ศิลปะบนฝาท่อกทม. รุ่นใหม่ จะเป็นการนำเทคโนโลยีและศิลปะมาพัฒนาเมืองผ่านประติมากรรม กทม.จับมือ สกสว และมหาวิทยาลัยศิลปากรประชุมหารือการวางฝาท่อรุ่นสื่อสารวัฒนธรรมในย่านเยาวราช-เจริญกรุง สามารถสแกนข้อมูลเพิ่มเติมจากคิวอาร์โค้ดมีให้เลือก 3 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ และจีน
(11 ส.ค.65) เวลา 14.30 น. : นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมหารือเรื่องการขยายผลงานวิจัย โดยนำเทคโนโลยีและศิลปะมาพัฒนาเมืองผ่านประติมากรรม ซึ่งมีขอบเขตพื้นที่ที่ศึกษา คือ เยาวราช-เจริญกรุง และสำเพ็ง โดยใช้แผนที่ทางวัฒนธรรม โดยมีนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ลัษมณ อรรถาพิช ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รศ.จักรพันธ์ วิลาสินีกุล นักวิจัยจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือ ณ ห้องอัมรินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
NIA แลกเปลี่ยนแนวคิด "ชัชชาติ" ปั้นกรุงเทพสู่เมืองนวัตกรรมระดับนานาชาติ
ชัชชาติ พบปัญหา 83 สถานบันเทิง เล็ง ”ตลาดกีบหมู” โมเดลรวมช่างฝีมือแรงงาน
กทม. จ่อผ่อนคลายให้ นักเรียน แต่งชุดไปรเวท 1 วัน ป้องกันการบูลลี่
สำหรับแผนงานวิจัยดังกล่าวได้ดึงนักวิจัยชั้นนำของมหาวิทยาลัยศิลปากรจากหลายสาขามาร่วมดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามจนได้ข้อมูลที่กทม.สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจากข้อมูลของยูเนสโกเกี่ยวกับอาคารเก่าทรงคุณค่าและโบราณสถาน การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัตถุดิบอาหาร และเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของอัตลักษณ์ของย่านเยาวราช-เจริญกรุง ที่จะดึงมาใช้เพื่อสื่อสารผ่านศิลปะได้มี 4 ประเภท คือ
โดยประติมากรรมผ่านฝาท่อดังกล่าวจะต้องรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของเยาวราชควบคู่กับการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน พร้อมกับข้อมูลในรูปแบบคิวอาร์โค้ดซึ่งสามารถสื่อสารได้ 3 ภาษา คือ ไทย อังกฤษ และจีน เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาข้อมูลผ่านคิวอาร์โค้ดบนฝาท่อ นอกจากนี้ยังจัดการฐานข้อมูลและพัฒนาให้คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้งานในเว็บไซต์และแผนที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Map) ได้ ทั้งนี้ รศ.จักรพันธ์ได้เสนอว่าระยะต่อไปเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองน่าจะมีมากกว่าสตรีทอาร์ต ตลอดจนการเข้าไปสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วิทยาการและการศึกษา ซึ่งคณะวิจัยพร้อมที่จะมอบข้อมูลในคิวอาร์โค้ดและเว็บไซต์ให้กทม.เป็นผู้ดูแลต่อไป
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ข้อเสนอแนะว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างมูลค่าให้กับประติมากรรมดังกล่าว ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวเข้าใจลึกซึ้งถึงเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้มีความน่าสนใจและเสพข้อมูลได้ง่าย เช่น ทำข้อมูลติดไว้ในบริเวณพื้นที่ติดตั้งฝาท่อ หรือทำเป็นพิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของพื้นที่ดังกล่าวได้
ด้านนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องการให้มีการสนับสนุนคนท้องถิ่นดั้งเดิมในชุมชนย่านนั้นให้รวมตัวกันเพื่อร่วมให้ข้อมูลของชุมชน รวมถึงร่วมดูแลและสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนร่วมกันด้วย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านฐานข้อมูลที่สำคัญและเป็นการร่วมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ย่านดังกล่าวให้คงอยู่ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครและนักวิจัยจะร่วมกันสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในย่านเยาวราช-เจริญกรุง เพื่อร่วมการจัดทำออกแบบฝาท่อและจุดพื้นที่วางประติมากรรมดังกล่าวอย่างเหมาะสมต่อไป