svasdssvasds

ประวัติ 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร' นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9

ประวัติ 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร' นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9

ประวัติ "ธานินทร์ ไกรวิเชียร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย องคมนตรีในรัชกาลที่ 9 ก่อนถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 97 ปี

SHORT CUT

  • "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 ถึงแก่อสัญกรรม โดยสิริอายุ 97 ปี
  • เป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จบการศึกษาด้านกฎหมายจาก ม.ธรรมศาสตร์ และศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ มหาวิทยาลัยลอนดอน 
  • ปี 2557 คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี

ประวัติ "ธานินทร์ ไกรวิเชียร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย องคมนตรีในรัชกาลที่ 9 ก่อนถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุ 97 ปี

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 เพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมา ได้โพสต์ข้อความแจ้งข่าว ระบุว่า "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 และองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 ถึงแก่อสัญกรรม โดยสิริอายุ 97 ปี

ประวัติ 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร' นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย

ศ. พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จบการศึกษาด้านกฎหมายจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาต่อด้านกฎหมายที่ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร' ประวัติการศึกษา

  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
  • พ.ศ. 2491 ศึกษาวิชากฏหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฏหมายของเนติบัณฑิตยสภา

 

 

ประวัติการทำงาน 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร'

  • รองประธานกรรมการมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
  • รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  • พ.ศ. 2520 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
  •  กรรมการบริหารสภากาชาดไทย
  • กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ
  • 8 สิงหาคม 2515 ศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  •  ศาสตราจารย์สอนวิชากฏหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฏหมายของเนติบัณฑิตยสภา
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่
  • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  • 15 ธันวาคม 2520 องคมนตรี
  • พ.ศ. 2521 - 2528 กรรมการตุลาการ
  • กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

บทบาททางการเมือง 'ธานินทร์ กรัยวิเชียร'

  • 6 ตุลาคม 2519 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยการนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
  • 20 ตุลาคม 2520 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งนำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหารอีกครั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ศ. พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ให้ปรึกษาธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น

ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือ การต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)

รัฐบาลของเขาถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งธานินทร์ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2520 และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนสิ้นรัชกาล โดยก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2516

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. 2499 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
  • พ.ศ. 2504 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  • พ.ศ. 2507 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
  • พ.ศ. 2510 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  • พ.ศ. 2512 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
  • พ.ศ. 2515 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  • พ.ศ. 2518 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
  • พ.ศ. 2520 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • พ.ศ. 2521 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • พ.ศ. 2522 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร.)
  • พ.ศ. 2523 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
  • พ.ศ. 2537 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

ที่มา : เฟซบุ๊ก โบราณนานมา , รัฐบาลไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related