กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ได้วิจัยออกมาแล้วว่า ปริมาณวิตามินบีจะมีสูง มีประโยชน์ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้ และบรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้ อาเจียน เป็นยาระบายได้ บำรุงกระดูก และป้องกันเส้นเลือดสมองแตกได้ดีเลยทีเดียว
สรรพคุณของตะขบ
- ผลสุกมีรสหวานเย็นหอม มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ (ผล)
- ดอกตะขบมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาชงเป็นน้ำชาดื่ม (ดอก)บ้างใช้เนื้อไม้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (เนื้อไม้)
- ใช้เป็นยาแก้หวัด ลดไข้ ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาชงเป็นน้ำชาดื่ม (ดอก)บ้างใช้เนื้อไม้เป็นยาแก้ไข้หวัด (เนื้อไม้)
- ใบมีรสฝาดเอียด มีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (ใบ)
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้เสมหะ ช่วยกล่อมเสมหะและอาจม (ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ด้วยการใช้ดอกตะขบแห้ง 3-5 กรัม นำมาชงกับน้ำเป็นชาดื่ม (ดอก)
- เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด (เนื้อไม้)
- ต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาระบาย เนื่องจากมีสาร mucilage มาก (ต้น) หรือจะใช้เปลือกต้นสดหรือแห้ง (รสฝาด) ประมาณ 1 ฝ่ามือ นำมาสับเป็นชิ้นต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาระบายก็ได้ (เปลือกต้น)
- เนื้อไม้ใช้เป็นยาขับไส้เดือน (เนื้อไม้)
- ดอกใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นกินเป็นยาขับระดูของสตรี (ดอก)
- ใช้เป็นยาแก้โรคตับอักเสบ ด้วยการใช้ดอกนำมาต้มรวมกับสมุนไพรอื่นกิน (ดอก)
- ใช้เป็นยาแก้ตานขโมย (เนื้อไม้)
- ต้นใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ส่วนรากใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันตามตัว (ต้น, ราก)
- ดอกใช้เป็นยาแก้ปวดและแก้อักเสบ (ดอก)
ประโยชน์ของตะขบ
- ผลสุกมีรสหวานและมีกลิ่นหอม ใช้รับประทานได้ เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ชื่นชอบของเด็ก
- ตะขบเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยพลังงาน เส้นใยอาหาร แคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม จากการวิจัยพบว่าตะขบสามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และเส้นเลือดในสมองแตกได้ (ตะขบ 100 กรัม จะให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี, แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม, โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม)
- ผลตะขบเป็นอาหารของนกและสัตว์หลายชนิด ถ้าปลูกไว้ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อผลร่วงลงก็จะเป็นอาหารของปลาด้วยเช่นกัน
- ผลตะขบฝรั่งเป็นที่นิยมรับประทานมากในเม็กซิโก ผลสามารถนำไปแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์ได้ และนำใบไปแปรรูปเป็นชา
- เนื้อไม้ตะขบเป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถนำมาใช้ในงานช่างไม้ได้ ส่วนเปลือกใช้เป็นแหล่งของเส้นใย
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน หรือปลูกประดับริมทางเดินเพื่อให้ร่มเงา
ประโยชน์เพิ่มเติมของตะขบ
- ราก : กินแก้ไตอักเสบ
- ยางจากต้น : เป็นส่วนประกอบยาแก้อหิวาตกโรค
- เปลือกต้น : ชงกินแก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
- เปลือกตำรวมกับนํ้ามัน : ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน
- นํ้ายางจากต้น และใบสด : กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิด และท้องเสีย ช่วยย่อย
- นํ้าต้มใบแห้งกินเป็นยาฝาดสมาน : ขับเสมหะ แก้หืด หอบ หลอดลมอักเสบ ขับลม และบำรุงร่างกาย
- ใบที่ย่างไฟจนแห้ง : ใช้ชงกินหลังคลอดบุตร
- เมล็ด : ตำพอกแก้ปวดข้อ