รู้จัก MOU คืออะไร? ทำความเข้าใจหนังสือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ หลัง 9 พรรคการเมืองนัดหมายร่วมลงนามใน MOU เพื่อเป็นข้อตกลงในการร่วมจัดตั้งรัฐบาล2566
"MOU" ย่อมาจาก Memorandum of Understanding การลงนามในบันทึกความเข้าใจ เป็นการทำข้อตกลงร่วมกันว่าเราจะทำงานไปในทิศทางไหน มีข้อตกลงอะไรที่ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันบ้าง รายละเอียดของเนื้องานที่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจเหมือนกันอธิบายง่าย เป็นการทำข้อตกลงที่มือลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐาน ถ้าฝ่ายที่ทำ MOU แล้วไม่ได้ทำตามข้อตกลงที่ระบุไว้ ไม่มีผลทางกฏหมาย
โดยปกติแล้วในประเทศไทยพรรคที่ชนะการเลือกตั้งจะสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล เวลาเจรจาต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาล มักจะเป็นการพูดคุยเรื่องผลประโยชน์ทางการเมือง กระทรวงที่แต่ละพรรคต้องรับผิดชอบ และสิ่งที่เป็นประกันหรือสัญญาว่าจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการให้สัตยาบัน เหมือนสัญญาใจ ว่าเราจะทำตามข้อตกลงที่เราประชุมร่วมกันไว้
ส่วน MOU ต่างจาก สัตยาบันยังไง ?
ต่างกันตรงที่ทั้ง 2 วิธีเป็นการตกลงร่วมกันว่าจะทำอะไรบ้าง มีทิศทางการทำงาน รายละเอียดงานเป็นแบบไหน แต่ MOU จะมีการลงนาม ไว้เป็นหลักฐานที่มีลายลักษณอักษรชัดเจน แต่ก็ไม่มีผลทางกฏหมายเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ส่วนลงนาม MOU ทางการเมือง ถ้าพูดถึงในไทย จะเป็นครั้งแรกที่การเมืองไทยมีการลงนาม MOU ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบไปด้วย 8 พรรคการเมืองคือ
เบื้องต้นยังเป็นการเจรจาข้อตกลงร่วมกันว่าทั้งหมด 8 พรรคจะมีอะไรที่ทำร่วมกันบ้าง
ส่วนรายละเอียดจะเปิดเผยเพิ่มเติมต่อหน้าสาธารณะชนวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.30 น.
เรื่อง ม.112 ที่หลายคนกังวล นพ.ชลน่านบอกว่า “เรื่องนี้ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ทุกพรรคสามารถยอมรับได้และในร่าง MOU ของพรรคก้าวไกล ไม่มีการเขียนเรื่องนี้อยู่เลย”
ไปตรงกับ คุณศิริกัญญา รองหัวหน้าภรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ว่า ใน MOU ไม่มีเรื่อง ม.112
ส่วนต่างประเทศการลงนาม MOU มีการทำมานานแล้ว หลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ นิวซีแลนด์ เคนย่า หรือประเทศในอาเซียนอย่างมาเลเซียก็มีการลงนาม MOU ด้วยเช่นกัน