SHORT CUT
เผยรายชื่อประเทศที่น้ำประปาสะอาด สามารถใช้ดื่มได้ ที่ได้รับการรับรองจาก "ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ" หรือ "CDC"
เพราะน้ำมีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ และหากไม่มีน้ำ เราก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ดังนั้นน้ำควรเป็นสิ่งที่หาดื่มได้ง่าย ไม่แพง และต้องสะอาดอยู่เสมอ
เนื่องในโอกาสที่วันนี้ (22 มี. ค. 67) เป็นวันน้ำโลก ทีม SPRiNG จึงขอพามาดูว่าบนโลกนี้มีประเทศใดบ้าง ที่ประชาชนสามารถดื่มน้ำจากระบบน้ำประปาได้ ซึ่งมีรายชื่อดังนี้
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปยุโรป
ทวีปเอเชีย
ทวีปออสเตรเลีย
โดยประเทศเหล่านี้ ได้รับการรับรองจาก ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ หรือ CDC น้ำประปาสามารถดื่มได้ ซึ่งหมายความว่าปลอดภัยสำหรับการดื่ม เตรียมอาหาร แปรงฟัน และทำเป็นน้ำแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ยกเว้นบางประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นรัฐโซเวียตในอดีต และอีกสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกคือ จีนและอินเดีย
การที่ประเทศน้ำประปาสะอาดกระจุกตัวอยู่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ เป็นข้อพิสูจน์ว่าการรักษาน้ำประปาให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอนั้น มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในระดับหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีคนไม่ถึง 1 พันล้านคนที่สามารถดื่มน้ำจากก๊อกในบ้านได้
ในทางกลับกัน ข้อมูลของ CDC ยังเผยว่า ทั่วโลกมีคนอย่างน้อย 2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศรายได้น้อย และการไม่มีน้ำสะอาดให้ดื่มอย่างเพียงพอเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของ 6 คน จากทุก 100 คนอีกด้วย
อ้างอิงจาก Rocket Media Lab ประเทศที่น้ำประปาดื่มได้จะต้องมีการการันตีแรงดันขั้นต่ำ หรือค่า PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) พูดง่ายๆ คือ แรงดันขั้นต่ำจะบ่งบอกว่าน้ำที่เปิดโดยระบบประปานั้นจะสามารถพุ่งขึ้นไปในแนวตั้งได้กี่เมตร ซึ่งจะเป็นค่ามาตรฐานของประเทศนั้นๆ เพราะแรงดันที่สูงจะช่วยล้างและดันสิ่งสกปรกไม่ให้เข้ามาภายในท่อได้ และจะทำให้น้ำสะอาดดื่มได้
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีการตั้ง ‘แรงดันขั้นต่ำให้อยู่ที่ 14 เมตร หากต่ำกว่า 14 เมตร ทางการจะแนะนำให้ต้มน้ำเพื่อใช้ในการดื่มทันที และหากต่ำกว่า 3.5 เมตร จะต้องล้างน้ำประปาคงค้างให้หมดและเก็บตัวอย่างโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ใช้บ่งชี้คุณภาพความสะอาดของน้ำ
ส่วนใน อังกฤษที่มีระบบประปาเป็นชาติแรกๆ ของโลก และยังคงใช้ท่อประปาที่มีอายุกว่า 100 ปีอยู่ แต่สามารถกำหนดค่าแรงดันขั้นต่ำได้ เพื่อให้น้ำประปาที่สามารถดื่มได้ ซึ่งมีการตั้งไว้ที่ 10-14 เมตร แต่หากตรวจสอบเจอว่าต่ำกว่านั้น ผู้ให้บริการจ่ายน้ำจะต้องจ่ายค่าปรับแพงมาก
นอกเหนือจากเรื่องแรงดันแล้ว อุปกรณ์ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหัวของก๊อกต้องทำจากวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง และต้องอุปกรณ์ต่างๆ ต้องกันสนิม เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านั้นจะได้น้ำประปาที่สะอาดตลอดเวลา เพราะในบางฤดูกาล หรือบางพื้นที่โดยเฉพาะชนบท คุณภาพน้ำประปาก็อาจลงมาต่ำกว่าเกณฑ์ชั่วคราว และต้องใช้เวลาระยะหนึ่งถึงกลับมาดื่มได้
มีหลายปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยยังดื่มน้ำจากก๊อกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ท่อเก่า หัวก๊อกในบ้านมีหลายเกรด หลายราคา ซึ่งถ้าใช้ของไม่ดีก็ง่ายที่จะมีเชื้อโรคสะสม และเกิดการกัดกร่อนสีที่เคลือบจนละลายลงมาเป็นเจือปน
อีสาเหตุหลักคือ การประปานครหลวง จะพิจารณาแรงดันน้ำในแต่ละพื้นที่ แล้วสร้างเป็น Pressure Trend Curve เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจ่ายน้ำให้มีแรงดันที่เหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง โดยปลายเส้นท่อประธานต้องไม่ต่ำกว่า 6 เมตร ในขณะที่แรงดันน้ำในท่อจ่าย ที่เชื่อมไปยังอาคารต่างๆ จะลดลงไปตามระยะการไหล ซึ่งสุดลายท่ออาจเหลือแค่ 2-3 เมตร และอาจต่ำลงไปอีกในบางพื้นที่ จึงทำให้แรงดันน้ำของไทยโดยรวมต่ำมาก
การประปานครหลวง จะพิจารณาจากปริมาณความต้องการน้ำในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละพื้นที่ให้บริการ แล้วสร้างเป็น Pressure Trend Curve เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจ่ายน้ำให้มีแรงดันที่เหมาะสมตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีการควบคุมแรงดันน้ำที่ตำแหน่งปลายเส้นท่อประธานต้องไม่ต่ำกว่า 6 เมตร ในขณะที่แรงดันน้ำในท่อจ่าย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับท่อบริการเข้าไปยังสถานที่ใช้น้ำ ก็จะลดลงไปตามระยะทางในการไหลของน้ำเนื่องจากการสูญเสียพลังงานในเส้นท่อ โดยสุดท้ายแล้วที่ปลายท่ออาจจะลดลงไปอีก 2-3 เมตร และอาจจะต่ำลงอีกในบางพื้นที่และในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งทำให้แรงดันน้ำประปาของไทยยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ และทำให้น้ำที่ไหลออกมามีสิ่งปนเปื้อนออกมาด้วย
การที่แรงดันน้ำประปาของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำก็เป็นเพราะว่าต้องการลดการสูญเสียน้ำที่เกิดจากการรั่วซึมของท่อลำเลียง (อันเกิดจากคุณภาพของท่อและการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม) เพราะการที่น้ำมีแรงดันสูงก็จะทำให้น้ำรั่วออกไปมาก หากมีแรงดันต่ำ ปริมาณน้ำที่สูญเสียจากการรั่วก็จะน้อยลง ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีปริมาณการสูญเสียน้ำจากการรั่วมากเกินไป จึงมีการกดแรงดันให้ต่ำลง
ที่เป็นแบบนั้นเพราะ การประปานครหลวง ต้องการลดการสูญเสียน้ำที่เกิดรั่วเสียออกไป ซึ่งเป็นผลมาจากการวางท่อที่ไม่ดีมาก่อน ซึ่งถ้าน้ำมีแรงดันสูงจะรั่วออกไปเยอะ แต่ถ้าน้อยก็จะรั่วออกไปไม่มาก ทำให้ปัจจุบันอัตราการสูญเสียน้ำของการประปานครหลวงอยู่ที่ประมาณ 26.76% โดยในอดีตเคยมีระดับการสูญเสียน้ำสูงถึง 40%
แต่นั่นอาจดูเป็นแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะสุดท้ายก็ไม่รู้อยู่ดีว่าท่อตรงไหนที่รั่ว และการใช้แรงดันต่ำก็ทำให้ยากมากที่จะมีน้ำสะอาดไหลออกมา
ที่มา : Rocket Media Lab
ข่าวที่เกี่ยวข้อง