ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขต 2566 ขั้นตอน เอกสาร สำหรับการยื่นด้วยตัวเอง และแบบออนไลน์ ทำยังไงบ้างมาเช็กกันครับ #ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขต2566 #ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตออนไลน์ #เลือกตั้งนอกเขต66
เหลืออีก 4 วันเท่านั้นสำหรับการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในเขตและนอกเขต รวมถึงนอกราชอาณาจักรไทยด้วย การเลือกตั้งปีนี้เป็นปีที่ประชาชนให้ความสำคัญกันค่อนข้างเยอะ โดยข้อมูลล่าสุดมียอดคนลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้วกว่า 700,000 คน ทาง กกต. ประกาศวันเลือกตั้งจริงมาแล้ว ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม ส่วนเลือกตั้งล่วงหน้าตรงวันอาทิย์ที่ 7 พฤษภาคม ใครที่ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันจริง ก็สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 25 มีนาคมที่ผ่านมาถึง 9 เมษายนนี้
เช็คสิทธิกันก่อนว่าใครที่มีสิทธิในการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตบ้าง
1. คนที่อยู่นอกเขตเลือกตั้งของตัวเอง
2. คนที่เพิ่งย้ายบ้านแล้วมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ถึง 90 วัน
เอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม
1. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาอื่นๆที่ทางราชการออกให้ แต่ต้องมีรูปแล้วก็เลขประจำตัวประชาชน
2. แบบคำร้องขอใช้สิทธิ์ สามารถ download ผ่าน Smart vote ได้ทั้งระบบ IOS และ Android
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก บัตรเลือกตั้ง 2566 ทั้ง 2 แบบ บัตรเลือกตั้งแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ
ช่องทางในการลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต สามารถยื่นได้ 3 ช่องทาง
1. ยื่นด้วยตัวเองผ่านสำนักเขต / สำนักทะเบียนอำเภอ / สำนักทะเบียนท้องถิ่น
2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์ โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ แล้วก็จ่าหน้าซองถึงนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือ ผู้อำนวยการเขต
3.ช่องทางออนไลน์ เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพราะไม่ต้องเตรียมเอกสารเหมือน 2 วิธีแรก สามารถกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มได้เลย
ลงทะเบียนได้ ตลอด 24 ชั่วโมง และเมื่อถึงวันที่ 9 เมษายน ระบบจะปิดอัติโนมัติตอนเที่ยงคืน หลังจากลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตไปแล้ว ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่เลือกตั้งล่วงหน้าได้ 1 ครั้ง แต่ต้องกรอกข้อมูลพื้นฐานแล้วก็เลือกจังหวัดกับสถานที่ใหม่
แต่ถ้าเกิดกรณีที่เราลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว เกิดติดธุระแล้วสะดวกไวันจริงแทน ก็สามารถยกเลิกได้ แต่ต้องไปกดยกเลิกการลงทะเบียนด้วยนะครับ ถ้าไม่ยกเลิกคุณจะไม่มีสิทธิ์ไปเลือกตั้งวันจริง แล้วก็จะถูดจำกัดสิทธิ 5 ข้อ
1.เสียสิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง สส.
2.บางคนอาจจะอยากเล่นการเมืองในอนาคตก็หมดสิทธิเช่นกัน
3.สิทธิในการรับเลือกให้เป็นกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน
4.ห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
5. ห้ามดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สิทธิที่ถูกจำกัดจะมีระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้งำำ