svasdssvasds

ประวัติ ลัทธิโยเร คืออะไร? รู้จัก พลังปล่อยแสงฝ่ามือรักษาโรค

ประวัติ ลัทธิโยเร คืออะไร? เข้ามาในประเทศไทยตอนไหน หลักคำสอน ความเชื่อของลัทธิ และการปล่อยแสงจากฝ่ามือสามารถรักษาโรคได้จริงหรือเปล่า เกี่ยวข้องธรรมกายไหม

ลัทธิโยเร หรือ เซไกคีวเซ เป็นศาสนาใหม่ที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เกิดจากการผสมผสานความเชื่ของลัทธิชินโด ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และหลักจริยธรรมสากล
ก่อตั้งโดย “โมกิจิ โอกาดะ” เมื่อปี พ.ศ. 2478 และเริ่มมีแนวทางของลัทธิชัดเจนมากขึ้นหลังจากจบ สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2490

ส่วนความหมายของคำว่า “โยเร” หมายถึง การชำระล้างจิตวิญญาณ อีกหนึ่งความเชื่อของลิทธินี้คือการรักษาอาการเจ็บป่วยทางรางกายและจิตใจ ด้วย “แสงจากฝ่ามือ” ซึ่งคำสอนหลักๆของลัทธินี้คือการทำความดีและชักชวนลูกหลานให้เข้ามาร่วมเป็นสาวก

อีก 1 จุดที่น่าสนคือ มีรายงานสื่อญี่ปุ่นและประเทศนุโรปเคยออกเตือนเรื่องลัทธิโยเร ว่าเป็นลัทธิอันตราย เข้าข่ายล้างสมอง

ลัทธิโยเรนี้เข้ามาในไทยตอนไหน ?

ตามข้อมูลระบุไว้ว่า ลัทธิโยเรเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อระมาณ พ.ศ. 2511 คนที่นำเข้ามาคือ “คาซูโอะ วากูกามิ” จุดเริ่มจากการแปลเอกสารทางศาสนาแล้วนำเข้ามาเผยแพร่ และก่อตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมในประเทศไทย พร้อมทั้งจดทะเบียนในชื่อ “มูลนิธิบำเพ็ญประโญชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา” ต่อมากรมศาสนาได้รับรองให้เป็นมูลนิธิ เป็นองค์กรศานาย่อยของศาสนาพุทธนิกายมหายาน หลังจากนั้นก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว พ.ศ.2527 กรมศาสนาได้เพิกถอนสถานะ การเป็นนิกายของศาสนาพุทธนิกายมหายาน จึงถูกลดสถานะกลับไปเป็นมูลนิธิ ที่ตั้งของลัทธิโยเรอยู่ที่ สระบุรี เรียกว่า องค์การศานาเซไคคิวเซเคียวประจพประเทศไทย(หอเซจิ) แต่ย้ายสนักงานใหญ่ไปที่ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน กทม.
และลัทธิโยเรยังมีการสนับสนุนทุนการศึกษาศาสนาพุทธให้แก่ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ทุกปี และปรับเปลี่ยนวิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการสนับสนุนสถาบันหลักและวัฒนธรรมไทย

การเข้าร่วมลัทธิโยเร ?

ผู้ที่จะเข้าร่วมลัทธิต้องเข้ารับจี้ “โอฮิการิ” หรือ การรับพระ ซึ่งตรงนี้มีค่าใช้จ่าย และต้องปฏิบัติกิจกรรมพระ คือการ ซัมไป การโยเร การโฮชิ และต้องเผยแผ่ศาสนาเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิก คำสอนสำคัญแก่สมาชิกคือ ความสุภาพอ่อนโยน ความสงบเสงี่ยม และความสะอาด

ลำดับชนชั้นของสาวกลัทธิโยเร

  • ระดับศาสนิกชน คือ บุคคลที่เพิ่งเข้าสู่ลัทธิโยเรได้ไม่นาน
  • ระดับเซวานิน คือ บุคคลที่เข้าลัทธิได้ 1 - 2 ปี มีหน้าที่ดูแลศาสนิกชนที่เพิ่งเข้ามา และต้องชักชวนบุคคลอื่นเข้าสู่ลัทธิ
  • ระดับไฮเคียว คือ บุคคลที่เข้าลัทธิ 2 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ามาประกอบกิจของลัทธิเป็นประจำ
  • ระดับภูไคอิน คือ บุคคลระดับสูง เข้ามาประกอบกิจลัทธิบ่อยครั้ง ทั้งยังมีความเลื่อมใสในลัทธิอย่างสูงส่ง
  • ระดับเคียวไคโจ คือ สาวกระดับอาจารย์ จะมีแค่ 1 คนต่อสาขา ต้องเป็นผู้ละทางโลก และเป็นคนสอนคำสอนให้กับสาวก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related