svasdssvasds

‘กรุงศรี’ กับ ‘ESG Finance’ ผลักดันภาคเอกชนและประเทศเดินหน้าอย่างยั่งยืน

‘กรุงศรี’ กับ ‘ESG Finance’ ผลักดันภาคเอกชนและประเทศเดินหน้าอย่างยั่งยืน

สถาบันการเงิน มีบทบาทสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ผ่านการทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินจากผู้ออมเงินไปยังผู้กู้ที่ต้องการใช้เงินทุน โดยคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และอยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ดี ESG

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือแบงก์ "กรุงศรี" ในฐานะสถาบันการเงิน ให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" พยายามผลักดันและให้การสนับสนุนแก่โครงการเพื่อสังคมและความยั่งยืน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาตลาดการเงินด้านความยั่งยืนในประเทศไทยให้เติบโต

พัฒนาผลิตภัณฑ์ ESG Financing

"แจ่มจันทร์ ศิริกาญจนาวงศ์" ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจหลักทรัพย์ตราสารหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงภาพรวมของการลงทุนด้าน ESG ซึ่งเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความอยู่รอดและความสามารถในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

ทางกรุงศรี ได้ดึงศักยภาพของบริษทแม่ "มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป" หรือ MUFG หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ที่มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Declaration) เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆ และมีการดูแลในแง่ของการให้ข้อมูล พร้อมทั้งเสริมเรื่องของ International Standard ของประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางด้าน ESG

ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของนโยบายและการผลักดันของภาครัฐ กรุงศรีมีการออกผลิตภัณฑ์ทางด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง อาทิ การปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม การออก Sustainability Bond หรือพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนครั้งแรก การเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกหุ้นกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม

 

ส่วนด้านมิติสินเชื่อ ตอนนี้นอกจากบริษัทขนาดใหญ่แล้ว ในกลุ่มเอสเอ็มอี กรุงศรีก็ได้ให้สินเชื่อเพื่อดูแลในด้านของการติดตั้งโซลาร์เซลล์และ EV Charging Station เพื่อให้ตอบโจทย์ ESG Environment

‘กรุงศรี’ กับ ‘ESG Finance’ ผลักดันภาคเอกชนและประเทศเดินหน้าอย่างยั่งยืน

สนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน BEM

ปีที่ผ่านมา กรุงศรี เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้กลุ่มลูกค้าธุรกิจประสบความสำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนผ่านดีลสำคัญมากมาย อาทิ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Loan: SL) และร่วมจัดจำหน่ายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน มูลค่าเสนอขายรวม 4,500 ล้านบาท

"อนวัช สุวรรณฤทธิ์" รองกรรมการผู้จัดการ งานพัฒนาธุรกิจและปฏิบัติการทางพิเศษ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า โครงการธุรกิจหลักของ BEM เป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเบื้องต้นภาครัฐได้มีการพิจารณาถึงผลดีผลเสียที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและสังคมตั้งแต่ริเริ่มโครงการ BEM ในฐานะผู้ลงทุน ก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายต่างๆ เหล่านั้น

นอกจากนี้ BEM ยังมีการพัฒนาต่อยอดภายใต้เฟรมเวิร์คของ ESG หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยดูว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นไปได้อีก และจะลดการใช้พลังงานได้อย่างไร

ในแง่ของการดำเนินงานด้าน ESG กรุงศรีได้เข้ามามีบทบาท โดย "ธงชัย วาจาพัฒนา" ผู้บริหารสายงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เล่าว่า กรุงศรีได้เริ่มแนะนำ Sustainable Finance ให้กับ BEM โดยการทำงานร่วมกับ MUFG บริษัทแม่ของกรุงศรี และช่วยร่าง Sustainability Financing Framework ที่ใช้เป็นกรอบในการวางแผนทางด้าน ESG เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางด้าน ESG ด้วย โดยกรุงศรีได้ประสานงานกับผู้ชำนาญการพิเศษ หรือ Second Party Opinion ในการที่จะ Verify และสอบทานว่ามาตรฐานตัวเฟรมเวิร์ค inline กับ international Standard หรือไม่

ในปี 2564 กรุงศรีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการจัดจำหน่ายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักลงทุนถึง  4.7 เท่าของความต้องการ และหุ้นกู้ชุดนี้ยังได้รับรางวัล Best Sustainability Bond จาก  The Asset Triple Award ในปี ค.ศ. 2021 อีกด้วย

จากนั้นกรุงศรีมีการออกหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนอีกครั้ง ในปี 2565  โดยนอกจากเรื่องหุ้นกู้ ทางกรุงศรียังทำสินเชื่อ Sustainability Loan (SL) ให้กับ BEM ซึ่งถือเป็น Loan ครั้งแรกในแง่ ESG ที่กรุงศรีให้กับบริษัท

‘กรุงศรี’ กับ ‘ESG Finance’ ผลักดันภาคเอกชนและประเทศเดินหน้าอย่างยั่งยืน

สร้างนวัตกรรมการเงินส่งเสริมไทยยูเนี่ยน

 

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งลูกค้าสำคัญที่กรุงศรีให้การสนับสนุน การออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bonds: SLBs) เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และการกู้ยืมจากสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loans: SLLs) ในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

"ยงยุทธ เสฏฐวิวรรธน์" กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการบริหารการเงินกลุ่มและศูนย์บริการร่วมทางการเงิน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยยูเนี่ยน ดำเนินงานผ่านกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่เรียกว่า SeaChange® ซึ่งครอบคลุมมิติต่างๆ ในการทำธุรกิจอาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการแหล่งวัตถุดิบที่ถูกต้องและโปร่งใส หรือการดำเนินงานทางด้านโรงงานที่มีความรับชอบต่อสิ่งแวดล้อม

รวมไปถึงการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability-Linked Financings) โดยในปี 2564 ไทยยูเนี่ยนได้ปรับเปลี่ยนการจัดหาเงินทุนในรูปแบบดั้งเดิมไปสู่ “Blue Finance” ซึ่งเป็นการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อมหาสมุทรและอุตสาหกรรมอาหารทะเลโดยรวม

"ศรัณย์ ศศะนาวิน" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรุงศรี เข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดัน เงินกู้ Sustainability-Linked Loans: SLLs สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2564 หลังจากนั้น ได้มีการระดมทุนตลาดตราสารหนี้ Sustainability-Linked Bonds: SLBs ให้กับทางไทยยูเนี่ยน ซึ่ง SLBs ตราสารหนี้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนนี้ ถือเป็นฟีเจอร์แรกของโลก ที่มีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นและลง ที่ขึ้นอยู่กับ performance หรือ KPIs ที่ทางไทยยุเนี่ยนเป็นคนตั้งขึ้นมา

‘กรุงศรี’ กับ ‘ESG Finance’ ผลักดันภาคเอกชนและประเทศเดินหน้าอย่างยั่งยืน

ESG สำคัญต่อโลกธุรกิจอย่างไร

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ทั้งสถาบันการเงิน และภาคเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG...ทำไม ESG จึงสำคัญต่อโลกธุรกิจ?

หลายภาคส่วนกำลังปักธงและมีการกำหนดอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายและกลไกช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟุตปรินต์ เพื่อหากลยุทธ์การสร้างธุรกิจที่ไม่ทำลายโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้เพียงมุ่งเน้นผลกำไรสูงสุด แต่เพื่อธุรกิจและสังคมพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

"เกียรติชาย ไมตรีวงษ์" ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) หรือ TGO อธิบายว่า ESG (Environment, Social, และ Governance) เป็นมาตรการที่ทำให้นักลงทุนมามองเรื่อง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ก่อนที่เขาจะลงทุน เหตุเพราะปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพ

ภูมิอากาศ คือความเสี่ยงระดับแรกๆ ของโลก ดังนั้น จึงมีการนำเรื่อง ESG Compliance มาใช้กับนักลงทุน เพื่อหวังผลักดันให้มาตรการลงทุนของนักลงทุนที่ไปลงทุนในประเทศต่างๆ และองค์กรต่างๆ ใส่ใจเรื่องนี้ และหันมาปรับตัวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบัน เรื่องของก๊าซเรือนกระจก กำลังกลายเป็นประเด็นทางการค้า (Non-tariff barrier) ที่ทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ ต้องตื่นตัว

ประเทศไทยเอง รัฐบาลได้ประกาศเป้าหมาย Net Zero และ เป้าหมาย Carbon Neutrality เพื่อให้ไทยยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องเตรียมที่จะออกกฎเกณฑ์ สำหรับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การกระตุ้นการบริหารจัดการขยะ การดูแลเรื่องผลิตไฟฟ้า การทำ Circular Economy การรณรงค์ปลูกป่า รวมถึงการให้ Incentive เพื่อส่งเสริมให้เกิดโครงการดีๆ ไม่ว่าจะเป็น การ Subsidize ภาษี หรือ เงินทุน เป็นต้น

“กรุงศรี ESG DNA” กับการเป็น Responsible Banking

 

จากแนวทางข้างต้น จะเห็นว่า การขับเคลื่อนการลงทุนด้าน ESG ของกรุงศรี ถือว่าสอดรับกับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องการดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ธนาคารกรุงศรี ได้วางรากฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างหรือการออกผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม หรือ ESG Financing เพื่อดูแลการดำเนินงานของบริษัทต่างๆ ที่เป็นคู่ค้าหรือพันธมิตรโดยนำมิติด้านสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การดำเนินงาน

ส่วนรากฐานทางด้าน Thailand Taxonomy ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมสำหรับประเมินการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทางแบงก์ชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ รวมถึง TGO หรือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกด้วย โดยมีการพิจารณาว่า ธุรกิจไหน ที่ธนาคารจะให้การสนับสนุนได้ และธุรกิจไหนที่ต้องลดการสนับสนุนลง เพื่อให้ทุกคน ทำงานในมิติด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

อีกหนึ่งส่วนสำคัญคือ การวางรากฐานเรื่องการเก็บข้อมูล ซึ่งหลายๆ บริษัทยังไม่มีการเก็บข้อมูลละเอียดถี่ถ้วน หรือยังกระจัดกระจาย ทางกรุงศรี ได้ร่วมกับสตาร์ทอัพ บริษัท Zero Board ในการดูแลข้อมูลต่างๆ โดยจัดเก็บไว้ใน iCloud System เพื่อให้การเก็บข้อมูลต่างๆ ของบริษัท ในแง่ของการคำนวณ Carbon เป็นระเบียบมากขึ้น ขณะเดียวกัน กรุงศรีก็สามารถช่วยวิเคราะห์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการเงิน เพื่อตอบโจทย์ในการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้อีกด้วย

"แจ่มจันทร์" ย้ำว่า เรื่องของ ESG เป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้น เพราะฉะนั้น กรุงศรีจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร พัฒนาศักยภาพของพนักงาน ที่เรียกว่า Center of Excellence หรือ ESG of Excellence ของธนาคารอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างบุคลากรของธนาคารกรุงศรี ให้มีคำว่า กรุงศรี ESG DNA เพื่อผลักดันให้กรุงศรีเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนภาครัฐ ทำหน้าที่เป็น Responsible Banking หรือเป็นแบงก์ที่ทำคุณงามความดีให้กับประเทศ ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยภาคเอกชนทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี ให้เดินหน้าเรื่อง ESG ได้อย่างเต็มที่

 

related