วันเข้าพรรษา 2567 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม หรือแรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันที่พระสงฆ์อยู่จำวัดตามพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลา 3 เดือน เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา "วันเข้าพรรษา 2567" เป็นวันที่พระสงฆ์อยู่จำวัดตามพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลา 3 เดือน จึงจัดให้มีประเพณีถวายเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน เพื่อเตรียมเครื่องนุ่งห่มอันจำเป็นสำหรับพระภิกษุสงฆ์ให้มีไว้ใช้ตลอดการอยู่จำพรรษา
ในอดีตเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนได้มีพระภิกษุจำนวน 1,500 รูปได้ออกไปตามสถานที่ต่างๆและไปเหยียบข้าวกล้าในนาของชาวบ้านเสียหาย
พระพุทธเจ้ารู้ถึงปัญหาจึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา เป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน นอกจากเป็นการแก้ปัญหาพระภิกษุเหยียบพืชพรรณของชาวบ้านเสียหายแล้ว ยังเป็นโอกาสให้พระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย แลกเปลี่ยนความเห็นในหมู่คณะเป็นการสร้างความสามัคคีไปในตัวด้วย
พุทธศาสนิกชนมีการกระทำบุญตักบาตรกัน 3 วัน คือวันขึ้น 14 - 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 และขนมที่นิยมทำกันในวันเข้าพรรษาได้แก่ ขนมเทียน และท่านสาธุชนที่มีความเคารพนับถือพระภิกษุวัดใด ก็จัดเครื่องสักการะ เช่น น้ำตาล น้ำอ้อย สบู่ แปรง ยาสีฟัน พุ่มเทียน เป็นต้น นำไปถวายพระภิกษุวัดนั้น ยังมีสิ่งสักการะบูชาที่พุทธศาสนิกชนนิยมกระทำกันเป็นงานบุญน่าสนุกสนานอีกอย่างหนึ่งคือ "เทียนเข้าพรรษา" บางแห่งจะมีการบอกบุญเพื่อร่วมหล่อเทียนแท่งใหญ่ แล้วแห่ไปตั้งในวัดอุโบสถ เพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยตลอด ๓ เดือน การแห่เทียนจำนำพรรษาหรือเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นงานเอิกเกริก มีฆ้องกลองประโคมอย่างสนุกสนาน และเทียนนั้นมีการหล่อหรือแกะเป็นลวดลายและประดับตกแต่งกันอย่างงดงาม
เทศการเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นเทศกาลพิเศษ พุทธศาสนิกชนจึง ขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนตั้งใจรักษาอุโบสถตลอด 3 เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่าง พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้นการกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และคนอาศัยสาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณเลิกละอายมุกและความชั่วสามานย์ต่างๆ โดยตลอดไป จึงนับเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องสรรเสริญและได้รับสิ่งอันเป็นมงคล
ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ "วิรัติ"คำว่า "วิรัติ" หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความสงบสุขปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปวิรัติ การงดเว้นจากบาปนั้น จำแนกออกได้เป็น ๓ ประการ คือ
ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง