จากสถิติของกองระบาดวิทยา ระบุไว้ว่า มีผู้ติดเชื้อโควิด-19ในปี 2567 มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 7 แสนราย และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกว่า 48,000 ราย เสียชีวิต 205 ราย ถือเป็นสถิติการติดเชื้อที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การป้องการด้วยการฉีดวัคซีนยังคงสำคัญ
นับตั้งแต่โลกของเราได้รู้จักกับโรคติดต่อพันธุ์ใหม่อย่าง “โควิด-19” ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็นับเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว แต่ก็ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่เรื่อยๆ
จากข้อมูลปี 2567 ของกองระบาดวิทยา ระบุว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึง 16 กันยายน มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วกว่า 7 แสนราย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกว่า 48,000 ราย และเสียชีวิต 205 ราย ถือเป็นสถิติการติดเชื้อและเสียชีวิตที่สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถ้าเราลงรายละเอียดไปมากกว่านี้ ในจำนวนผู้เสียชีวิตร้อยละ 80-90 เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608
ด้านศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ผู้แทนจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่ากลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน และรวมถึงสตรีมีครรภ์ด้วย ความเสี่ยงกลุ่มเสี่ยง 608 เมื่อป่วยเป็นโควิด-19 มีโอกาสที่จะป่วยหนักสูงกว่าคนที่อายุน้อยกว่าหรือคนทั่วไป 2-3 เท่า และมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้นประมาณ 2-10 เท่าเลยทีเดียว แล้วที่น่ากังวลคือ กลุ่มเสี่ยง 608 พวกเขามีโรคประจำตัวกันอยู่แล้ว ก็มีโอกาสที่โควิด-19 จะไปทำให้โรคประจำตัวที่คนกลุ่มเป็นอยู่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากโควิด-19 ไม่ใช่โรคทางเดินหายใจเท่านั้น แต่เป็นโรคที่สามารถมีอาการได้หลายอวัยวะ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามระบบอวัยวะต่างๆ เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว ไตวาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิต เพิ่มขึ้น
ส่วนความเข้าใจผิดที่ว่าเป็นโควิดมาแล้วจะไม่เป็นซ้ำ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรุญ มุตสิกพันธุ์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ก็อธิบายไว้ว่า เชื้อโควิดมีการกลายพันธุ์ทุกๆ 2-3 เดือน และทุกๆการกลายพันธุ์จะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่อาจจะมีความรุนแรงที่น้อยลง
จริง ๆ ที่ต่างประเทศทั่วโลก ยังคงแนะนำให้ประชากรของพวกเขา โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง รับวัคซีนโควิดเข้มกระต้น เพื่อป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และหลาย ๆ ประเทศในยุโรป
แล้วทำไมประเทศไทยเราถึงยังไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ที่มากพอ และด้วยสถานการณ์การระบาดมีความรุนแรงที่ลดลง ทำให้นโยบายการฉีดวัคซีนฟรีจึงถูกยกเลิกไป ทำให้กลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงต้องรับภาระค่าใช้จ่าย ในการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ้งมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันบาท ถือว่าค่อนข้างสูง กลายเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงวัคซีน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่ว่าทำให้ นางศุภลักษณ์ จตุเทวประสิทธิ์ ประธานชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อยากให้ทางภาครัฐช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง แก้ไขข่าวลือต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือการทำให้ประชาชนทุกคนเข้าใจถึงความสำคัญของวัคซีนป้องการโควิดที่ยังคงต้องฉีดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ แสดงความคิดเห็นว่า สถานการณ์ทั่วโลกตอนนี้กำลังจะเข้าสู่ช่วงปีใหม่และเทศกาลการท่องเที่ยว ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ ไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นมานานกว่า 1 ปี ด้วยสถานการณ์นี้อาจเป็น ภาระต่อระบบสาธารณะสุข พร้อมทั้งภาครัฐควรออกมาพูดถึงข่าวลือต่างๆ ที่ออกมาว่าการฉีดวัคซีนมีโอกาสเป็นมะเร็ง หรือส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันยังไงบ้าง ทางภาครัฐควรออกมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทั่วถึงด้วย
ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกรวมถึงประเทศจะดีขึ้นมาแล้ว แต่ประชาชนอย่างพวกเราก็ประมาทไม่ได้ เพราะจากข้อมูลสถิติการติดเชื้อโควิด-19 ในปี 2567 ก็ยังถือว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่สูงอยู่ดี วัคซีนยังคงจำเป็นต่อการป้องกัน และลดอาการจากหนักให้เบาลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง 608