svasdssvasds

สสส. จับมือ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ชู ผลงาน TIMS โชว์ผลสำเร็จ 9 งานวิจัย

สสส. จับมือ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ชู ผลงาน TIMS โชว์ผลสำเร็จ 9 งานวิจัย

สสส. สานพลัง คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ชู ผลงาน TIMS ครบรอบ 2 ปี เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนโชว์ผลสำเร็จ 9 งานวิจัย หลังพบ คนไทยมีความพึงพอใจในชีวิตด้านสุขภาพจิตต่ำสุด 4.98%

สสส. จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ TIMS เปิดเวทีโชว์ 9 งานวิจัย เดินหน้าขับเคลื่อนสุขภาวะทางจิตอย่างยั่งยืน

ในวาระครบรอบ 2 ปีของ สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมจัดงานประชุมวิชาการครั้งสำคัญ เพื่อเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และผลักดันการสร้างนโยบายด้านสุขภาพจิตในระดับสังคม เพราะ เรื่องปัญหาสุขภาพจิต เป็น โจทย์ใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ 

โดย ผลสำรวจของ TIMS ในปี 2567 จากกลุ่มตัวอย่าง 457 คน พบว่า "ความพึงพอใจในชีวิตด้านสุขภาพจิตของคนไทย" ตกอยู่ในระดับต่ำที่สุด โดยเฉลี่ยเพียง 4.98 ขณะที่ปัจจัยที่มีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (5.17), ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต (5.13) และการทำงาน/เรียน (5.11)
 

ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.  ย้ำว่า “นี่คือสัญญาณเตือนที่ต้องเร่งขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพจิตทั้งระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ใช่แค่ระบบสาธารณสุขอย่างเดียว”

" Tims จะเป็นศูนย์วิชาการที่ช่วยเราสังเคราะห์ วิเคราะห์แล้วก็ หาวิธีช่วยแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพจิต เราพูดตรงวัตถุประสงค์ของสสส. แล้วก็ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นบทบาทของสถาบันวิชาการ

งานวิชาการนี้จะเอามาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งปัญหาดิจิทัลมาแก้ในเชิงนิเวศวิทยา ก็คือสิ่งที่รายล้อมตัวเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ตัวเรา ความรู้ ทัศนคติที่ต้องใช้ความรู้จาก Tims ออกมา

อันที่ 2 ก็คือโครงสร้าง  สังคม เทคโนโลยี หรือมาตรการใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเอื้อให้เราสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบสื่อเองระบบการศึกษา ต่างๆ  ต้องอาศัยงานวิชาการ หรือแม้กระทั่งระบบนโยบายต่างๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย แล้วก็มองภาพไกลไปถึงระดับสากลร่วมด้วย"
 

สสส. จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ TIMS เปิดเวทีโชว์ 9 งานวิจัย เดินหน้าขับเคลื่อนสุขภาวะทางจิตอย่างยั่งยืน  

 9 โครงการต้นแบบ สู่สังคมสุขภาวะทางใจ

ภายในงาน มีการนำเสนอ 9 ผลงานเด่นจาก TIMS ซึ่งครอบคลุมการทำงานทั้งเชิงวิจัย ระบบ และนวัตกรรม เช่น
1.    การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพจิตที่ยั่งยืน
2.    การยกระดับมาตรฐานนักจิตวิทยาการปรึกษา
3.    การอภิบาลระบบสุขภาพจิตในไทย
4.    “ม้านั่งมีหู” – โมเดลอาสาสมัครสุขภาพจิตในชุมชน
5.    การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิต
6.    การออกแบบเครื่องมือส่งเสริมสุขภาวะใจโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวก
7.    เกณฑ์คัดเลือกองค์กรสุขภาพจิตต้นแบบ
8.    หลักสูตรเสริมพลังผู้ฟังอาสาในกลุ่มผู้พิการ
9.    การสร้างมาตรวัดความยั่งยืนทางสุขภาพจิต


ด้าน ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และ ผอ. TIMS เน้นย้ำ ว่า

"สุขภาพจิตไม่ใช่แค่เรื่องของโรค แต่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการออกแบบบริการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม"

หนึ่งในแนวคิดที่น่าสนใจคือ Social Prescribing – การออกแบบกิจกรรมทางสังคมเชิงรุก ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ เช่น การจับคู่ผู้ป่วยเรื้อรังหรือคนรู้สึกโดดเดี่ยวกับกิจกรรมหรือกลุ่มสนับสนุนในชุมชน 

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา และ ผอ. TIMS เผยว่า โครงการของเรา พยายามเปลี่ยนระบบนิเวศทางสุขภาพจิต เพราะแต่เดิมในไทย สุขภาพจิตจะถูกพูดถึงเมื่อเป็นโรคภัยละตอนเนี้ยการเปลี่ยนแปลงเนี่ยเพื่อโรคอนาคต เราจะพูดว่าสุขภาพจิตไม่ใช่แค่เมื่อมีโรคภัยแล้ว แต่เป็นการดูแลตัวเอง มันต้องออกกําลังกาย แล้วพยายามสร้างเครื่องมือต่างต่างให้คนสามารถเข้าถึงได้

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา TIMS ไม่ได้ทำงานแค่ในประเทศ แต่ยังเชื่อมโยงเครือข่ายระดับภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ และลาว เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางสุขภาพจิตที่พร้อมรับมือโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  สสส. จับมือคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และ TIMS เปิดเวทีโชว์ 9 งานวิจัย เดินหน้าขับเคลื่อนสุขภาวะทางจิตอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related