svasdssvasds

เช็กที่นี่ เลือกตั้ง 66 แต่ละจังหวัดมี ส.ส. แบ่งเขตกี่คน ตามฐานประชากร

เช็กที่นี่ เลือกตั้ง 66 แต่ละจังหวัดมี ส.ส. แบ่งเขตกี่คน ตามฐานประชากร

เช็กด่วน! ส.ส. แบ่งเหต จังหวัดไหนมีกี่คน ได้กี่ที่นั่ง รับเลือกตั้ง 66 ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอ้างอิงจากสูตรคำนวณล่าสุดตามฐานประชากร

ใกล้เข้ามาแล้วกับ ศึก เลือกตั้ง 66 โดยคาดว่าจะได้เลือกตั้งหลังจากรัฐบาลประยุทธครบวาระ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ก็เตรียมความพร้อมทั้งฐานข้อมูลและจำนวน ส.ส. ที่แต่ละจังหวัดจะมี

ตามฐานข้อมูลราษฎรล่าสุด ณ  วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2565 ที่ NationTV ช่อง 22 รายงาน เลือกตั้ง 66 จะมีผู้มีสิทธ์เลือกตั้ง 66,090,475 คน ทำให้มีการคำนวณ จำนวน ส.ส. 400 คน  คิดในอัตราเฉลี่ยประชากร 165,226.1875 คน  ต่อ ส.ส. 1 คน

โดยข้อมูลดั่งกล่าว แยกเป็น กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงยังได้มีการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565  ตามมาตรา 45 พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 2534 ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เช็กที่นี่ เลือกตั้ง 66 แต่ละจังหวัดมี ส.ส. แบ่งเขตกี่คน ตามฐานประชากร

ภาคเหนือ

  • เชียงใหม่ ประชากร 1,792,474 คน 11 ที่นั่ง
  • เชียงราย ประชาทร 1.299,636 คน 8 ที่นั่ง
  • ลำปาง ประชากร 718,790 คน 4 ที่นั่ง
  • ตาก ประชากร 684,140 คน 4 ที่นั่ง
  • น่าน ประชากร 474,539 คน 3 ที่นั่ง
  • พะเยา ประขากร 461,431 คน 3 ที่นั่ง
  • อุตรดิตถ์ ประชากร 442,949 คบ 3 ที่นั่ง
  • แพร่ ประชากร 430,669 คน 3 ที่นั่ง
  • แม่ฮ่องสอน ประซากร 266,786 คน 2 ที่นั่ง
  • ลำพูน ประยากร 399,557 คน 2 ที่นั่ง

ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)

  • นครราชสีมา ประซากร 2,630,058 คน 16 ที่นั่ง
  • ขอนแก่น ประชากร 1,784.641 คน 11 ที่นั่ง
  • อุบลราชธานี ประชากร 1,869,806 คน 11 ที่นั่ง
  • บุรีรัมย์ ประชากร 1,576,915 คน 10 ที่นั่ง
  • ศรีสะเกษ ประชากร 1,454,730 คน 9 ที่นั่ง
  • อุดรธานี ประชากร 1,563,048 คน 9 ที่นั่ง
  • ร้อยเอ็ด ประชากร 1,291,131 คน 8 ที่นั่ง
  • สุรินทร์ ประชากร 1,372,910 คน 8 ที่นั่ง
  • ชัยภูมิ ประชากร 1,117,925 คน 7 ที่นั่ง
  • สกลนคร ประซากร 1,145, 197 คน 7 ที่นั่ง
  • กาฬสินธุ์ ประชากร 972,101 คน 6 ที่นั่ง
  • มหาสารคาม ประชากร 944,606 คน 6 ที่นั่ง
  • เลย ประซากร 637,341 คน 4 ที่นั่ง
  • นครพนม ประชากร 716,647 คน 4 ที่นั่ง
  • บึงกาฬ ประชากร 421,684 คน 3 ที่นั่ง
  • ยโสธร ประชากร 531,599 คน 3 ที่นั่ง
  • หนองคาย ประซากร 515,795 คน 3 ที่นั่ง
  • หนองบัวลำภู ประชากร 508,325 คน 3 ที่นั่ง
  • มุกดาหาร ประชากร 351,588 คน 2 ที่นั่ง
  • อำนาจเจริญ ประชากร 375,382 คน 2 ที่นั่ง

ภาคกลางตอนบน

  • เพชรบรูณ์ ประชากร 973,386 คน 6 ที่นั่ง
  • นครสวรรค์ ประชากร 1,028,814 คน 6 ที่นั่ง
  • พิษณุโลก ประชากร 844,494 คน 5 ที่นั่ง
  • สุโขทัย ประชากร 581,652 คน 4 ที่นั่ง
  • กำแพงเพชร ประชากร 708,775 คน 4 ที่นั่ง
  • พิจิตร ประชากร 525,944 คน 3 ที่นั่ง
  • อุทัยธานี ประชากร 323,860 คน 2 ที่นั่ง

ภาคกลาง

  • ชลบุรี ประชากร 1,594,758 คน 10 ที่นั่ง
  • กาญจนบุรี ประชากร 894,283 คน 5 ที่นั่ง
  • ราชบุรี ประชากร 865,807 คน 5 ที่นั่ง
  • สุพรรณบุรี ประชากร 830,695 คน 5 ที่นั่ง
  • ระยอง ประชากร 759,386 คน 5 ที่นั่ง
  • สระบุรี ประชากร 638.582 คน 4 ที่นั่ง
  • ลพบุรี ประชากร 735,293 คน 4 ที่นั่ง
  • ฉะเชิงเทรา ประชากร 726,687 คน 4 ที่นั่ง
  • เพชรบุรี ประชากร 482,950 คน 3 ที่นั่ง
  • จันทบุรี ประชากร 536,144 คน 3 ที่นั่ง
  • ปราจีนบุรี ประชากร 497,778 คน 3 ที่นั่ง
  • นครนายก ประชากร 260,406 คน 2 ที่นั่ง
  • ชัยนาท ประชากร 318,308 คน 2 ที่นั่ง
  • ตราด ประชากร 227,808 คน 1 ที่นั่ง

กรุงเทพฯและปริมณฑล

  • กรุงเทพมหานคร ประชากร 5,494,932 คน 33 ที่นั่ง
  • นนทบุรี ประชากร 1,295,916 คน 8 ที่นั่ง
  • ปทุมธานี ประชากร 1,201,532 คน 7 ที่นั่ง
  • นครปฐม ประชากร 921.882 คน 6 ที่นั่ง
  • สมุทรปราการ ประชากร 1,360,227 คน 8 ที่นั่ง
  • สมุทรสาคร ประชากร 589,428 คน 4 ที่นั่ง
  • สมุทรสงคราม ประชากร 189,453 คน 1 ที่นั่ง
  • พระนครศรีอยุธยา ประซากร 820,417 คน 5 ที่นั่ง
  • อ่างทอง ประซากร 272,587 คน 2 ที่นั่ง
  • สิงห์บุรี ประชากร 202,797 คน 1 ที่นั่ง

ภาคใต้

  • นครศรีธรรมราช ประชากร 1,545,147 คน 9 ที่นั่ง
  • สงขลา ประซากร 1,431,063 คน 9 ที่นั่ง
  • สุราษฎร์ธานี ประชากร 1,073.663 คน 7 ที่นั่ง
  • นราธิวาส ประชากร 814,121 คน 5 ที่นั่ง
  • ตรัง ประชากร 638,206 คน 4 ที่นั่ง
  • ปัตตานี ประชากร 732,956 คน 4 ที่นั่ง
  • กระบี่ ประชากร 480,057 คน 3 ที่นั่ง
  • ภูเก็ต ประชากร 417,891 คน 3 ที่นั่ง
  • ประจวบคีรีขันธ์ ประชากร 553,298 คน 3 ที่นั่ง
  • ยะลา ประซากร 545,913 คน 3 ที่นั่ง
  • พัทลุง ประชากร 521,619 คน 3 ที่นั่ง
  • ชุมพร ประชากร 509,385 คน 3 ที่นั่ง
  • สตูล ประชาการ 325,303 ตน 2 ที่นั่ง
  • พังงา ประชากร 267,442 คน 2 ที่นั่ง
  • ระนอง ประชากร 194,226 คน 1 ที่นั่ง

ก่อนหน้านี้ นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)  เคยระบุว่า การแบ่งเขตเลือกตั้งภายหลังกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศฐานข้อมูลราษฎรประจำปี 2565 แล้ววิธีการคำนวณส.ส.เขตจะคิดจากจำนวนประชากรที่มีสัญชาติไทย หารด้วยจำนวนเขตเลือกตั้ง ตามระบบแบ่งซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะมีส.ส.เขตทั้งสิ้น 400 เขต คิดเป็นสัดส่วนจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ ผู้แทนฯ 1 คน  (ข้อมูล เมื่อปลายปี 2565) 

โดยมีหลักเกณฑ์อื่นๆดังนี้คือ

  • จังหวัดที่มีประชากรน้อยกว่านี้ ให้มี ส.ส. เลย 1 คน โดยทั้งจังหวัดถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
  • จังหวัดที่มีประชากรเกินจำนวนนี้ ให้มี ส.ส. ได้ 1 คน ทุกๆ จำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์
  •  ถ้าจัดสรรตาม 2 ข้อแรกแล้ว ส.ส. ยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดที่เหลือเศษจำนวนประชากรมากที่สุดจากข้อ 2 ได้ ส.ส. เพิ่ม 1 คน เรียงลำดับไปเรื่อยๆ
  • การแบ่งเขตเลือกตั้งภายในจังหวัด ต้องจัดให้แต่ละเขตมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน
  • อยู่ในอำเภอเดียวกัน แต่คนละตำบล อาจอยู่คนละเขตเลือกตั้งก็ได้

ขณะเดียวกันความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม ทางฝ่ายการเมืองเอง อย่าง นายณัฎฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ส.ส.สงขลา พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า ตนเอง และ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาราเร่  ส.ส. สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ก็เสนอให้ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดสงขลา ว่า อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย มีพื้นที่ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม เป็น 2 พหุวัฒนธรรม จึงเสนอให้แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 7 อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอเทพา (เฉพาะตำบลลำไพล ตำบลวังใหญ่) และ เขตเลือกตั้งที่ 8 อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา (ยกเว้นตำบลลำไพล และตำบลวังใหญ่)

related