svasdssvasds

สถิติเผย ผู้นำประเทศที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักมีความเป็นเผด็จการ

สถิติเผย ผู้นำประเทศที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักมีความเป็นเผด็จการ

โลกของเรามีผู้นำประเทศอายุเกิน 60 ปีเต็มไปหมด ซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้นำโลกปัจจุบันนี้อยู่ที่ 62 ปี แบ่งเป็น 35 % ที่มีอายุประมาณ 60 ปี 22% ที่มีอายุประมาณ 50 ปี และอีก 18% ที่มีอายุประมาณ 40 ปี และ 70 ปี

ขณะนี้ ผู้นำสหรัฐอเมริกามหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลก อย่าง ‘โจ ไบเดน’ ก็จัดอยู่ในกลุ่ม 5 % ที่มีอายุเกิน 80 ปี โดยตอนนี้ ไบเดน เพิ่งจะมีอายุครบ 81 ปีเมื่อ 20 พ.ย. 2023 ที่ผ่านมา ทำให้เขากลายเป็น ประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม อายุอาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรนักสำหรับการทำงานในตำแหน่งทั่วๆ ไป แต่ถ้าในตำแหน่งที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงอย่างผู้นำประเทศ หรือผู้ที่มีอำนาจบัญญัติกฎหมาย ตัวเลขของอายุก็อาจถูกตั้งคำถามได้

เมื่อไม่นานมานี้ “Pew Research Center” สำนักวิจัยของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ชาวอเมริกาครึ่งหนึ่ง (49%) บอกว่าพวกเขาชอบผู้นำที่อายุ 50 กว่า ๆ อีก 20 % บอกว่า เป็นการดีที่สุดถ้าผู้นำประเทศจะอายุแค่ 60 ปี ฝนขณะที่อีก 17 % บอกว่า ผู้นำควรมีอายุแค่ 40 ปีก็พอแล้ว และมีเพียงแค่ 3 % ที่บอกว่าผู้นำควรมีอายุ 70 ปีขึ้นไป

จากการสำรวจยังพบสถิติที่น่าสนใจอีกว่า ประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพสูง มักมีผู้นำอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58 ปี ในขณะที่ ประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพต่ำ มักมีผู้นำอายุเฉลี่ยมากกว่า 60 ปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเป็นเผด็จการในประเทศ หรือ ผู้นำสามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อให้ตนเองอยู่ในตำแหน่งได้นานกว่าปกติ เช่น ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียอายุ 71 ปี และ สี จิ้นผิง ของจีนวัย 70 ปี 

อย่างไรก็ตาม มีเพียงสหรัฐอเมริกาและนามิเบียเท่านั้น ที่มีผู้นำอายุเกิน 80 ปี แต่ยังคงได้คะแนนสิทธิเสรีภาพสูง

ส่วนข้อมูลอีกสถิติหนึ่ง พบว่า ผู้นำหญิงมักมีอายุน้อยกว่าผู้นำชาย โดยปี 2022 มีผู้หญิงที่เป็นผู้นำประเทศเพียง 13 คนซึ่งอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 57 ปี ในขณะที่ผู้นำผู้ชายทั่วโลกจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 62 ปี

จากการสำรวจยังพบอีกว่า เวลานี้โลกกำลังมีผู้นำที่อายุน้อยมากขึ้นเรื่อย ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนว่าประชาชนในประเทศต้องการคนรุ่นใหม่ มาคิดนโยบายใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันนักการเมืองรุ่นเก่าก็ถูกมองว่าตามไม่ทันยุคสมัย ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น และประชาชนกำลังเสื่อมศรัทธาลงเรื่อยๆ

สถิติเผย ผู้นำประเทศที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักมีความเป็นเผด็จการ

ไทยไม่มีเสรีภาพ

Freedom House องค์กรสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของประเทศทั่วโลก ให้คะแนนไทยแค่ 30 จากเต็ม 100 โดยภาพรวมของไทยพบว่า ภายหลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดครองประเทศและปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นเวลาห้าปี (22 พ.ค. 2014 – 16 ก.ค. 2019 ) ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลที่ยังอยู่ในอำนาจทหารในปี 2019

ส่วนในปี 2020 เกิดความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยทำให้มีการประท้วงของประชาชนครั้งใหญ่ ซึ่งถูกรัฐบาลใช้ยุทธวิธีแบบเผด็จการ จับกุม ข่มขู่ คุกคามนักเคลื่อนไหว และยังจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย และไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ที่กระทำกับนักเคลื่อนไหว

ทั้งนี้ไทยยังมีพัฒนาการสำคัญที่เกิดขึ้นในปี 2022 อย่างเหตุการณ์ที่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างถล่มทลาย ซึ่งสะท้อนความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาลในขณะนั้น และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกพักงาน เพราะศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า ดำรงตำแหน่ง ครบ 8 ปีแล้ว และจะอยู่ในตำแหน่งเกินกว่านั้นไม่ได้

 

รัฐบาลเศรษฐา

ยังต้องจับตาดูกันต่อไปว่า เมืองไทย ภายใต้การบริหารของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 จะทำให้ประเทศมีคะแนนเสรีภาพสูงขึ้นหรือไม่ เพราะถ้าอ้างอิงจาก Freedom House ตอนนี้ ไทยจัดอยู่ในประเทศ “ไม่เสรี” เช่นเดียวกับ จีน รัสเซีย ที่มีลักษณะ เป็นเผด็จการ

อย่างไรก็ตาม ถึงอายุของ เศรษฐา จะปาเข้าไป 61 ปี ซึ่งเป็นอายุเกษียณงานในไทย แต่เพราะประสบการณ์และความสามารถที่สั่งสมมาตลอดในเส้นทางการเมือง รวมถึงนโยบายที่มีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำเป็นหลัก ก็ช่วยอาจผลักดันให้ไทยกลับมามีภาพภาพลักษณ์โดยรวมที่ดีขึ้นก็ได้

ที่มา : Pew Research Center / Freedom House

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related