บัตรเลือกตั้ง 2566 คลอดแล้ว เลขาธิการ กกต. เผยรูปแบบบัตรทั้ง 2 แบบ บัตรเลือกตั้งแบ่งเขต และ แบบบัญชีรายชื่อ ที่ใช้ในปีนี้ พร้อมทั้งอธิบายข้อดีป้องกันการสับสน #บัตรเลือกตั้ง2566 #บัตรเลือกตั้งแบ่งเขต #บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
คลอดมาแล้วสำหรับหน้าตาบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่งเลือกส.ส.เขตอีกใบหนึ่งเลือกพรรค ทางเลขาธิการ กกต.ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กรูปบัตรเลือกตั้งที่จะใช้ในปีนี้เรียบร้อยแล้ว 2 ใบด้วยกัน ใบแรกจะเป็นบัตรสีเขียว ไว้ใช้สำหรับเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต หรือ เลือกคนที่เราอยากให้เขาได้เข้าไปทำหน้าที่แทนเราในสภา ทุกๆคนต้องดูให้ดี โดยลักษณะบัตรเลือกตั้งใบนี้จะมี สีเขียว แล้วข้อมูลในบัตรมีแค่ ตัวเลขลำดับ ของ ส.ส. แต่ละท่าน จะไม่มีชื่อ ส.ส. ไม่มีชื่อพรรคการเมือง แล้วก็ไม่มีโลโก้บ่งบอกถึงตัว ส.ส. แต่ละท่านเลย มีเพียงตัวเลขเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราต้องจำให้แม่นก่อนกา ถ้าจำไม่ได้ หน้าคูหาเลือกตั้ง ทางกกต.จะติดรายชื่อ รวมถึงหมายเลข ส.ส. ให้เราดูอีกครั้ง เราสามารถดูได้ครั้งสุดท้ายก่อนเข้าคูหาไปกา อีกอย่างที่หลายคนมักจะเข้าใจผิดกันคือ ส.ส.จากพรรคการเมืองเดียวกันแต่อยู่คนละเขตไม่จำเป็นต้องได้เบอร์เดียวกันครับ เพราะฉะนั้นเช็คให้ดีด้วย
ส่วนอีกใบ เป็นบัตรสีน้ำเงิน ไว้ใช้สำหรับเลือก พรรคการเมือง หรือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ทางพรรคการเมืองจะเป็นคนลิสต์รายชื่อ ส.ส. แล้วส่งให้ทางกกต.พวกเราทุกคนมีหน้าที่กาเลือกพรรคการเมืองที่ตัวเองชอบ เพื่อที่พรรคการเมืองพรรคนั้นจะมีพื่นที่ในสภาเพิ่มขึ้น สำหรับบัตรเลือกตั้งใบนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่ เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างครบ หมายเลขของพรรคการเมือง โลโก้พรรค ชื่อพรรค เราแค่ต้องดูให้ดีแล้วกาให้ถูก กับพรรคที่ตัวเองชื่นชอบ
การเลือกแบบนี้ถ้าพรรคไหนมีคะแนนเสียงมากก็จะส่งผลต่อจำนวน ส.ส. จากพรรคการเมืองนั้น ที่จะได้เข้าไปในสภา รวมถึงมีโอกาสที่จะเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกของตัวเอง เพราะถ้า พรรคการเมืองไหนจะเสนอรายชื่อแคนดิเดต นายกรัฐมนตรี ต้องมี ส.ส. จากพรรคตัวเอง ในสภาอย่างน้อย 25 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
นอกจากนี้ทางเลขาธิการ กกต. ยังแจง 3 ข้อดีของบัตรเลือกตั้งปีนี้ บัตรเลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขต สีต่างจากบัตรเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่ออีกด้วยว่าเรื่องความชัดเจน เนื่องจากสีที่ต่างกัน รายละเอียดต่างๆของบัตรก็ต่างกัน จะทำให้เราทุกคนสามารถแยกได้ว่าใบไหนใช้เลือกอะไร
ต่อคือเรื่องความประหยัด เพราะบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จัดพิมพ์ครั้งเดียว แต่บัตรแบบแบ่งเขตต้อง พิมพ์ถึง 400 ครั้ง ตามจำนวนเขตเลือกตั้ง เมื่อปริมาณพิมพ์ต่อครั้งมีจำนวนมากก็ทำให้ประหยัดค่าพิมพ์ได้
และสุดท้ายง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะ ส.ส. แบบแบ่งเขตเราจะได้รายชื่อก่อน ก็สามารถดำเนินการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเพื่อเตรียมพร้อมได้ก่อนเลย ถึงแม้ว่าหลังการสมัคร อาจจะมีการเพิกถอนสิทธิของผู้สมัครเลือกตั้ง ก็ยังสามารถแก้ไขจำนวนบัตรที่พิมพ์ไปก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องแก้ทีเดียวทั้งหมด
นอกจากนี้ทางเลขานุการ กกต. ยังแจง 3 ข้อดีของบัตรเลือกตั้งปีนี้ ที่บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต มีสีต่างจากบัตรเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่ออีกด้วยว่าเรื่องความชัดเจน เนื่องจากสีที่ต่างกัน รายละเอียดต่างๆของบัตรก็ต่างกัน จะทำให้เราทุกคนสามารถแยกได้ว่าใบไหนใช้เลือกอะไร
ต่อคือเรื่องความประหยัด เพราะ บัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จัดพิมพ์ครั้งเดียว แต่บัตรแบบแบ่งเขตต้อง พิมพ์ถึง 400 ครั้ง ตามจำนวนเขตเลือกตั้ง เมื่อปริมาณพิมพ์ต่อครั้งมีจำนวนมากก็ทำให้ประหยัดค่าพิมพ์ได้
และสุดท้ายง่ายต่อการบริหารจัดการ เพราะ ส.ส. แบบแบ่งเขตเราจะได้รายชื่อก่อน ก็สามารถดำเนินการพิมพ์เพื่อเตรียมพร้อมได้ก่อนเลย ถึงแม้ว่าหลังการสมัครเรียบร้อย อาจจะมีการเพิกถอนสิทธิของผู้สมัครเลือกตั้ง ก็ยังสามารถแก้ไขจำนวนบัตรที่พิมพ์ไปก่อนได้ โดยที่ไม่ต้องแก้ทีเดียวทั้งหมด