svasdssvasds

ภาพข่าวสงคราม มีจริยธรรมสื่อเป็นที่ตั้ง คิดถึงผลดีและร้ายเมื่อเผยแพร่

ภาพข่าวสงคราม มีจริยธรรมสื่อเป็นที่ตั้ง คิดถึงผลดีและร้ายเมื่อเผยแพร่

ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพันคำ "A picture is worth a thousand words." ไม่ใช่คำพูดเกินเลยแต่อย่างใด โดยเฉพาะ ภาพข่าวสงคราม

Napalm girl หรือ เด็กน้อยนาปาล์ม เป็น ภาพข่าวสงคราม ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนและการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากภาพหนึ่งในประวัติศาสตร์ บุคคลในภาพนั้นเป็นชาวเวียดนามที่มีชื่อว่า คิม ฟุก (Kim Phuc) ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัย 9 ขวบ กำลัง ร้องไห้ ตื่นตกใจ วิ่งหนีระเบิดพร้อมกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งจากแรงระเบิดเผาไหม้เสื้อผ้าของเธอจนร่างเปลือยเปล่า โดยภาพนี้ได้ตีพิมพ์ไปทั่วโลกในปี ในปี พ.ศ.2515 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของสงครามเวียดนามที่สหรัฐบุกโจมตีเวียดนาม ถูกบันทึกภาพไว้โดย นิก อุ๊ต (Nick Ut) นักข่าวสงครามชาวเวียดนามที่ทำงานให้สำนักข่าว AP ซึ่งได้รับ รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 2516

Napalm girl หรือ เด็กน้อยนาปาล์มในปัจจุบัน 

โดย คิม ฟุก กล่าวว่า หลังสงครามในช่วงแรก เธออยากให้เกลียดและต้องการให้ลบภาพนี้ออกไป เพราะทำให้เธอกลับไปนึกถึงเหตุการณ์อันเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับผู้บริสุทธิ์เช่นเธอ แต่ปัจจุบัน เธอใช้ ภาพข่าวสงคราม นี้เป็นแรงบันดาลใจและผลักดันให้เกิดการรับรู้ถึงพิษภัยของสงคราม โดยมีครอบครัวที่รักและเข้าใจเคียงข้างอย่างมีความสุขที่ประเทศแคนาดา

"My enemies list became my prayer list"
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

แล้วบทหน้าที่ของสื่อมวลชนในยามสงครามคืออะไร? อะไรคือเส้นแบ่งเพื่อคงจริยธรรมในการนำเสนอภาพผู้ประสบเหตุและเคารพแก่ผู้เสียชีวิตในช่วงสงคราม ได้มี แนวทางในการนำเสนอภาพข่าวจาก นายธีรนัย จารุวัสตร์  อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงไว้มีดังนี้ 

  • ควรระมัดระวังในการใช้ภาพและคลิปจากโซเซียลมีเดีย ต้องทำการตรวจสอบที่มาและความน่าเชื่อถือก่อนเผยแพร่ รวมถึงเช็ควัน เวลา สถานที่่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดการแชร์ ภาพข่าวสงคราม เก่า
  • นำเสนอข่าวสารทางการจากฝ่ายต่างๆ อย่างรอบคอบ รอบด้านทั้งฝ่ายกระทำและผู้ถูกกระทำ โดยระบุแหล่งอ้างอิงเพื่อให้ผู้รับข่าวพิจารณา 
  • เน้นเสนอข่าวเกี่ยวกับประชาชนที่ประสบภัยสงคราม เน้นการนำเสนอผลกระทบจากสงครามที่เกิดขึ้นกับประชาชน และการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ แทนการเสนอข่าวการสู้รบและอาวุธ
  • สามารถเสนอภาพความสูญเสียในสงครามได้ เพื่อนำเสนอโลกที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสงคราม ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ใช่ภาพอุจาด หวาดเสียว หรือเพื่อการกระตุ้นเรตติ้งหรือยอดคลิก
  • ควรเลือกแปลข่าวสารจากสำนักข่าวต่างประเทศที่น่าเชื่อถือได้และเป็นกลางเท่านั้น โดยตั้งอยู่ในจริยธรรมและข้อมูลที่เที่ยงตรง

ภาพอาคารที่พักอาศัยที่โดนทำลายเสียหาย จาก freepik

ทั้งนี้บนเฟซบุกสามารถเลือก"ซ่อนการมองเห็น" และแจ้งคำเตือนก่อนรับชมได้ เผื่อป้องกันให้คนที่อ่อนไหวต่อภาพความรุนแรงได้มาเจอโดยไม่ทันตั้งตัว 

ซึ่งผลกระทบจาก ภาพข่าวสงคราม มีทั้งในทางบวกและลบ ดังนี้ 

ผลทางบวก
การนำเสนอภาพเรียลไทม์ 
เริ่มขึ้นเมื่อ กองทัพสหรัฐฯ เปิดการโจมตีทางอากาศที่แบกแดดในปี 2546 โดย ทางช่อง CNN ได้ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมรายงานข่าวเรื่องราวสงครามให้ผู้ชมได้รับรู้และเห็นเหตุการณ์จริงก่อนทหารในสนามรบจริงด้วยซ้ำ 

การเพิ่มการรับรู้ 
ในปี 2483 ได้มีการรายงานข่าวสงครามเวียดนามผ่านโทรทัศน์ให้ผู้ชมหลายสิบล้านคนได้ติดตาม โดยที่ผลสำรวจของรายงานว่า Nielsen Media Research มีชาวอเมริกัน 70 เปอร์เซ็นต์เลือกที่จะเปิดรับข่าวสารผ่านโทรทัศน์ หลังจากที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองคนยังรับรู้และอ่านข่าวการโจมตีทางอากาศจากหน้าหนังสือพิมพ์

กำหนดกรอบการรับรู้
ช่างภาพข่าวหรือการนำเสนอข่าวมีพลังในการกำหนดทิศทางการรับรู้ของผู้ชม ผ่านมุมกล้อง การจัดแสง และข้อความ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกร่วมในเหตุการณ์ต่างๆ รอบโลกได้มากแม้ตัวจะอยู่ที่ใดก็ตามสามารถรับรู้และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความคิดเห็นหรือส่งแรงสนับสนุนและกำลังใจ 

ผลทางลบ
เกิดการอิ่มตัว
โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตทำให้คนเสพย์ภาพอย่างเดียวจนไม่ได้เข้าไปอ่านข้อมูลรายละเอียด ซึ่งอาจเป็นเพียงการบันทึกเสี้ยวเดียวของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น แล้วก็เข้าใจภาพรวมผิดไปจาการเลือกใช้ภาพ

เกิดความรู้สึกลดลง
เมื่อคนอิ่มตัวกับภาพสงครามจะยิ่งทำให้ผู้คนเอาตัวออกห่างจากความเป็นจริง เช่น ในสงครามอิรัก มีการถ่ายทอดภาพการระเบิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุกคืน ทั้งภาพภาคพื้นและจากดาดฟ้า ซึ่งนักวิจารณ์บางคนท้วงติงว่าทำให้คนมองเทียบเคียงเป็นส่วนหนึ่งของ วิดีโอเกมส์ และไม่ได้สนใจในแง่ของความขัดแย้งระหว่างมนุษยชาติ

การนำเสนอภาพวิดีโอ
ในช่วงสงครามอิรัก ได้มีการศึกษาจากข่าวที่ได้รายงานผ่านโทรทัศน์ช่อง ABC, CBS, NBC, CNN และ Fox พบว่าในช่วงแรกของสงครามมีแต่การนำเสนอการต่อสู้และการปฏิบัติการทางทหาร แต่ไม่มีมุมที่นำเสนอถึงทหารบาดเจ็บ ล้มตาย ให้เห็นถึงความเสียหายอีกด้านนึงที่เกิดขึ้นกับทหารในสนามรบ

ที่มา 
1  2

related