svasdssvasds

#สรุปให้ บทสรุป สายชาร์จดูดเงิน มาจากไหน มีจริงไหม แต่ที่ไทยโดนแอปฯปลอมหลอก

#สรุปให้ บทสรุป สายชาร์จดูดเงิน มาจากไหน มีจริงไหม แต่ที่ไทยโดนแอปฯปลอมหลอก

สรุปให้ จุดเริ่มต้นของ สายชาร์จดูดเงิน ในไทย เริ่มยังไง มาจากไหน ? หลังเฉลยแล้วว่าเคสที่ไทย เงินหายเพราะแอปฯหาคู่ปลอม

สายชาร์จดูดเงิน กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงในสังคม หลังจากหนุ่มคนหนึ่งโพสต์เตือนภัยว่า โทรศัพท์มือถือของเขาที่วางชาร์จไว้เฉย ๆ กลับถูกแฮก พร้อมกับกระแสสังคมที่ตั้งคำถามว่าอาจเกิดจากสารชาร์จดูดเงิน

ล่าสุดตำรวจ และ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปว่า เคสสายชาร์จดูดเงินที่ไทย เกิดจากผู้เสียหาย โหลดแอปฯหาคู่ปลอม ลงในมือถือแล้วจึงถูกแฮก แต่สายชาร์จดูดเงินในต่างประเทศมีจริง โดยวิธีการทำงานของเราคือเอา Username , Password เราไปแฮกเงินในบัญชีอีกที

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

จุดเริ่มต้น สายชาร์จดูดเงิน

  • 14 ม.ค. 66 : เพจ Drama-Addict โพสต์ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับ สายชาร์จดูดเงิน

  • 15 ม.ค. 66 : ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งแจ้งเตือนภัย อ้างว่า “...ไม่เคยกดเข้าลิงก์แปลก ๆ แค่ชาร์จทิ้งไว้..." พร้อมภาพเงินถูกโอนไปบัญชีที่ไม่รู้จักเป็นเงินกว่าแสนบาท 
  • เพจ Drama-Addict และตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์ ย้ำและคอนเฟิร์มถึงกรณีสายชาร์จดูดเงินว่ามีจริง

  • ผู้เสียหายเข้าร้องเรียน กลุ่ม สายไหมต้องรอด

  • ผู้คนเริ่มพูดถึงสายชาร์จดูดเงิน

#สรุปให้ บทสรุป สายชาร์จดูดเงิน มาจากไหน มีจริงไหม แต่ที่ไทยโดนแอปฯปลอมหลอก

 

  • 16 ม.ค. 66 : SPRiNG News และสำนักข่าวอื่น ๆ เริ่มตรวจสอบ สายชาร์จดูดเงินต่อ

  • 17 ม.ค. 66 : ผู้เสียหายที่เชื่อว่าถูกแฮกมือถือขโมยเงิน เข้าร้องเรียนที่ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
  • 18 ม.ค. 66 : แบงก์ชาติ เฉลยสาเหตุ เคส “สายชาร์จดูดเงินที่ไทย” ไม่ได้มาจากสาย แต่มาจากแอปฯปลอม ด้านตำรวจเผยชื่อแอปฯ Sweet Meet แอปฯหาคู่ปลอมหลอกดูดเงิน

สำหรับ สายชาร์จดูดเงิน มีจริง หากให้อธิบายวิธีการง่าย ๆ คือ แฮกเกอร์ฝังตัวดักข้อมูลไว้ในหัวของสายชาร์จ แต่วิธีการนี้คนร้ายต้องอยู่ใกล้ ๆ ในรัศมีสัญญาณ เช่น 2 ช่วงโต๊ะ โดยข้อมูลที่คนร้ายได้จะนำไปแฮกและดูดเงินอีกทีหนึ่ง

related