ถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ในวงการการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศปรับโครงสร้าง Transformation สู่ Tech company จัดตั้งบริษัทแม่ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เตรียมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทน SCB กลางปี 2565 นี้ แล้ว SCBX คืออะไร
SCBX คืออะไร?
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกหลายธุรกิจถูก Disrupt หรือ แทรกแซงแข่งขันอย่างเร็ว หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือ ธุรกิจธนาคาร ที่ถูกลดบทบาทในการเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ลง จะเลือกอย่างไรระหว่างอยู่นิ่งเฉยดูคนอื่นก้าวนำ หรือ ลองปรับเปลี่ยนเพื่อคาดหวังผลลัพท์ที่ดีกว่า มาดูหนึ่งในตัวอย่างที่กล้าปรับอย่าง SCBX ของ ธนาคารไทยพาณิชย์กัน ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ เป็นอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน เดี๋ยวสรุปให้ฟัง
มารู้จักประวัติย่อ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก่อน
ก่อตั้งขึ้นในปี 2449 ในนาม "แบงค์สยามกัมมาจล" เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย อายุ 115 ปี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2519
และเมื่อวันก่อน SCB ได้ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ Transformation สู่ บริษัทลงทุนด้านการเงิน แพลตฟอร์มและเทคโนโลยี Tech company
จัดตั้งบริษัทแม่คือ SCBX หรือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เตรียมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แทน SCB กลางปี 2565
ต้องปรับเนื่องจากพฤติกรรมทางการเงินผู้บริโภค
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเข้าสู่โลกดิจิทัล ธุรกิจธนาคารพาณิชย์รูปแบบเดิม (Universal Banking) มีข้อจำกัด
ในการแข่งขัน ทำอะไรไม่คล่องตัว ไม่สะดวก
เมื่อวาน บอร์ดSCB เห็นชอบให้จัดประชุมผู้ถือหุ้น วาระพิเศษในเดือนพฤศจิกายน 2564 ขอมติ ผู้ถือหุ้น SCB ให้แลกหุ้น ไปถือเป็น SCBX แทน
ซึ่งไม่ใช่พึ่งมาทำ จริงๆในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา SCB ได้ Transform มาต่อเนื่อง เพื่อทำให้ SCB Group เติบโตแข่งขันได้อย่างยั่งยืน กล้าลองทำสิ่งใหม่มาตลอด เช่น
- Robinhood แพลตฟอร์ม Food Delivery โดยคนไทย ที่กล้าไม่คิดค่า GP หวังเพื่อช่วยเหลือร้านอาหารเล็ก ๆ ให้มีทางเลือกซึ่งแม้จะขาดทุน แต่ทำให้วันนี้ สามารถมีลู่ทางในการแข่งกับแอปต่างประเทศได้
- ค่าธรรมเนียม 0 บาทเมื่อโอนต่างธนาคาร
ไทยพาณิชย์เริ่มต้นที่แรก จนธนาคารอื่นต้องปรับตาม ส่งผลให้ธนาคารสูญเสียรายได้มหาศาล แต่ก็เป็นเรื่องดีของประชาชน และอีกมุมนึงคือการปิดประตูคู่แข่ง Payment Method ของต่างชาติไปเลย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ใช้แอปจ่ายเงินของธนาคาร ไม่เหมือนในต่างประเทศ ใช้ของคู่แข่งเอกชนหมด
ข้อดีในการแยก ยานแม่ SCBX
สามารถบริหารความเสี่ยงและผลกระทบ จากการลงทุนให้อยู่กับ SCBX เท่านั้น ไม่กระทบธนาคาร คล่องตัวในการขยายธุรกิจ ทำให้ผลกระทบจาก Disruption ในธุรกิจแบงก์มีน้อยและอยู่รอดต่อไปได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
โดยโครงสร้างใหม่ ของ SCBX จะแบ่งธุรกิจ
ออกเป็น 2 ส่วน
1. Cash Cow คือ ธนาคาร และ ประกันภัย
มีส่วนแบ่งตลาดสูง มีเงินสดเหลืออยู่มากเพราะตลาดเจริญเติบโตน้อย ช้า เป็นกลุ่มสร้างผลกำไรที่ดี และสนับสนุนเงินทุนให้ SCBX ลงทุนในธุรกิจใหม่ อย่าง ธนาคารในกัมพูชา, เมียนมา
2. New Growth
ลงทุนด้าน Digital Asset และ Digital Platforms แบ่งเป็นบริษัทย่อย มีทีมและมีผู้บริหาร แยกออกจากกัน เช่น
- Card X บริษัทที่โอนกิจการจาก SCB (Spin-Off) สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต
- Alpha X บริษัทที่ร่วมมือกับ Millennium Group ปล่อยสินเชื่อให้กับเจ้าของรถหรูและยานพาหนะทางน้ำ เช่น เรือยอช์ต
- Tech X ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ทำธุรกิจเทคโนโลยี
- AISCB ร่วมมือกับ AIS ทำสินเชื่อ Digital
อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ ย้ำว่า การปรับนี้มีเป้าหมายอีก 5 ปี ทุกธุรกิจของ SCBX จะก้าวสู่บริษัทระดับภูมิภาค สร้างฐานลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ จาก 16 ล้านคน เป็น 200 ล้านคน ทำกำไรอีก 1.5-2 เท่า และ Market Cap แตะ 1 ล้านล้านบาท
สรุปให้ว่า
ถือเป็นตัวอย่างการปรับโมเดลธุรกิจ ของธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ในอนาคต ภายใต้ยานแม่ใหม่ SCBX เพื่ออยู่รอดอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป แต่แปลงสู่ Tech Company ทำธุรกิจทางการเงินและแพลตฟอร์ม และเทคโนโลยี ตามที่ตลาดต้องการ หวังเพื่อก้าวขึ้นเป็น International player หรือไปแข่งขันกับคู่แข่งระดับโลก เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้