นตัวแทนบริษัท

 

ไม่ควรโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวโดยเฉพาะคนที่มาซักชวนลงทุนหรืออ้างว่าเป็นตัวแทนบริษัท ต้องโอนเงินเข้าบัญชีชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น และต้องมีรายงานยืนยันผลการลงทุน หากสงสัยให้ติดต่อบริษัทโดยตรง

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

4. รักษาความเป็นส่วนตัวและตั้งค่าความปลอดภัยบน social media และไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคาร

 

ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลทางการเงินที่สำคัญอื่น ๆ บน social media

5. สังเกตสัญญาณเตือนภัยกลโกงจากข้อเสนอการลงทุน เช่น

- ลักษณะผลตอบแทนที่ดูดีเกินไป

- รับประกันผลตอบแทน

- เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน

- ดึงดูดใจด้วยสินทรัพย์ใหม่ๆ

- ต้องคิดไว้ว่า "ผลตอบแทนที่สูงมักจะมาพร้อมความเสี่ยงสูง" เสมอ

6. เช็กให้ชัวร์ก่อนลงทุน

ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่มีตัวตน ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจและผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ www.sec.or.th หรือแอปพลิเคชัน SEC Check First

ลงทุนออนไลน์

Cr. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์