เป็นความโชคดีของพวกเราคนไทยที่มีมูลนิธิต่าง ๆ คอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลังสถานการณ์ความยากลำบากมาตลอด ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 แบบนี้ ก็ได้เห็นการทำงานที่ทุ่มเทของมูลนิธิร่วมกตัญญู ในการลงพื้นที่เข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ
วันนี้ วันที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด 19 ระบาดอย่างหนัก หากใครติดตามข่าวก็จะเห็นว่าทีมงานมูลนิธิร่วมกตัญญูลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าช่วยเหลือในชุมชนต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้เดือดร้อนที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่อีกมาก
มูลนิธิร่วมกตัญญูมีการปฏิบัติภารกิจหลักในสถานการณ์โควิด-19
- ภารกิจส่งต่อลมหายใจ
- ภารกิจส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
- ภารกิจดำเนินการร่างผู้เสียชีวิต เพื่อส่งชันสูตร และส่งประกอบพิธีทางศาสนา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ สนับสนุน วิจัยวัคซีนโควิด-19 ไทย เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข
ผู้ป่วย "เบาหวาน" ติดโควิดเสี่ยงอาการหนัก อัตราดับสูงกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
เดิมพัน หาก ‘คลายล็อกดาวน์’ ทุกอย่างสำคัญ ธุรกิจ ปากท้องคน การคุมโควิด-19
ประสบการณ์สู้โควิด ด้วยการ Home Isolation เมื่อคนในบ้านติดโควิดถึง 6 คน
ภารกิจส่งต่อลมหายใจ
เป็นโครงการเพื่อผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล โดยมูลนิธิร่วมกตัญญูจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางส่งต่อลมหายใจให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 โดยสนับสนุนถังออกซิเจน และอุปกรณ์ลดแรงดันแก่ผู้ป่วยวิกฤต พร้อมมอบยาทางเลือกและถุงยังชีพ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ดูแลเติมออกซิเจนให้จนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น หรือผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบการรักษาในขั้นตอนต่อไป หลังจากนั้นมูลนิธิร่วมกตัญญูจะทำหน้าที่รับถังคืนและส่งต่อถังออกซิเจนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤตท่านอื่นต่อไป
ภารกิจส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
เป็นภารกิจที่คอยรับผู้ป่วยโควิดจากบ้าน จากโรงงาน หรือสถานที่อื่น ๆ ไปส่งยังโรงพยาบาลปลายทาง ซึ่งมีรถเพื่อใช้ในการรับส่งผู้ป่วยถึง 15 คัน มีตั้งแต่รถตู้ไปจนถึงรถขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่าโควิดบัส โดยภารกิจนี้มูลนิธิร่วมกตัญญูดำเนินการประสานข้อมูลกับกระทรวงสาธารณสุข,สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และศูนย์เอราวัณ รับส่งวันนึงไม่ต่ำกว่า 50 คน บางครั้งขนย้ายกันทีวันละกว่า 300 คน
ภารกิจดำเนินการร่างผู้เสียชีวิต เพื่อส่งชันสูตร และส่งประกอบพิธีทางศาสนา
ภารกิจเคลื่อนย้ายศพ 1 ทีมจะมี 6 คน เมื่อถึงที่เกิดเหตุทุกคนต้องอยู่ในชุดป้องกันการติดเชื้ออย่างมิดชิด สเปรย์แมนจะเดินนำฉีดพ่นยาไปตลอดทาง ในการบรรจุศพต้องใส่ถุงถึง 3 ชั้น แต่ละชั้นต้องพ่นยาฆ่าเชื้อ และขั้นตอนต่างๆ ไม่เหมือนกับการเก็บศพทั่วไป ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในทุกขั้นตอน
“ มีหลายเคสที่สะเทือนใจ มันจุกในอก มันเหนื่อยที่ใจ มีอยู่บ้านนึงทีมเข้าไปเก็บร่างผู้เสียชีวิต อีกไม่กี่วันทีมก็ต้องเข้าไปเก็บอีกร่างในบ้านหลังเดิม เจอแบบนี้หลายต่อหลายครั้ง มันดราม่ามากนะสำหรับคนทำงาน ” คำพูดจากพี่ยอด คนด่านหน้าที่ทำงานใกล้ชิดสถานการณ์ พี่ยอด อัญวัฒิ โพธิ์อำไพ เจ้าของรหัส นคร 45 หัวหน้ารถกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู เล่าประสบการณ์ที่หน้างานในฐานนะผู้ที่ลงพื้นที่ประชิดสถานการณ์วิกฤตโควิด จะสะท้อนอะไรได้บ้าง และนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างไร
ดูคลิปเต็มที่ลิงค์ด้านล่าง และสามารถติดตามรายการอยากเห็นเมืองไทยดีกว่านี้ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 10.00 น. ทางเนชั่นทีวีช่อง 22 และสปริงออนไลน์