svasdssvasds

ไปให้สุดกับ​ "ชัชชาติ" ลงพื้นที่ทันทีเป็นวันที่สอง

ไปให้สุดกับ​ "ชัชชาติ" ลงพื้นที่ทันทีเป็นวันที่สอง

"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ว่าที่ผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่เป็นวันที่สอง เพื่อดูการก่อสร้างอุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์ และสำรวจสภาพการจราจร

24 พ.ค.2565 นับเป็นวันที่สองติดต่อกันที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่ย่านตลาดพลู เพื่อดูการก่อสร้างอุโมงค์รัชดา-ราชพฤกษ์ และสำรวจสภาพการจราจร

โดยชัชชาติ กล่าวว่า หลังจากลงพื้นที่ดูปัญหาน้ำท่วม ที่คลองลาดพร้าวเมื่อวานนี้แล้วนั้น ปัญหาต่อไปก็คือการจราจร ในวันนี้จึงได้ลงพื้นที่บริเวณแยกรัชดา-ท่าพระ ซึ่งจุดนี้เป็นอุโมงค์ ซ่อมถนนและลอกท่อประปา รวมไปถึงนำสายไฟฟ้าลงดิน ที่ผ่านมามีการขยายสัญญามาโดยตลอด มีความล่าช้ามากว่า 600 วันแล้ว และตอนนี้ยังไม่คืบหน้า ทำให้การจราจรติดขัดยาวนาน วันนี้จึงได้พาว่าที่ส.ก. นายจิรเสกข์ วัฒนมงคล เขตธนบุรี พรรคเพื่อไทย และ นายวิรัช คงคาเขตร เขตบางกอกใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์ มาลงพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ซึ่งกทม.ต้องเร่งรัดในการจัดการจราจร ที่สำคัญการนำสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้านครหลวง มีการปิดพื้นผิวการจราจรที่ยังขรุขระ ส่วนจะเร่งรัดการทำโครงการได้มากแค่ไหนในวาระ 4 ปี ตนขอไปดูข้อมูล ดูรายละเอียดสัญญาก่อน เพราะมองว่าการล่าช้าเช่นนี้ต้องมีอะไรผิดปกติ และต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและให้ความเป็นธรรมกับประชาชน

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง

ส่วนกรณี การต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ยังไม่มีการพิจารณา จะเป็นเผือกร้อนหรือไม่ เนื่องจากครม.ยังรอความเห็นจากผู้ว่ากทม.คนใหม่ก่อนนั้น "ชัชชาติ" ระบุว่า คงไม่ เพราะทุกอย่างไม่ได้ใช้อารมณ์ แต่ใช้เหตุว่า จะต้องไปดูในรายละเอียด3เรื่องคือ เรื่องหนี้ เรื่องสัญญาเดินรถ และเรื่องการต่อสัญญา40ปี โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่งคงต้องถามกลับไปว่าทำไมถึงต้องต่อสัญญาสัมปทานถึง40ปี โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน เพราะมองว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน เป็นสิ่งที่ดี ที่มีคนนอกหน่วยงานมาดูแลไม่ใช่แค่คณะกรรมการชุดเล็กๆที่ตั้งขึ้นมา และมีการแข่งขันราคากัน จะได้เห็นราคาที่เป็นธรรมขึ้น และไม่ได้ที่อคติว่าผิดหรือถูก แต่เชื่อมั่นในระบบที่มี พ.ร.บ.ร่วมทุน ถ้าหากไม่ผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุน คือไม่เชื่อในระบบหรือไม่ และกรณีหนี้สินค่าก่อสร้างที่รัฐบาลโอนมาให้ กทม. กว่า 6หมื่นล้านผ่านขั้นตอนถูกต้องหรือไม่ และสภากทม.รับรองมีมติหรือยัง ซึ่งหากมีมติรับถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็ต้องว่าไปตามหลักการ รวมถึงสัญญาจ้างการเดินรถ ถูกกฎหมาย มี พ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ เพราะเป็นสัญญาจ้างระยะยาว

ทั้งนี้ กทม.คงไม่ได้ไปพูดคุยกับรัฐบาลโดยตรง แต่จะส่งหนังสือชี้แจงถึงความเห็นเข้าไปเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งก็กทม.เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจของรัฐบาล และมองว่าควรคิดให้รอบคอบก่อนเพราะถ้าผ่านครม.แล้วคงแก้ไขยาก

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง

ส่วนจะมีการใช้บัตรใบเดียวในการเชื่อมต่อการเดินทางหรือไม่ "ชัชชาติ" ระบุว่า บัตรใบเดียวสามารถเข้าทุกระบบได้นั้น ก็สามารถเป็นไปได้ แต่ที่กังวลคือโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม ที่มีความซ้ำซ้อน เพราะบัตรใบเดียวอาจจะจ่ายแพงเนื่องจากมีค่าแรกเข้า

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงพื้นที่วันที่สอง

related