ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
ราชสวัสดิ์ เป็นคำสอนที่สืบต่อกันมายาวนาน โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชบริพารและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ โดยมีการอธิบายว่ามีที่มาจาก “ราชวัสตี” แต่ด้วยการออกเสียง ราด-ชะ-วะ-สะ-ตี แบบแขกหรือแม้เปลี่ยนเสียงออกไทยเป็น ราด-ชะ-วัด-สะ-ดี แล้วก็ยังไม่คล่องปาก กอปรกับคงจะมีความเข้าใจผิดอะไรสักอย่าง จึงมีการเรียกขานชื่อเสียใหม่เป็น ราด-ชะ-สะ-หวัด
ที่มาของเรื่อง ราชวัสตี หรือ ราชสวัสดิ์ ได้รับมาจาก วิธุรชาดก เป็นคำสอนของวิธุรบัณฑิตสำหรับข้าราชการที่สืบทอดในวรรณกรรมคำสอนของไทย และปรากฏในวรรณคดีคำสอนของไทยอีกหลายเรื่อง เช่น โคลงพาลีสอนน้อง โคลงราชานุวัตร พาลีสอนน้องคำกลอน โดยที่ความนั้นตรงกับ ขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 15 ขุนแผนต้องพรากนางลาวทอง ซึ่งเป็นคำสอนของนางทองประศรีที่สอนพลายแก้วก่อนไปรับราชการว่าการเป็นข้าราชการต้องรักษาราชสวัสดิ์ 10 ประการ ให้จงดี จึงจะมีความก้าวหน้าในชีวิตราชการ ดังความว่า
โบราณว่าเป็นข้าจอมกษัตริย์ ราชสวัสดิ์ต้องเพียรเรียนรักษา
ท่านกำหนดจดไว้ในตำรา มีมาแต่โบราณช้านานครัน
หนึ่งวิชาสามารถมีอย่างไร ไม่ปิดไว้ให้ท่านทราบทุกสิ่งสรรพ์
หนึ่งกล้าหาญทำการถวายนั้น มุ่งมั่นจนสำเร็จเจตนา
หนึ่งมิได้ประมาทราชกิจ ชอบผิดตริตรึกหมั่นศึกษา
หนึ่งสัตย์ซื่อถือธรรมจรรยา เหมือนสมาทานศิลไว้ให้มั่นคง
หนึ่งเสงี่ยมเจียมตัวไม่กำเริบ เอื้อเอิบหยิ่งเย่อเพ้อหลง
หนึ่งอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ไม่ทำเทียมด้วยทะนงพระกรุณา
หนึ่งไซร้ไม่ร่วมพระราชอาสน์ ด้วยอุบาทว์จัญไรเป็นหนักหนา
หนึ่งเข้าเฝ้าชาวในไม่พันพัว เล่นหัวผูกรักสมัครสมาน
หนึ่งสวามิภักดิ์ใคร่ในภูบาล ถึงถูกกริ้วทนทานไม่ตอบแทน
การที่ความตรงกันเช่นนี้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเนื้อความช่วงดังกล่าวคณะบรรณาธิการจัดทำต้นฉบับขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุดฯ ได้อัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ของ ร.6 ไปลงไว้ในเรื่อง หรือแท้ที่จริงแล้ว ร.6 ทรงตัดความในขุนช้างขุนแผนฉบับเดิมมาให้ข้าราชสำนักได้อ่านให้เกิดความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่สนองราชกิจ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โปรดเกล้าฯ ถอดฐานันดรศักดิ์-ยศทหาร เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา เจ้าคุณพระสินีนาฏฯ
ประวัติ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขอบคุณภาพ : โรงเรียนพลาธิการ กรมพลาธิการทหารเรือ