svasdssvasds

ธนาคารแห่งประเทศไทย VS รัฐบาล ย้อน 4 เหตุการณ์ผู้ว่าแบงก์ชาติถูกปลดฯ

เปิดปมขัดแย้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย VS รัฐบาล ย้อน 4 เหตุการณ์ผู้ว่าแบงก์ชาติถูกปลดจากตำแหน่ง มาจากสาเหตุอะไรบ้าง? รัฐบาลสามารถปลด ผู้ว่าการแบงก์ชาติได้หรือไม่ ?

หลังจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยอย่าง อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ออกมากล่าวถึงธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติในงาน “10 เดือนไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10” แบงก์ชาติเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ แสดงเห็นถึงรอยร้าวของรัฐบาลกับแบงก์ชาติที่ไม่ลงรอยกัน แต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาล มีให้เห็นมาโดยตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทย บางกรณีขัดแย้งถึงขั้นปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ

เหตุการณ์ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติครั้งที่ 1

โชติ คุณะเกษม ถูกปลดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สาเหตุการปลด มีการอ้างว่าคุณโชติ ไปพัวพันกับการจ้างต่างชาติผลิตธนบัตร แต่สุดท้ายก็กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ อยู่ดี

เหตุการณ์ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติครั้งที่ 2

นุกูล ประจวบเหมาะ ถูกปลดในสมัยนายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ให้เหตุผลว่า นายนุกูลดำรงตำแหน่งมาครบ 4 ปีแล้ว ควรให้ผู้อื่นมาดำรงตำแหน่งต่อ

เหตุการณ์ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติครั้งที่ 3

กำจร สถิรกุล ถูกปลดในสมัย ประมวล สภาวสุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยุครัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ด้วยปัญหาความขัดแย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย

เหตุการณ์ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติครั้งที่ 4

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือ “หม่อมเต่า” ถูกปลดในสมัย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่งมี ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นไม่ได้ระบุเหตุผลว่าปลดจากสาเหตุอะไร

แต่! มีกระแสข่าวว่าอาจเกิดจากความขัดแย้ง เชิงนโยบายที่ ธปท.มองว่าปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่รัฐบาลต้องการเข้าไปกำกับดูแล และพยายามให้ ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ แต่ ธปท.ก็ยังคงมีมาตราการที่เข้มงวด

ความขัดแย้งระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลในปัจจุบัน

ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนปัจจุบันอย่าง นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับโครงการ ดิจิทัล วอลเล็ต เพราะมองว่าเศรษฐกิจประเทศไม่ได้วิกฤต และรัฐบาลก็ขอให้แบงก์ชาติลดอัตราดอกเบี้ยลง แต่ทางแบงก์ชาติเองก็ไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงมา ต่อมาแบงก์ชาติก็ไม่เห็นด้วยกับการแจกเงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เพราะ อาจทำให้เกิด
พฤติกรรมผิดๆที่เอาแต่รอความช่วยเหลือซ้ำๆ

อุ๊งอิ๊ง ออกมาวิพากษ์วิจารณ์แบงก์ชาติ ทำให้หลายฝ่ายออกมา แสดงความเห็นว่า อุ๊งอิ๊งไม่ได้เข้าใจโครงสร้างเศรษฐกิจ และไม่ควรเข้าไปแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติ เนื่องจาก แบงก์ชาติเป็นองค์กรพิมพ์ธนบัตรได้เองแต่รัฐบาลเป็นองค์กรใช้เงิน หากรัฐบาลเข้าไปแทรกแซงอาจเกิดผลเสียต่อประเทศได้

และถ้าถามว่ารัฐบาลปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติได้ไหม ?

คำตอบคือ ได้ แต่ตามกฎหมายระบุไว้ชัดว่า การจะปลดผู้ว่าแบงก์ชาติได้ก็ต่อเมื่อมีข้อพิสูจน์แล้วว่า มีพฤติกรรมเสื่อมเสียร้ายแรงหรือทุจริตต่อหน้าที่ โดยต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เสนอต่อคณะรัฐมนตรี หรือ อีกกรณีคือให้คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ปลดหากพบว่า ผู้ว่าแบงก์ชาติ มีความผิดบกพร่องในหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ

 

related