SHORT CUT
10 ประเทศใกล้สวรรค์ มี 'ตึกระฟ้า' จำนวนมากที่สุดในโลก พลเมืองเหมือนได้อยู่ใกล้สวรรค์ กรุงเทพฯ ติดอันดับด้วย
รู้หรือไม่ ตึกระฟ้า มากกว่า 80% ของโลกอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เพราะความหนาแน่นของประชากรในประเทศเหล่านี้กระตุ้นให้ต้องสร้างตึกสูงมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ของโลก
“ตึกระฟ้า (Skyscraper)” คืออาคารสูง ที่สามารถอยู่อาศัยได้หลายชั้น โดยอาคารประเภทนี้เริ่มก่อสร้างครั้งแรกในช่วงทศวรรษปี 1880 ซึ่งมีแค่ 10-20 ชั้นเท่านั้น แต่เมื่อความก้าวหน้าทางวิศวกรรมทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นไปได้ ตึกระฟ้า ในปัจจุบันจึงหมายถึงอาคารที่สูงอย่างน้อย 100 - 150 เมตร ขึ้นไป
ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมต้องสร้างตึกระฟ้าเพิ่มขึ้น? คำตอบง่ายๆ คือ เพื่อให้สอดคล้องกับประชากรเมืองที่เพิ่มมากขึ้น เพราะหลายประเทศเมืองใหญ่คือสถานที่แห่งโอกาสในการมีงานที่ดีทำ และการสร้างอาคารสำนักงาน โรงแรม หรือคอนโด ที่มีความสูง และสามารถรองรับคนได้จำนวนมาก จะช่วยให้เมืองนั้นเกิดความคึกคัก คนย้ายเข้ามาอยู่ เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยว .
นอกเหนือจากนั้น ในแง่ของสิ่งแวดล้อม ตึกระฟ้าถูกมองว่าเป็นการสร้างเมืองแบบยั่งยืน และช่วยลดขยะในระยะยาว เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในห้องขนาดกะทัดรัด พวกเขาจะสะสมวัตถุน้อยลง และไม่สนใจซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น
และในเรื่องความสวยงาม ตึกระฟ้าคือชิ้นส่วนประดับเมืองที่สำคัญ เพราะช่วยให้เมืองดูทันสมัย มีความศิวิไลซ์ และดูเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค ซึ่งส่งผลดีต่อเมืองนัhนในหลายมิติ
ตามข้อมูลของ Council on Tall Buildings and Urban Habitat (CTBUH) เว็บไซต์สำรวจการเติบโตของเมืองทั่วโลก พบ 10 ประเทศที่มีจำนวนตึกสูงเกิน 150 เมตร มากที่สุดดังนี้
ทั้ง 10 ตึกอยู่ในกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม แม้ตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะมีการออกแบบที่ดี และไม่ค่อยถูกร้องเรียนเรื่องปัญหาต่างๆ เท่าไหร่นัก แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้สร้างยังแก้ไม่หายคือ ผู้ที่อยู่ชั้นสูงๆ จะมีอาการคล้ายเมาเรือ เพราะบนยอดอาคารจะแกว่งไปมา ถ้าหากเกิดเพลิงไหม้ ก่อการร้าย หรือแผ่นดินไหว ตึกระฟ้าจะเป็นจุดอันตรายที่สุดทันที เพราะเป็นอาคารที่คนกระจุกตัวอยู่มาก การอพยพลี้ภัยทำได้ยากและช้ากว่าอาคารขนาดเล็กหลายเท่า และถ้าตึกถล่มจากการถูกโจมตี หรือภัยธรรมชาติ ย่อมหมายถึงต้องมีผู้เสียชีวิตนับร้อยคนอย่างเลี่ยงไม่ได้
ส่วนในเรื่องของความรู้สึก การมีตึกสูงจำนวนมาก แต่มีพื้นที่สีเขียวน้อย และมองไปทางไหนแล้วเห็นแต่ยอดตึกสูงบังเส้นขอบฟ้า ก็อาจทำให้จิตใจเศร้าหมอง หดหู่ ไม่มีความสุขได้ เพราะไม่ว่าบ้านเมืองจะเจริญไปสักแค่ไหน มนุษย์ก็ต้องมีช่วงเวลาที่ได้อยู่ใกล้ธรรมชาติบ้าง
ยิ่งไปกว่านั้นการสร้างตึกสูง ย่อมทำให้พื้นดินของเมืองทรุดลงทุกปี ยกตัวอย่างเช่น นิวยอร์ก จากจาการ์ตา เม็กซิโกซิตี้ ฯลฯ ก็กำลังเผชิญกับปัญหาพื้นดินทรุดลงเรื่อยๆ และเสี่ยงที่จะกลายเป็นเมืองจมน้ำ จากปัญหาภาวะโลกร้อนในอนาคต
ดังนั้น 'ผู้นำประเทศ' ไม่ควรเพิ่มจำนวนตึกระฟ้าเพียงอวดนานาชาติ แต่ควรสร้างโดยพิจารณาจาก ศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตัวเองเป็นสำคัญ
ที่มา Skyscraper Center
ข่าวที่เกี่ยวข้อง