มติเอกฉันท์! ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้กฎหมายแพ่งพาณิชย์ ที่ให้สามี-ภริยาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากชู้ ขัดรัฐธรรมนูญ กำหนดบังคับให้คำวินิจฉัยมีผล เมื่อพ้น 360 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัย
จากกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า ประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 4/2567)
ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 233 (3) ว่า ประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า
"สามีจะเรียกค่าทดแทนจาก ผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้" มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่
ผลการพิจารณา ศาลรัฐรรรมนูญ มีมติเป็นอกฉันท์วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีปัญหากี่ยวกับความชอบด้วยรัฐรรรมนูญ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และ วรรคสาม และกำหนดคำบังคับให้คำวินิจฉัยมีผลเมื่อพ้น 360 วัน นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ด้าน พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่น กล่าวชี้แจงในฐานะที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ยื่นคำร้องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นร้อง เพราะเห็นว่า ถ้อยคำในบทบัญญัติดังกล่าวมีปัญหาทำให้สามีจะฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก "ชู้" เพศใดก็ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าภริยาจะสมัครใจหรือไม่ และไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า เป็นการแสดงความสัมพันธ์โดยเปิดเผยหรือไม่
ในขณะที่หากเป็นฝ่ายภรรยา จะฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากคนที่มาเป็นชู้กับสามีของตน ได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น "ผู้ชายที่มาเป็นชู้กับสามีตนภรรยาฟ้องไม่ได้" อีกทั้งถ้าชู้ของสามีเป็นหญิง ยังมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นหญิงที่แสดงความสัมพันธ์ในทางชู้สาวโดยเปิดเผย ถ้าคบกันหลบๆ ซ่อนๆ ไม่เปิดเผยจะไปเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัย โดยเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ที่กำหนด บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องเพศจะกระทำมิได้ และส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วกระบวนการหลังจากนี้ จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการแก้ไขข้อกฎหมายตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร เมื่อครบ 360 วัน จะส่งผลให้สามารถฟ้องชู้เพศเดียวกันของสามีได้ ตามคำวินิจฉัยของศาล
ทั้งนี้มีรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มาตรา 49 ที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ได้ระบุยกเลิก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 ทั้งมาตราแล้ว โดยระบุ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น
"คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปในทำนองชู้ หรือจากผู้ซึ่งแสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งในทำนองชู้ก็ได้"
เป็นการแก้ไขคำจาก ผู้ซึ่งล่วงเกินสามี/ภรรยา (ชู้) เป็นผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรส เพื่อให้ครอบคลุมทุกเพศตามหลักการของกฎหมายสมรสเท่าเทียม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง