SHORT CUT
ในยุคสมัยนี้คำว่า "อินฟลูเอนเซอร์" พูดไปคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แต่ตอนนี้อาชีพนี้กำลังสร้างความหนักใจให้กับใครๆหลายๆคน เพราะคอนเทนต์ที่ทำออกมานั้น ไม่ค่อยสร้างสรรค์สักเท่าไหร่
ในภาวะที่โลกใช้โซเชียลเป็นการขับเคลื่อนหลักในการใช้ชีวิต ทำให้อาชีพที่สามารถหารายได้จากโซเชียลนั้นได้งอกเงยขึ้นมา ตามความทันสมัย หนึ่งในนั้นคือ "อินฟลูเอนเซอร์" หรือเรียกอีกอย่างว่า นักรีวิว ซึ่งจะหารายได้จากผู้ติดตาม ทำให้มีอิทธิพลทางความคิดเป็นอย่างมาก และคอนเทนต์ที่นำเสนอนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นแง่ที่ไม่ดีสักเท่าไหร่แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุน เช่น คอนเทนต์ "อวดรวย" ทำให้สภาพัฒน์ แนะภาครัฐเร่งกำกับดูแลอินฟลูเอ็นเซอร์ เนื่องจากการทำคอนเทนต์ที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมเหล่านี้ อาจสร้างผลกระทบ "ทางลบ" ต่อสังคมได้ จนนำไปสู่การก่อหนี้เพื่อมาซื้อสินค้าได้
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอินฟลูเอนเซอร์ (INFLUENCER) โดยพบว่า ในปัจจุบันการแข่งขันผลิตคอนเทนต์และการให้ความสำคัญกับ Engagement ของอินฟลูเอนเซอร์
ทำให้มักมีการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นกระแสโดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมก่อนเผยแพร่ ซึ่งอาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมหลายประการ เช่น การนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง อย่างข่าวปลอม หรือข้อมูลที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ
ขณะที่ข้อมูลจาก Nielsen ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจำนวนอินฟลูเอ็นเซอร์รวมกันมากถึง 13.5 ล้านคน โดยประเทศไทยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเป็นช่องทางสร้างรายได้ โดยมูลค่าทางการตลาดอินฟลูเอ็นเซอร์สูงถึง 19.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 140.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2573 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 7.4 เท่า ภายใน 7 ปี
สภาพัฒน์ได้ออกมาเตือนว่า อินฟลูเอ็นเซอร์อาจผลิตคอนเทนต์ที่มีอิทธิพลทางลบต่อสังคมในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น
สำหรับประเทศไทย แม้มีกฎหมายในการควบคุมอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
รวมทั้งอยู่ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ที่มีความพยายามปรับปรุงการกำกับดูแล การนำเสนอข้อมูลให้เท่าทันสื่อในปัจจุบัน
แต่ยังไม่มีการกำหนดกฎระเบียบสำหรับอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ชัดเจน นอกจากนี้ แนวทางการกำกับดูแลส่วนใหญ่เน้นไปที่การตรวจสอบและเฝ้าระวังการนำเสนอ การตักเตือน และแก้ไข
สภาพัฒน์ยังแนะว่า หากจะขยายขอบเขตการกำกับดูแลให้ครอบคลุม อาจต้องทบทวนการกำหนดนิยามของสื่อออนไลน์อย่างชัดเจน รวมถึงควรมีแนวทางการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับการผลิตเนื้อหาของสื่อกลุ่มต่างๆ
ที่มา : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง