นิติทันตวิทยา (Forensic Dentistry) เป็นงานทันตกรรมที่มีส่วนช่วยในการสืบคดีความทางอาชญากรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องทางกฎหมาย โดยใช้หลักฐานทางทันตกรรมเข้ามาช่วยอธิบายและระบุสาเหตุประกอบสำนวนคดี
การระบุตัวบุคคลมีความสำคัญในกระบวนการทางกฎหมาย ตามกฎหมายชันสูตรพลิกศพ การระบุบุคคลกรณีอุบัติภัยหมู่ หรือการพิสูจน์เอกลักษณ์จากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจาก ด้าน นิติวิทยาศาสตร์ เช่น แพทย์นิติเวช ทันตแพทย์ และ นักนิติมานุษยวิทยา เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเริ่มจากตรวจลักษณะภายนอกก่อนในกรณีที่ศพยังอยู่ในสภาพดี เช่น เพศ ช่วงอายุ รูปร่าง ความสูงน้ำหนัก ลักษณะผม สีผม สีตา ลักษณะจมูก ปาก ลักษณะเสื้อผ้า เครื่องประดับ รอยสักหรือรอยแผลเป็น
แต่เมื่อศพเปลี่ยงแปลงสภาพไป เริ่มเน่าเปื่อยหรือถูกเผาจนไม่สามารถระบุอัตลักษณ์ตัวบุคคลได้ ก็ต้องใช้วิธีตรวจจาก DNA แทน โดยอวัยวะที่สำคัญ ก็คือ ฟัน ของผู้เสียชีวิตนั้นเอง ในไทย นิติทันตวิทยา ซึ่งเป็นงานด้าน นิติวิทยาศาสตร์ เริ่มเป็นที่สนใจเมื่อเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ งานทัตกรรมด้านนี้จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่ช่วยในการเก็บหลักฐานเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น หลังจากนั้นจึงมีการปฏิรูปการจัดการระบบการจัดเก็บข้อมูลทันตกรรม โดยมีระบุไว้ในกฎหมาย และเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชานี้กันในมหาวิทยาลัยเป็นต้นมา
คลิป สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“หมอสมิทธิ์” ถามอาสากู้ภัยพูดวินิจฉัยศพ “แตงโม” เหมือนแพทย์นิติเวชได้หรือ
หมอพรทิพย์ ย้ำ ไม่อยากให้ผ่าศพแตงโมรอบ2 มาสังเกตการณ์ ไม่ชี้นำ-ไม่ชี้แนะ
ด่วน! มติสภานิติวิทยาศาสตร์ ลง 15 เสียง อนุญาตผ่าชันสูตร "แตงโม นิดา" พรุ่งนี้
ในงานวิจัย ปี ค.ศ. 2007 Prinz และคณะ ได้ศึกษาปริมาณดีเอ็นเอที่สกัดได้จากฟันประเภทต่าง ๆ จากผลการศึกษา พบว่า ฟันที่มีโพรงเนื้อเยื่อใน (pulp chamber) ขนาดใหญ่จะเป็นแหล่งดีเอ็นเอได้ดีเนื่องจากพบปริมาณของเซลล์เนื้อเยื่อโพรงประสาทจำนวนมาก โดยเฉพาะในฟันกราม ซึ่งเหมาะสมที่สุดในการตรวจหาดีเอ็นเอ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ในส่วนงานด้าน นิติวิทยาศาสตร์
หน้าที่ของ ทันตแพทย์ ด้าน นิติทันตวิทยา มีดังนี้
สืบประวัติทางทันตกรรมเพื่อระบุตัวตน
ในการชันสูตรศพศพผู้เสียชีวิตที่ร่างกายเริ่มเน่าเปื่อย จนไม่สามารถระบุตัวตันจากภายนอกได้ ฟันที่มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเนื้อเยื่อและทนความร้อนได้ถึง 1,600 องศาเซลเซียส จึงมีส่วนช่วยในการยืนยันตัวตนผ่านการตรวจหาดีเอ็นเอ ทั้งจากเหตุการณ์ฆาตกรรมหรือเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเหตุการณ์ที่ทันตแพทย์ได้มีส่วนร่วมกับ ทีมตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล นิติวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ เช่น
สืบจากบาดแผล หรือ รอยกัด
ส่วนใหญ่ใช้ในคดีทารุณกรรมเด็กและผู้หญิง โดยการนำประวัติทางทันตกรรมไปเทียบกับดีเอ็นเอ และสาวไปจนถึงตัวคนร้าย
สืบอายุและเพศจากฟัน
สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ช่วยระบุอายุและเพศผู้เสียชีวิตคร่าวๆ ได้จากการตรวจสอบสภาพฟัน เนื้อเยื่อ ผิวฟัน รากฟัน
จะเห็นได้ว่างานนิติทันตวิทยามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลในคดีอาชญากรรมต่างๆ จากข้อมูลของ ทันตแพทยสภาปี 2562 กลับพบว่านิติทันตแพทย์ทั่วประเทศมีอยู่เพียง 24 คนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการที่มีผู้ประสบภัยจำนวนมากก็อาจทำให้มีบุคคลากรไม่เพียงพอ รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ
ซึ่งมีส่วนทำให้กระบวนการยุติธรรมเกิดความล่าช้า เนื่องจากขาดแรงสนับสนุนจากทางภาครัฐ