svasdssvasds

ผลวิจัยชี้ ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% พบสถิติดื่มเข้าห้องฉุกเฉินเพียบ!

ผลวิจัยชี้ ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% พบสถิติดื่มเข้าห้องฉุกเฉินเพียบ!

คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. จัดเวทีสุขภาพ “คุยเรื่องเหล้า จากคำบอกเล่าของหมอ” ผลวิจัยชี้! ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% เปิดสถิติห้องฉุกเฉิน 50% มีค่าแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกฎหมายกำหนด หนุน SDGs ชวนบุคลากร-ประชาชน ลดดื่ม ลดเสี่ยง

ผศ.นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวในงานเวทีสุขภาพ “คุยเรื่องเหล้า จากคำบอกเล่าของหมอ” เพื่อสร้างความตระหนักในพิษภัยจากการดื่มเหล้าทั้งในมิติทางสุขภาพและสังคมว่าค่านิยมสังคมไทยที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับบริบททางสังคมที่มีแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) ทั้งในสังคมไทย และที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ อาจนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดแนวคิดเชิงบวกต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านสื่อภาพยนตร์และสื่อโซเชียลต่าง ๆ หากมองในแง่การขับเคลื่อนงานป้องกันและควบคุมปัญหาเหล้าระดับประเทศเพื่อความยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลาน จึงไม่อาจเลี่ยงความจริงที่ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นับเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักถึง 13 ใน 17 เป้าหมาย ส่งผลเสียต่อการพัฒนาทั้งมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หลักฐานทางวิชาการทั้งในประเทศและทั่วโลกชี้ชัดว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าในรูปแบบใด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างแน่นอน

ผลวิจัยชี้ ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% พบสถิติดื่มเข้าห้องฉุกเฉินเพียบ!

รศ.พญ.ณัยชญา จำรูญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาอายุรศาสตร์ หน่วยโรคระบบทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การดื่มสุราเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคตับ ซึ่งมีความรุนแรงของโรคที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะตับแข็ง ตับวายและมะเร็งตับ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกปี 2020 พบว่า มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับแรก โดยมีผู้ป่วยมะเร็งตับ 27,394 คน และเสียชีวิต 26,704 คน ข้อมูลในไทยจากหลายการศึกษารายงานว่า การดื่มสุราเป็นสาเหตุของการเกิดตับแข็ง 14-73% สำหรับภาวะอื่นๆ ของโรคตับที่สัมพันธ์กับการดื่มสุรา เช่น ภาวะตับคั่งไขมัน (alcoholic fatty liver disease) หรือภาวะตับอักเสบเรื้อรัง การคาดคะเนอุบัติการณ์ทำได้ยาก เนื่องจากความรุนแรงของอาการต่ำจนถึงไม่มีอาการในบางราย จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่ามีการเจ็บป่วยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ ในการซักประวัติคัดกรองผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของเราว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับที่สัมพันธ์ต่อการดื่มสุราหรือไม่

ผลวิจัยชี้ ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% พบสถิติดื่มเข้าห้องฉุกเฉินเพียบ!

“การดื่มสุรายังมีผลต่อระบบการย่อยอาหารมีความผิดปกติในการบีบตัว การทำงานของลำไส้ และทำให้ความสามารถในการป้องกันเชื้อโรคเสื่อมลง และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากมะเร็งตับอีกด้วย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดการดื่มเหล้าได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของระบบทางเดินอาหารและตับมากขึ้นเท่านั้น” รศ.พญ.ณัยชญา กล่าว

ผลวิจัยชี้ ดื่มเหล้า เสี่ยงตับแข็ง 14-73% พบสถิติดื่มเข้าห้องฉุกเฉินเพียบ!

นพ.ไวณิก สุขมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า จากการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินตั้งแต่ปี 2549-2567 ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ พบว่า จากการส่งตรวจค่าแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ป่วยทั้งหมด ประมาณครึ่งหนึ่งมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด และยิ่งระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงขึ้น ยิ่งมีแนวโน้มทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น จึงสรุปได้ว่า การดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มสัมพันธ์กับอัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอย่างชัดเจน ซึ่งการสวมหมวกนิรภัยสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ

related