โรคเบาหวาน นับเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ในระยะยาวได้ การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ และการติดตามอาการของภาวะแทรกซ้อน จึงเป็นสิ่งที่คุณหมอแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติควบคู่กับการใช้ยาควบคุมเบาหวาน
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ต้องรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และรับประทานให้ได้วันละ 3 มื้อ รับประทานตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกมื้อทุกวัน ไม่กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา ในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผักผลไม้ หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหาน ผลไม้เชื่อมแช่อิ่ม ผลไม้ที่มีรสหวาน ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมัน สัตว์ เนย มันหมู เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ครีม กะทิ อาหารทอด
หรือถ้าน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักตัวลง 5% ของน้ำหนักเดิม
รวมทั้งยาดองเหล้า หรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อยาที่ใช้ควบคุมเบาหวานและโรคต่างๆ
เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
ทำความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้าง และฟอกสบู่ตามซอกนิ้วเท้า ตัดเล็บด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเล็บขบ หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อย หรือประคบด้วยของร้อน ถ้ามีบาดแผล ตุ่มหนอง หรือการอักเสบเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ – โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า
ปีละ 1 ครั้ง และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ไม่ให้สูงเกิน 140/90 มม.ปรอท และหากเป็นความดันโลหิตสูงแล้ว ต้องรับประทานยาลดความดันตามแพทย์สั่งห้ามหยุดใช้ยาเอง
ให้ระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ต่ำกว่า 100 มก./ดล. และควรใช้ยาลดไขมันทุกราย ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
เพื่อตรวจติดตามน้ำตาลในเลือด ใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับหรือลดขนาดยาเองตามความรู้สึก ห้ามซื้อยาชุดมารับประทานเอง การใช้สมุนไพรควร พิจารณาร่วมกันกับแพทย์ผู้รักษา
ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลศิครินทร์