svasdssvasds

ค่าอาหาร สส.- สว. งบฯ คนละ 1,000 บาท เทียบกับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ต่างกันลิบลับ

ค่าอาหาร สส.- สว.  งบฯ คนละ 1,000 บาท เทียบกับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ต่างกันลิบลับ

ชวนเปิดงบประมาณ ในการจัด ค่าอาหาร สส. ในการประชุมแต่ละครั้ง โดย งบประมาณประจำปี 2566 จัดสรรค่าอาหารเลี้ยงรับรอง สส.ในวันประชุม รวม 72,031,000 บาท ตกแล้ว คนละ 1,000 บาท ต่อวัน

นับได้ว่าเป็นประเด็นร้อนโลกออนไลน์ เกิดการแฉมา แฉกลับ ไม่โกง เมื่อ สิริลภัส กองตระการ สส. พรรคก้าวไกล ถูกพาดพิงจาก สส. ต่างพรรค ว่า "ลักลอบ" นำอาหารสภากลับ ทำเอาสส.จากพื้นที่กรุงเทพฯ เดือด จนมาโพสต์ข้อความตอกกลับ พร้อมวางระเบิดลูกใหญ่ ให้ชาวเน็ตไปสืบต้นตอกันเอาเอง 

SPRiNG ชวนเปิดงบประมาณ ในการจัดอาหาร ให้กับ สส. ในการประชุมแต่ละครั้ง  โดยการจัดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อรับรอง สส.ในวันที่มีประชุมสภาฯ และรับรองสมาชิกรัฐสภา ในวันที่มีประชุมร่วม อยู่ภายใต้การดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดย งบประมาณประจำปี 2566 จัดสรรค่าอาหารเลี้ยงรับรอง สส.ในวันประชุม รวม 72,031,000 บาท

สำหรับ “มื้อจัดเลี้ยง” นั้น ตามระเบียบสภาฯ กำหนดว่าต้องจัดเลี้ยงและรับรองอาหาร 2 มื้อ คือ อาหารกลางวัน อาหารเย็น และมีอาหารว่างช่วงเช้า นอกจากนั้น หากกรณีที่ประชุมสภาฯ เลิกหลัง 20.00 น.จะมีมื้อพิเศษคืออาหารค่ำและอาหารรอบดึก เพิ่มเติม

หากลอง หารตัวเลข ค่าอาหารเฉลี่ยแล้ว สส.จะมีค่าอาหารต่อวัน 1,000 บาทต่อ 1 คน  

ดังนั้น งบอาหาร สส. จะตก 5 แสนบาท/วัน  สำหรับงบประมาณค่าอาหารต่อหัวของ สส. ตกประมาณหัวละ 1,000 บาท เอา 500 คูณเข้าไป ก็จะเป็นเงิน 500,000 บาทต่อวัน ประชุมกัน 2 วันต่อสัปดาห์ ก็จะเท่ากับมีรายจ่ายส่วนนี้ 1 ล้านบาทต่อสัปดาห์ อันนี้คิดเฉพาะค่าอาหารของ สส.  ยังไม่นับรวม สว.ซึ่งงบประมาณก็ไม่แตกต่างกัน
 

โดยแยกย่อย ค่าอาหาร สส. และ สว. ในวันประชุมได้ ดังนี้ 

  • วันที่มีประชุม 1,000 บาท/คน/วัน
  • อาหารเช้า 150 บาท
  • อาหารกลางวัน 350 บาท
  • อาหารเย็น 350 บาท
  • เครื่องดื่ม 150 บาท

"ค่าข้าวสภา" ปีงบประมาณ 2566 จัดสรรงบ รวม 72 ล้านบาท

นอกจากอาหารเลี้ยงรับรอง สส.ในวันประชุมสภาฯ แล้ว ตามงบประมาณปี 2566 ยังมีงบฯ เพื่อจัดหาอาหารเลี้ยงรับรอง “กรรมาธิการ" (กมธ.) ของสภาฯ ที่ได้รับจัดสรรอีก 34,846,100 บาท และอาหารรับรองคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือวิปฝ่ายค้าน อีก 1,260,000 บาท

รวมเบ็ดเสร็จ "ค่าอาหารสภาฯ” ที่รวมทั้ง กมธ. วิปฝ่ายค้าน และ สส.ในวันประชุม ตลอดปีงบประมาณ 2566 มียอดรวมทั้งสิ้น 108,137,100 บาท  อย่างไรก็ตาม  ณ ขณะนี้การใช้จ่ายของสภาฯ ชุดที่ 26 โดยมีเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ ถือว่าตกกรอบของปีงบประมาณ และยังไม่มีงบประมาณตัวใหม่ให้ใช้สอย ดังนั้น จึงต้องใช้เงินที่เหลือจากสภาฯ ชุดที่ผ่านมาไปก่อน

ขณะเดียวกัน หากลอง เอา ค่าอาหารของ สส. ในแต่ละวันที่มาประชุมสภาฯ มาเปรียบเทียบกับ เบี้ยคนชรา จะถือว่า ต่างกันลิบลับ เลยทีเดียว

• ปี 2567 ตั้งงบประมาณ 9 หมื่นล้าน เบี้ยคนชรา 

นอกจากนี้ การแจกเบี้ยคนชรา กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ในการโอนเงินเข้าบัญชีประชาชนที่ได้รับสิทธิเบี้ยคนชราตามเงื่อนไขที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ส่งรายชื่อมาเท่านั้น โดยปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ โอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับสิทธิเบี้ยคนชราโดยตรง และจ่ายผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดจ่ายทุกวันที่ 10 ของแต่ละเดือน

สำหรับรูปแบบการจ่ายเป็นการจ่ายถ้วนหน้าแบบขั้นบันได หรือจ่ายทุกคนที่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป

อายุ 60-69 ปี รับ 600 บาท/เดือน  เฉลี่ยวันละ  20 บาท 
อายุ 70-79 ปี รับ 700 บาท/เดือน เฉลี่ยวันละ  23.3 บาท 
อายุ 80-89 ปี รับ 800 บาท/เดือน เฉลี่ยวันละ 26.6 บาท 
อายุ 90 ปีขึ้นไป รับ 1,000 บาท/เดือน เฉลี่ยวันละ 33.3 บาท

รวมทั้งปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิ 11.20 ล้านคน มียอดเบิกจ่าย ณ เดือน ก.ค.2566 รวม 71,000 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2567 ตั้งงบประมาณไว้ 90,000 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดคำแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ครม.เศรษฐา 11 ก.ย. นี้ จะทำได้จริงหรือไม่ ?

อนุทิน ชาญวีรกูล ลั่น มหาดไทย ยุคนี้ไม่มีคำว่า "นาย" - ไม่มีซื้อขายตำแหน่ง

รถไฟฟ้า 20 บาท ทำตอนไหน ? เมื่อเศรษฐา สุริยะ พูดไม่ตรงกัน ความกำกวมจึงเกิดขึ้น

related