svasdssvasds

มีคนเดือดร้อนแค่ไหนในรัศมี 10 กม. จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

มีคนเดือดร้อนแค่ไหนในรัศมี 10 กม. จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้แล้วเกิดระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้สารเคมีที่ใช้ผลิตพลาสติกรั่วไหลและฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง บริเวณโดยรอบโรงงานจึงกลายเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ทั้งในรัศมี 5 กม. 7.5 กม. และ 10 กม. และที่สำคัญ มีชุมชน มีประชากรอาศัยอยู่ไม่น้อย


ระหว่างที่ทุกคนยังติดตามสถานการณ์โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ ตั้งแต่ถังเคมีระเบิดจนกระทั่งนักดับเพลิงเข้าควบคุมเพลิงไว้ได้ประมาณเที่ยงคืนครึ่งเช้าวันที่ 6 ก.ค. แม้ขณะนี้จะยังมีไฟปะทุอยู่บ้าง แต่หลายฝ่ายก็ยังเฝ้าระวังและสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด 

อ่านเลย : ไทม์ไลน์ ปฏิบัติการควบคุมเพลิงไหม้ โรงงานย่านกิ่งแก้ว

มีคนเดือดร้อนแค่ไหนในรัศมี 10 กม. จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

จิสด้า gistda ชวนส่องความรุนแรงของเหตุระเบิดผ่าน 'ภาพถ่ายดาวเทียม'

โรงงานที่เกิดเหตุระเบิดเป็นโรงงานผลิตพลาสติกของ บจ.หมิงตี้เคมีคอล ตั้งอยู่ที่ซอยกิ่งแก้ว 21 อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และก่อตั้งมานาน 32 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532

ถ้าดูตามข้อมูลผังเมืองแล้ว บจ.หมิงตี้เคมีคอล ดำเนินกิจการในโซนสีม่วง กล่าวคือ เป็นพื้นที่ที่ให้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ มีการใช้สารเคมี จึงไม่ใช่พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย

แต่เมื่อเกิดเหตุระเบิด การติดตามสถานการณ์ผ่านสื่อรวมถึงเครื่องมือต่างๆ พบว่ามีชุมชนตั้งอยู่โดยรอบโรงงาน เช่น ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.35 น. ที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จิสด้า) นำมาเผยแพร่ ทำให้เห็นสภาพพื้นที่โดยรอบของจุดเกิดเหตุว่า มีชุมชนกว่า 994 แห่ง และโรงงานอีกกว่า 1,120 แห่ง 

นอกจากนี้ ภาพจากดาวเทียมยังแสดงให้เห็นถึงกลุ่มควันสีดำจากโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ที่มีทิศทางพัดไปทางทิศตะวันออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนของ อบต.ราชาเทวะ พื้นที่บางส่วนรอบสนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงต่างๆ

จิสด้า gistda ไฟไหม้

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ มีคนเดือดร้อนแค่ไหนในรัศมี 10 กม.

ประชากรในพื้นที่บริเวณกิ่งแก้ว

  • ประชากรโดยรวม 682,119 คน
  • จำนวนครัวเรือน 400,681 คน
  • ประชากรชาย 319,478 คน
  • ประชากรหญิง 362,641 คน

จำนวนสถานที่ที่ได้รับผลกระทบ

  • 1,000 สถานศึกษา
  • 500 ที่อยู่อาศัย
  • 26 โรงงาน
  • 26 ห้างสรรพสินค้า
  • 235 ปั๊มน้ำมัน
  • 236 อาคารสำนักงาน

ประชากร ย่านกิ่งแก้ว หน่วยงานบรรเทาเหตุ

  • 6 สถานีดับเพลิง
  • 248 โรงพยาบาล
  • 1,000 สถานีตำรวจ

โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด

  • รพ.จุฬารัตน์ 9 สนามบิน - 0.7 กม.
  • รพ.จุฬารัตน์ 1 สุวรรณภูมิ - 2.8 กม.
  • รพ.สิรินธร - 3.0 กม.
  • รพ.จุฬารัตน์ 7 - 3.3 กม.

ที่มา : ArcGIS prepared by esri Thailand (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ก.ค. 2564)

กิ่งแก้ว สมุทรปราการ คนในพื้นที่สีม่วง

โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ Source: The data in this infographic was created by Esri Thailand using official government and commercial sources.

เตือนกันตรงๆ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

คงเห็นกันแล้วว่า ในพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งนี้มีประชากรและอาคารบ้านช่องอยู่รอบโรงงานมากขนาดไหน กรณีนี้ขอปิดท้ายด้วยข้อความที่ ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์​ (NIDA) โพสต์เชิงเตือนภัยและให้คำแนะนำสำหรับคนที่กำลังจะซื้อบ้าน ผ่านเฟซบุ๊ก Sunt Srianthumrong ดังนี้

.....................

Bangkok Blast: ระเบิดที่กิ่งแก้ว เมื่อคนกรุงเทพฯ กำลังสร้างเมืองไว้อย่างสวยงาม แต่ดันลืมไปว่ายังมีระเบิดในสวนหลังบ้านที่ยังไม่ได้เก็บกู้

ผมคิดว่านี่เป็นหนึ่งในบททดสอบผู้สมัครผู้ว่า กทม. ทุกคนเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาที่มองเห็นมานานแล้ว แต่ไม่เคยมีผู้ว่าฯ ท่านใด รัฐบาลใด หรือว่าม็อบใด หยิบยกมันขึ้นมา

คนที่อยู่ในวงการวิศวกรรมและอุตสาหกรรมจะพอรู้และเดาได้ว่า ยังมีระเบิดแบบนี้ซุกซ่อนอยู่ในกรุงเทพฯ มาแต่อดีตกาล ตรงไหนบ้าง

พวกเรารู้ความเสี่ยงนะ รู้กันมาตลอด แต่มันพูดไปตรงๆ ไม่ได้หรอก เพราะมันไม่เคยเป็นเรื่องไง

และเรื่องแบบนี้มันก็ยากที่จะตัดสิน ในอดีต 30 - 40 ปีก่อน เราเลือกที่จะเริ่มทำอะไรที่มันอาจจะระเบิดได้ แต่มันได้เงินเยอะ เศรษฐกิจโต ได้ภาษีมาก เอาเงินมาพัฒนาเมือง เราเอามันฝังไว้ในสวนหลังบ้านซึ่งคิดว่ามันไกลพอ ซึ่งช่วงต่อมาลูกใหม่ๆ เราก็เอามันไปไว้ไกลถึงภาคตะวันออกโน่น

แต่เวลาผ่านมา บ้านช่องขยายไปทั่ว ที่หน้าบ้านไม่พอ จนเริ่มขยายไปสวนหลังบ้าน และดันลืมไปว่า "มีระเบิดที่ฝังไว้ยังไม่ได้เก็บกู้นี่นา" เราจำได้แต่บ่อขยะขนาดใหญ่หลังบ้านซึ่งเราก็จับมันย้ายออกไปนานแล้ว แต่ระเบิดเราลืมหรือไม่ก็ไม่ใส่ใจ เพราะคิดว่า "มันคงไม่..."

โดยปกติเนี่ย อายุการใช้งานของพวกระบบไฟฟ้า ระบบท่อ ระบบ Safety ต่างๆ ผ่านไป 30 - 40 ปี มันก็เสื่อมนะครับ ถ้าไม่มีการ Overhaul มันก็อาจจะทำให้ระดับความปลอดภัยลดต่ำลงมหาศาล พร้อมเป็นตัวจุดฉนวน

มีคนเดือดร้อนแค่ไหนในรัศมี 10 กม. จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้

ซากไฟไหม้ กิ่งแก้ว

เวลาผมซื้อบ้าน หรือแนะนำใครซื้อบ้าน

นอกจากผมจะเลือกว่าเดินทางสะดวก สิ่งแวดล้อมดี อาหารการกินมีมากมายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมดูก็คือ "ห่างไกลแหล่งระเบิด" อันนี้ซีเรียสจริงๆ คนอื่นๆ อาจไม่ดูเลย แต่ผมดู และดูมานานแล้ว

ผมคิดว่าเรื่องนี้เรื่องใหญ่นะครับ ใหญ่จนไม่กล้าเขียนในนี้เลยว่าตรงบริเวณไหนที่ผม Black List บ้าง เพราะถ้าเราพูดกันตรงๆ เอาแผนที่มากางกันตรงๆ ล่ะก็ มันกระทบกับ Real Estate Developer มากมาย ส่วนการจะย้ายระเบิดออกไปนอกกรุงเทพฯ ก็ไม่ง่ายนะครับ บางที่เขาก็อยู่มานาน และมูลค่ากิจการเขาก็มากมายมหาศาล จ่ายค่าย้ายกันไม่ไหวทีเดียว

เป็นโจทย์ที่ยากมาก แต่ต้องแก้นะครับ เพราะถ้าลูกนี้มันระเบิดได้ ลูกต่อไปมันก็เกิดขึ้นได้อีกครับ มันมีอีกหลายลูกที่ยังไม่ได้เก็บกู้ และลูกนี้ก็ไม่น่าจะใช่ลูกที่ใหญ่ที่สุดด้วย

.....................

related