svasdssvasds

วิกฤตประชากร คาดอีก 60 ปี จำนวนประชากรไทยจะเหลือเพียง 33 ล้านคน

สถิติจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการคาดถ้าสถานการณ์ยังเป็นอย่าง อีก 60 ปีจำนวนประชากรของประเทศไทยจะหายไปครึ่งหนึ่ง ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่อยากมีลูก

วิกฤตประชากร จากวันนี้นับไปอีก 60 ปี นักวิชาการมีการวิเคราะห์กันว่า ประชากรในประเทศไทยจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง หรือเหลือเพียง 33 ล้านคนเท่านั้น

  1. จำนวนประชากรวัยแรงงานหรือ คนที่มีอายุระหว่าง 15 – 64 ปีจะลดลงจาก 46 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 14 ล้านคนในปี 2626
  2. ตามมาด้วยประชากรวัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปีจะลดลงจาก 10 ล้านคน ในปี 2566 เหลือเพียง 1 ล้านคนเท่านั้น ในปี 2626
  3. ประชากรผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้านคน ในปี 2566 ไปเป็น 18 ล้านคน ! ในปี 2626

เท่ากับว่าประชากรผู้สูงวัยจะมากกว่า 50 % ของประชากรทั้งประเทศ ถึงตอนนั้นประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และอาจจะส่งผลต่อ GDP ที่ร่วงลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และตัวเลข GDP ของประเทศจะดีขึ้นหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ

  1. C ย่อมาจาก Consumption หมายถึง การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปถ้าประชากรเกิดน้อยลง ก็จะทำให้การบริโภคสินค้าโดยรวมลดลงเช่นกัน
  2. I หรือ Investment คือ การลงทุนจากภาคเอกชน ถ้าในประเทศมีการบริโภคภายในที่เติบโตเร็ว นักลงทุนก็อยากจะเข้ามาลงทุนเพราะมองว่าคุ้มค่า แต่ถ้าประชากรน้อย ความสามารถในการบริโภคต่ำ นักลงทุนก็อาจจะไปลงทุนประเทศอื่นที่มองว่าคุ้มค่ากว่า
  3. G หรือ Government spending คือ เงินการลงทุนจากภาครัฐ การที่ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ก็ทำให้รัฐบาลแบกรับสวัสดิการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  4. X-M หรือ Export กับ Import คือ มูลค่าการส่งออกกับนำเข้า ถ้าตัวเลขการส่งออกสูงกว่านำเข้าก็จะส่งผลที่ดีต่อ GDP แต่ถ้าประชากรเกิดน้อยลง ประชากรวัยแรงงานก็น้อยลง กำลังการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกก็จะน้อยลงตามไปเช่นกัน

 

วิกฤตประชากร ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับประเทศไทยอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะทวีปเอเชียเกิดขึ้นแล้วกับหลายประเทศ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน

อย่างเกาหลีใต้เองก็เผชิญกับปัญหานี้มาตั้งแต่ปี 2013 ที่อัตราเด็กเกิดใหม่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา  เด็กเกิดใหม่ของเกาหลีใต้ลดลงจาก 400,000 คนต่อปี เหลือเพียง 230,000 คนต่อปีเท่านั้น ซึ่งทางรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการอัดฉีดงบประมาณมากถึง 9 ล้านล้านบาท เพื่อกระตุ้นให้คนเกาหลีใต้มีลูก แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าไหร่

ตามข้อมูลของเกาหลีใต้พบว่า อัตราเด็กเกิดใหม่ในปี 2015 คิดเป็น 1.239 แต่ในปี 2023 อัตราเด็กเกิดใหม่เหลือเพียง 0.72 เท่ากับว่าผู้หญิงเกาหลีใต้ 1 คน มีลูกไม่ถึง 1 คน ซึ่งถ้าเกาหลีใต้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้  ผู้หญิงเกาหลีใต้ 1 คน จะต้องมีลูก 2 คนขึ้นไปนั้นเอง

แล้วทำไมคนรุ่นใหม่ถึงไม่ค่อยอยากมีลูก ?

ปัญหาหลักๆมาจาก ค่าใช้จ่าย ที่การมีลูกหนึ่งคน ค่าใช้จ่ายที่ตามมาถือว่าสูงมาก จริงๆแล้วค่าใช้จ่ายสำหรับลูก 1 คน เริ่มมาตั้งแต่การตั้งครรภ์ ทั้งการเลือกทานอาหารที่ดีมีคุณภาพเพื่อเป็นการบำรุงครรภ์ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการทำคลอด ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเช่นกัน

นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของปัญหาสังคม การใช้ชีวิตที่อยากมีอิสระมากขึ้น ความต้องการอยากประสบความสำเร็จกับเป้าหมายของตัวเอง หรือแม้กระทั้งความหลากหลายทางเพศ

รัฐบาลไทยโดยกระทรวงสาธารณะสุขเองก็มีการผลักดัน การส่งเสริมการมีบุตร ให้เป็นวาระแห่งชาติ มีมาตรการในการดูแลให้การทำงานกับการดูแลครอบครัวสมดุลกัน ช่วยเหลือคนที่มีบุตรยาก แก้ไขกฎหายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ผลักดันให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ตั้งเป้าทำให้สำเร็จภายใน 100 วัน รวมถึงมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรจังหวัดละ 1 แห่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง