SHORT CUT
มีภรรยาหรือสามีหลายคนไม่ใช่เรื่องผิด ใครๆ ก็ทำ อย่าลืมว่าเรื่องรักเดียวใจเดียว 'Monogamy' เป็นเรื่องสมมุติมาตั้งแต่แรกแล้ว
ในวันวาเลนไทน์ ดอกกุหลาบสีแดงและของขวัญกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่มั่นคง เพราะคนเรามักให้คุณค่ากับความสัมพันธ์ที่ยืนยาว รักเดียวใจเดียว และการมีคู่ครองเพียงหนึ่งเดียวที่อยู่เคียงข้างกันไปจนแก่เฒ่า
ดูเหมือนว่าสังคมจะยกย่องแนวคิดนี้ว่าเป็นแบบแผนของความรักที่แท้จริง จนหลายคนมองว่านี่เป็นตัวตนที่ถูกต้องของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด แต่หากเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ค่านิยมรักเดียวใจเดียวที่สังคมให้ความสำคัญนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในธรรมชาติของมนุษย์มาแต่เดิม แต่เป็นแนวคิดที่ถูกสร้างขึ้น และถูกปลูกฝังผ่านคำสอนและสื่อต่างๆ
แท้จริงแล้ว มนุษย์ในอดีตไม่ได้มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ตายตัวและยึดติดกับรักเดียวใจเดียวเช่นในปัจจุบัน หลักฐานทางมานุษยวิทยาชี้ให้เห็นว่าชุมชนโบราณมักให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และผู้ชายจะถูกสัญชาตญาณกระตุ้นให้ออกไปมีผู้หญิงหลายคน มากกว่าการมีเพียงหนึ่งเดียว
ในอดีต ความซื่อสัตย์ต่อคู่ชีวิต หรือ ที่เรียกว่า ‘Monogamy’ เริ่มปรากฏครั้งแรกในสังคมชาวกรีก และชาวโรมัน ในหนังสือ The Biology of Moral Systems ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ตั้งแต่อดีต เผยว่า ประเทศที่สนับสนุนให้ผู้ชายมีภรรยาคนเดียว ช่วยทำให้โครงสร้างสังคมมีเสถียรภาพมากขึ้นในเชิงประชากร การเมือง และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในสังคมที่ต้องการสร้างกองทัพที่แข็งแกร่ง เพราะหากผู้ชายมีภรรยาหลายคนได้ จะทำให้เกิดการแย่งชิงผู้หญิงและทรัพยากรจนทำให้สังคมอ่อนแอ
ต่อมา เมื่อศาสนาคริสต์เริ่มแพร่หลาย ก็ได้นำแนวคิด รักเดียวใจเดียวมาด้วย การแต่งงานจึงถูกมองว่าเป็น "สายสัมพันธ์กับคู่รักและพระเจ้าไปตลอดกาล" และเมื่อ บทละคร "Romeo and Juliet" ของ เชกสเปียร์ ออกมาปลาย ศต. 16 ก็กลายเป็นหนึ่งในอิทธิพลสำคัญให้ ‘รักเดียวใจเดียว’ เป็นเรื่องน่ายกย่องยิ่งขึ้น ทั้งที่มันเป็นเรื่องแต่งเพื่อความโรแมนติกเท่านั้น
ส่วนในทวีปเอเชีย แนวคิดเรื่องรักเดียวใจเดียวและการห้ามมีภรรยาหรือสามีหลายคนได้รับอิทธิพลจากคำสอนของศาสนาเช่นกัน โดยเฉพาะพุทธศาสนา ที่มีข้อห้ามประพฤติผิดในกามส่งเสริมค่านิยมของความซื่อสัตย์และความผูกพันระหว่างคู่สมรสจนถึงวันนี้
ค่านิยม “รักแค่คนเดียว” ที่ฝังรากกรีกจนถึงวันนี้ ! อาจมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมปลาย ศต. 18 เพราะเดิมทีสังคมชนบทมักอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ แต่เมื่อแรงงานเข้ามาในเมืองครอบครัวก็เล็กลง ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาแค่คู่เดียว จึงมีความสำคัญมากขึ้นและพึ่งพากันมากกว่าเดิม ชายที่อยู่กับคู่ครองของตนแค่คนเดียว มีแนวโน้มที่จะต่อสู้กับค่าครองชีพได้ดีกว่า คนที่มีภรรยาหลายคน
ยิ่งไปกว่านั้น การดูแลลูกให้เติบโตในเมือง ต้องใช้เวลาและการเสียสละของพ่อแม่ทั้งคู่ จึงเป็นเรื่องปกติมากขึ้น ที่ผู้ชายและผู้หญิงจะอยู่กันแค่ครอบครัวเล็ก เพื่อดูแลลูกให้ดีที่สุด และกลายเป็นค่านิยมจนถึงปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า การรักเดียวใจเดียว อยู่กับคู่แต่งงานทั้งชีวิต และเรื่องโรแมนติกเกี่ยวกับความรักทั้งหลาย ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดระเบียบสังคม แต่การมีหลายรัก หรือเรียกว่า ’ Polygamy’ ก็ยังไม่ได้หายไปจากสังคม แม้อาจผิดกฎหมายและค่านิยมหลายประเทศ แต่นี่ก็เป็นการสะท้อนว่า คนบางคนยังยอมรับสัญชาตญาณดั้งเดิมของตัวเองอยู่ และคนที่มีสามีหรือภรรยาหลายคน มักมีอิสระได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ประเภทนี้จะต้องเผชิญกับความซับซ้อนและปัญหามากกว่า หากจัดการไม่ดีๆ
เราอาจไม่ควรตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้ที่เลือกมีความรักหลายคน เพราะพวกเขาอาจเพียงแค่เป็นเหมือนมนุษย์ปกติเท่านั้น
ในทางกลับกัน ผู้ที่ยึดมั่นในความรักเดียวใจเดียว แม้จะเป็นค่านิยมที่สังคมยกย่อง แต่ก็อาจต้องเผชิญกับความเบื่อหน่ายอยู่ก็ได้ แต่ยังคงต้องแสดงออกว่าเป็นสุขเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคม ดังนั้น ควรให้ความเห็นใจและเข้าใจในความยากลำบากของพวกเขาด้วย
ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศอะไร จะชอบอัตลักษณ์ทางเพศแบบไหน จะยังไม่ม่คู่ มีคู่คนเดียว หรือมีคู่หลายคน ก็ถือเป็นเรื่องปกติมากๆ
ที่มา : feeld
ข่าวที่เกี่ยวข้อง