svasdssvasds

เฉลย! เคส สายชาร์จดูดเงิน มีจริง แต่ที่ไทย โดนหลอก เงินหาย เพราะ โหลดแอปฯปลอม

เฉลย! เคส สายชาร์จดูดเงิน มีจริง แต่ที่ไทย โดนหลอก เงินหาย เพราะ โหลดแอปฯปลอม

เฉลย! สายชาร์จดูดเงิน เคสที่ไทย ที่แท้โดนคนร้ายหลอกโหลดแอปฯปลอม สูญเงินหลักแสน แบงก์ชาติคอนเฟิร์มเอง (แต่สายก็มีจริงนะ)

ก่อนที่จะไปเรื่องว่า เงินในบัญชีหายได้อย่างไร อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนตรงนี้ คือ สายชาร์จดูดเงิน มีจริง แต่วิธีการทำงานของเราคือเอา Username , Password เราไปแฮกเงินในบัญชีอีกที

ส่วนเคสล่าสุดที่บอกว่า แค่เสียบมือถือชาร์จไว้เฉย ๆ แล้วอยู่ดี ๆ มือถือก็โอนเงินไปหาใครก็ไม่รู้เป็นแสน อันนี้ พิสูจน์แล้วว่า มาจากการโหลดแอปฯปลอม

จะบอกว่าเรื่องนี้คนพิสูจน์ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย พี่ใหญ่ผู้คุมกฎหมายของธนาคารอีกทีหนึ่ง ซึ่งเขาก็หารือกับสมาคมธนาคารไทย

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

วิธีการของคนร้ายคือการหว่านแหทำแอปฯปลอมที่ดูหน้าตาดีขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น แอปฯ แต่งรูป แอปฯทำหน้าการ์ตูน หรือไปไกลสุดถึงขั้นแอปฯ ธนาคารปลอมก็มี

ซึ่งช่องโหว่ที่คนร้ายใช้ก็มีทั้ง เข้ามาแบบถูกกฏหมายผ่านตัวโหลดแอปฯ อย่างเป็นทางการของมือถือ ที่น่าเชื่อถือ เช่น Play Store , App store และเข้ามาแบบทีเผลอ คือ จ่ายเงินโฆษณาบน google แล้วค่อย หลอกให้โหลดแอปฯปลอมอีกทีก็มี

ถามว่าพวกนี้มันไม่ตรวจสอบเลยเหรอ ?

Play Store , App store เขาไม่เช็กเลยเหรอ ? ก็ต้องบอกว่ามันเหมือนแมวไล่จับหนู ไล่จับเท่าไหร่ก็ไม่หมด ถ้าเรายังวางกับข้าวไว้บนโต๊ะมาล่อให้หนูกิน ดังนั้นเราเองก็ต้องระมัดระวังตัวด้วย

วิธีการระวังตัวเบื้องต้นสำหรับสายโซเชียล

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ตัวโหลดอย่างเป็นทางการของมือถือเท่านั้น เช่น Appstore ใน iPhone และ PlayStore ใน Android
  • ห้ามโหลดแอปฯ นอกตัวดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการ เด็ดขาด โดยเฉพาะ แอปฯพนัน แอปฯแต่งรูป

เดี๋ยวนี้ทางด้านของระบบปฎิบัติการอย่าง Android เอง ก็มีการแจ้งเตือนเราเหมือนกันนะว่าแอปฯ ไหนไม่ได้ใช้นาน เราจะถอนมันออกไหม เพราะบางทีมันอาจจะหน้าไหว้หลังหลอกมาแทงเราก็เป็นได้

related