เปรียบเทียบนโยบายสิ่งแวดล้อม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "8 ปี บิ๊กตู่" ที่นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี VS ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ
8 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
1.ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ เพื่อสร้างสมดุลทางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชายเลน และป่าชุมชน
รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง รวมถึงเร่งฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
แก้ไขกฎหมายป่าไม้ที่ซ้ำซ้อน เร่งคืนพื้นที่ป่า โดยการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าและสามารถทำกินได้อย่างเหมาะสม
นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมบทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.)
พร้อมทั้งรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
2. ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินและลดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน
โดยจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรที่ยากไร้และเกษตรกร ตามหลักการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
การกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ำและมีมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกรและผู้ยากจน
จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการที่ดิน จัดทำหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐ ทุกประเภท จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และเร่งแก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อน และแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจนเพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
3. ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ แหล่งน้ำชุมชน และทะเล
โดยเชื่อมโยงกับแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปีของประเทศ เพิ่มผลิตผลในการจัดการและการใช้น้ำ ทุกภาคส่วน จัดให้มีน้ำสะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบท ในปริมาณ คุณภาพ และราคาที่เข้าถึงได้ มีระบบการจัดการน้ำชุมชนที่เหมาะสม
พร้อมทั้งส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่พักน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ แอ่งน้ำบาดาล การระบายน้ำชายฝั่ง เพิ่มผลิตภาพของน้ำ ทั้งระบบ
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำให้ทัดเทียมระดับสากล ดูแลภัยพิบัติจากน้ำ พัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มนํ้าทั้งระบบ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างระบบ จัดสรรน้ำที่เป็นธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำในชุมชนตามแนว พระราชดําริ
4. สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรแร่ และทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง
เพื่อการพัฒนาประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์ ทรัพยากรแร่อย่างเหมาะสม เป็นธรรม
และคำนึงถึงดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของภาคประชาชน
จัดทำเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองบนพื้นฐานศักยภาพแร่และมีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อย่างเหมาะสม
ดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยบริหารจัดการเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัดโดยใช้แผนที่การจำแนกเขตทางทะเล และชายฝั่ง (one marine chart) บริหารจัดการทรัพยากรแร่และแหล่งพลังงานในทะเล
รวมทั้งมลพิษและขยะในทะเลให้มีประสิทธิภาพ จัดทำผังชายฝั่งและฝั่งทะเลที่ชัดเจน และกำหนดพื้นที่การพัฒนาในรูปแบบต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสอดคล้องกับภูมิศาสตร์ และทรัพยากรในพื้นที่ รักษาแนวปะการังที่สำคัญต่อการท่องเที่ยว รักษาป่าชายเลนและแหล่ง หญ้าทะเลที่สำคัญต่อประมงและสัตว์หายาก
5. แก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างสังคมคาร์บอนต่ำและปลอดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน กำหนดมาตรการควบคุมการเผาพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูก ปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบ
และการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการรับมือและปรับตัวเพื่อลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และภาคเอกชนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารจัดการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมและให้สัตยาบันไว้
6. พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
อาทิ การจัดการขยะหรือของเสีย เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือบริโภคที่หลากหลายและทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
7. พัฒนากลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ มาใช้เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม
และบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งระดับประเทศ รายสาขา และเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความขัดแย้ง ระหว่างยุทธศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะระหว่างยุทธศาสตร์รายสาขากับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่
8. แก้ไขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ
โดยเริ่มจากการส่งเสริมและให้ความรู้ในการลดปริมาณขยะในภาคครัวเรือนและธุรกิจ การนำกลับมาใช้ซ้ำการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปริมาณและต้นทุนในการจัดการขยะของเมือง และสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย
รวมทั้งพัฒนาโรงงานกำจัดขยะและของเสียอันตรายที่ได้มาตรฐาน
5 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมประธานาธิบดีโจ ไบเดน
1. สร้างความมั่นคงด้านพลังงานสะอาด มุ่งหวังปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการประหยัดพลังงานสะอาด 100% และปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในไม่เกินปี 2050 ลงนามในคำสั่งผู้บริหารชุดใหม่ที่มีการเข้าถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนซึ่งเหนือกว่าแพลตฟอร์มการบริหารของโอบามา-ไบเดน และทำให้สหรัฐฯ บนเส้นทางที่ถูกต้อง และเรียกร้องให้สภาคองเกรสออกกฎหมายในปีแรกของตำแหน่งประธานาธิบดี
2. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้คงทนต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
สร้างชาติที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นมากขึ้น ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาดเพื่อสร้างประเทศใหม่และเพื่อให้แน่ใจว่าอาคาร น้ำ การคมนาคมขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของเราสามารถทนต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทุกดอลลาร์ที่ใช้ไปกับการสร้างถนน สะพาน อาคาร โครงข่ายไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำของเราจะถูกนำมาใช้เพื่อป้องกัน ลด และทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ใช้อำนาจการประชุมของรัฐบาลในการส่งเสริมความพยายามในการฟื้นคืนสภาพจากสภาพอากาศโดยการพัฒนาแผนรับมือภาวะโลกร้อนในระดับภูมิภาค ร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นและห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อเข้าถึงวิทยาศาสตร์ ข้อมูล ข้อมูล เครื่องมือ และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
3. กระตุ้นเตือนทั่วโลกถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ให้ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ระดมคนทั้งโลกเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดจากทุกประเทศทั่วโลก
รู้วิธีที่จะยืนหยัดร่วมกับพันธมิตรของอเมริกา ยืนหยัดต่อสู้กับปฏิปักษ์ และยกระดับกับผู้นำโลกทุกคนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำ และไม่เพียงแต่ส่งสหรัฐกลับเข้าสู่ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่จะไปไกลกว่านั้นอีกมาก
สหรัฐฯ จะเป็นผู้นำความพยายามที่จะทำให้ทุกประเทศใหญ่ ๆ เพิ่มความทะเยอทะยานของเป้าหมายด้านสภาพอากาศภายในประเทศ พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำมั่นสัญญาเหล่านั้นโปร่งใสและบังคับใช้ได้ และหยุดประเทศต่าง ๆ จากการโกงโดยใช้อำนาจทางเศรษฐกิจของอเมริกาและอำนาจของตัวอย่าง
บูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับนโยบายต่างประเทศและกลยุทธ์ด้านความมั่นคงของประเทศอย่างเต็มที่ตลอดจนแนวทางการค้าของสหรัฐฯ
4. ยืนหยัดต่อความถูกต้องด้านสิ่งแวดล้อม และมลพิษ ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบด้านมลภาวะ
ยืนหยัดต่อการใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยผู้ก่อมลพิษที่ทำร้ายชุมชนที่มีสีและชุมชนที่มีรายได้ต่ำอย่างไม่เป็นสัดส่วน ชุมชนที่อ่อนแอได้รับผลกระทบอย่างไม่สมส่วนจากภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศและมลภาวะ
ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะดำเนินการกับบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและผู้ก่อมลพิษอื่น ๆ ที่สร้างผลกำไรให้กับผู้คนและทำร้ายสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ โดยเจตนาและเป็นพิษต่ออากาศ ที่ดิน และน้ำของชุมชน หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
ทำให้แน่ใจว่าชุมชนทั่วประเทศตั้งแต่ ฟลินท์ , มิชิแกน ถึง ฮาร์ลาน , เคนตักกี้ ไปจนถึงชายฝั่งทะเลนิวแฮมป์เชียร์ สามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย และจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าการพัฒนาโซลูชันเป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนอย่างครอบคลุม
5. ปฏิบัติตามพันธกรณีในการขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อคนงานและชุมชนที่ขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษต่อ ๆ มา
นี่คือการสนับสนุนที่พวกเขาได้รับจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ และการเติบโตทางเศรษฐกิจหลายทศวรรษ โดยไม่ทิ้งคนงานหรือชุมชนไว้เบื้องหลัง
นโยบายที่ออกมาเป็นรูปธรรมของประธานาธิบดีโจ ไบเดน
1. กลับเข้าร่วมความตกลงปารีส เพื่อเป็นการส่งเสริมความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ยกเลิก
2. เปลี่ยนรถยนต์ของภาครัฐทั้งหมด 650,000 คันให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการคมนาคม
3. ยกเลิกโครงการท่อส่งน้ำมัน Keystone XL เพื่อยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายสิ่งแวดล้อม
ที่มา : คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี 25 ก.ค. 62 / Update 28 ก.ย. 65 , Joe Biden Administration