svasdssvasds

ส่องวิธีแก้ฝุ่น PM2.5 สิงคโปร์ทำได้แล้ว! กฎหมายเข้ม-ความร่วมมือเพื่อนบ้าน

ส่องวิธีแก้ฝุ่น PM2.5 สิงคโปร์ทำได้แล้ว! กฎหมายเข้ม-ความร่วมมือเพื่อนบ้าน

สิงคโปร์เคยจมฝุ่น PM2.5 หนัก แต่แก้ได้ด้วยกลไกเศรษฐศาสตร์-กฎหมาย-ทำงานร่วมกับเพื่อนบ้าน คืนฟ้าใสให้ประชาชน

SHORT CUT

  • เปิดบทเรียน "สิงคโปร์" แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้อยู่หมัด จากการตรากฎหมายเอาผิดบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นต้นตอเผาป่าในประเทศเพื่อนบ้าน
  • กำหนดโทษทั้งทางอาญาและแพ่ง หากค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ปรับสูงถึงวันละ 3.5 ล้านบาท
  • มีการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมดับไฟป่า ส่งเครื่องบินช่วยดับไฟป่า ในประเทศเพื่อนบ้าน

สิงคโปร์เคยจมฝุ่น PM2.5 หนัก แต่แก้ได้ด้วยกลไกเศรษฐศาสตร์-กฎหมาย-ทำงานร่วมกับเพื่อนบ้าน คืนฟ้าใสให้ประชาชน

กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ในอดีตประเทศสิงคโปร์เคยเผชิญกับปัญหาหมอกควันพิษ โดยมีต้นกำเนิดฝุ่นพิษมาจากการเผาป่าและพืชไร่ บนเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวของประเทศอินโดนีเซีย ใน พ.ศ. 2556 สิงคโปร์มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงถึง 417 ไมโครกรัม สูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่าปลอดภัยที่ 37.5 ไมโครกรัม แต่ปัจจุบันฝุ่นพิษลดลงกว่าเก่าอย่างมาก เขาแก้ปัญหาอย่างไร?

สิงคโปร์ ได้แก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ทั้งการออกกฎหมาย การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ การสนับสนุนและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เช่น

 

  1. การออกกฎหมายหมอกควันข้ามแดน (Transboundary Haze Pollution Act) เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับควบคุมการดำเนินธุรกิจสวนปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย ของบริษัทที่มีที่ตั้งในสิงคโปร์ เพื่อควบคุมไม่ให้กลุ่มนายทุนเผาป่าเพื่อบุกเบิกพื้นที่การเกษตร โดยเป็นการแก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่ต้นเหตุ ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงสุด 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 3.5 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งมีเพดานค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และยังมีโทษจำคุกตามความรุนแรงของการกระทำผิดอีกด้วย
  2. ให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องทั้งทางอาญาและแพ่ง ต่อบริษัทเอกชนสิงคโปร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการเผาในประเทศเพื่อนบ้าน
  3. การคว่ำบาตรสินค้าที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเผาป่า
  4. มีข้อตกลงอาเซียน ว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน” (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ร่วมกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
  5. การสนับสนุนช่วยเหลือด้านทรัพยากรแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า แบ่งปันเทคโนโลยี และการสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน หรือการส่งเครื่องบินช่วยดับไฟป่าอินโดนีเซีย

สุดท้ายแล้ว "คนสิงคโปร์" ได้มีอากาศสะอาดในการหายใจ แม้ต้นตอหลักๆ ไม่ได้เกิดจากฝุ่นควันในประเทศตัวเอง แต่การสร้างการกดดันทางเศรษฐศาสตร์ ความเข้มข้นในการเอาผิด และการสนับสนุนความร่วมมือต่อประเทศเพื่อนบ้านก็ทำให้เขาแก้ปัญหานี้ได้ในที่สุด ประเทศไทยเผชิญปัญหานี้ทุกปีและพบว่าฝุ่นควันในไทยมาจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทุกปัญหามีทางแก้เสมอ เพียงแต่ว่าเราทำหรือยัง ทำมากแค่ไหน เราหวงแหนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนจริงๆ กันหรือเปล่า?

related