โฆษก อสส. ชี้แจงหมดหน้าที่อัยการตั้งแต่ส่งสำนวนกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตำนวจแล้ว ตามกฎหมายสามารถปล่อยตัวเยาวชน 14 ได้ แต่เชื่อมั่นว่าแพทย์จะนำตัวไปรักษาต่อ
คดีเยาวชน 14 กราดยิง กลายเป็นที่สงสัยในสังคมหลัง ประยุทธ เพชรคุณ โฆษกอัยการสูงสุดได้แจ้งทางโทรศัพท์ว่า กระบวนการของอัยการหมดหน้าที่ตั้งแต่คืนสำนวนคดีให้ตำรวจและสามารถปล่อยตัวผู้ก่อเหตุได้แล้ว เรื่องนี้มีตัวละครอยู่ 3 สวนคือ ตำรวจ อัยการ และทีมแพทย์
วันที่ 27 ต.ค. จิตแพทย์ของเด็กรับรองว่าเด็กพร้อมให้ปากคำ พนักงานสอบสวนสามารถไปสอบปากคำได้ ซึ่งเด็กก็ตอบคำถามเหตุการณ์ก่อนวันกราดยิงได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาวุธเอามาจากไหน ซ้อมยิงปืนที่ไหน ซ้อมกับใคร เพื่อนสนิทเป็นใคร แต่พอถามถึงเหตุวันก่อเหตุ กลับตอบคำถามไม่ได้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่เชื่อว่า
ไม่มีเหตุผลพอให้เชื่อว่าเด็กเป็นวิกลจริต จึงส่งสำนวนให้อัยการ
วันที่ 21 พ.ย. อัยการออกมาชี้แจงถึงประเด็นที่ตีกลับสำนวนส่งฟ้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจนี้ว่า“ทีมแพทย์สถาบันกัลยาณ์” รายงานว่าเด็ก 14 ไม่เข้าใจข้อกล่าวหา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์-พฤติกรรมได้ เป็นเด็ก ยังไม่สามารถสู้คดีได้
วันที่ 25 ธ.ค. สถาบันกัลป์ยาณ์ยังยืนยันตามเดิมว่า เด็ก ไม่สามารถสู้คดีได้ อัยการเลยจำเป็นต้องตีกลับสำนวน ให้พนักงานสอบสวนเริ่มใหม่ รอให้เด็กหายป่วยถึงจะดำเนินคดีต่อ
ซึ่งตามกฎหมาย สถานพินิจควบคุมตัวไว้ 30 วัน และขอขยาย ได้อีกไม่เกิน 60 วัน ซึ่งตอนนี้ควบคุมเด็ก 14 เกินกำหนดแล้วและต้องปล่อยตัว ซึ่งวันนี้เข้าสู่วันที่ 92 แล้ว
นั่นหมายความว่าปล่อยตัวเด็กได้
แต่ได้มีการประชุมหารือต่อจาก 3 ฝ่าย พ่อแม่ของเด็ก, ทีมแพทย์ และ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยผลการประชุมสรุปออกมาว่า ให้เด็กรักษาตัวต่อที่ สถาบันกัลยาณ์ฯ ต่อไป และค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางครอบครัวของเยาวชนอายุ 14 ปีจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง พร้อมทั้งไม่อนุญาตให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบที่ควบคุมไม่ได้แล้วส่งผลต่ออาการของเจ้าตัว และระหว่างนี้ให้งดการสอบสวน จนกว่าจะมีอาการดีขึ้น การรักษาจะใช้เวลานานแค่ไหนอยู่ที่แพทย์เป็นคนตัดสินใจและแพทย์ต้องรักษาให้หายแล้วต้องมีการรายงานการรักษาทุกๆ 180 วัน
นอกจากต้องรักษาให้หายแล้ว ทีมแพทย์ต้องหาสาเหตุปัจจัยการก่อเหตุเกิดจากอะไร ?
เพื่อหาทางป้องกันเหตุที่อาจจะเกิดในอนาคตต่อไป และพิสูจน์ให้ได้ว่าเด็กแกล้งหรือป่วยจริง ทางโฆษก อสส. ก็ยืนยันว่าขณะนี้เยาวชนรายนี้ยังป่วยอยู่
ส่วนเรื่องของคดีก็ขึ้นอยู่กับแพทย์ว่าจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนว่าเด็กพร้อมเมื่อไหร่ ก็จะมาสอบสวนต่อ
โดยเหตุการณ์กราดยิงครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 ผู้ก่อเหตุมีอายุเพียง 14 ปี พกอาวุธปืนแบลงค์กันโดยกราดยิงไปทั้งหมด 42 นัด
มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 5 ราย ก่อนถูกควบคุมตัวที่ชั้นภายในร้านค้าแห่งหนึ่งในสยามพารากอน
ซึ่งตอนนั้นเยาวชน 14 ปี ถูกตั้งข้อหาทั้งหมด 5 ข้อหา คือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สุดเศร้า เหยื่อกราดยิงพารากอน เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย หลังรักษามา 10 วัน
แม่สาวเมียนมา ร่วมงานศพลูก ขณะที่เหยื่ออีกราย ญาติเตรียมนำร่างกลับจีน
SMS Emergency Alert ชวนส่องระบบเตือนภัยของประเทศทั่วโลก ว่าเจ๋งแค่ไหน