10 เหตุผลน่าตกใจ แต่เป็นเรื่องจริงที่ทำให้คนรุ่น Gen Alpha อ่านหนังสือได้ยากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันตั้งแต่วัยเยาว์ Generation Alpha ซึ่งหมายถึงเด็กที่เกิดตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ต้องเติบโตในโลกที่เต็มไปด้วยหน้าจอและข้อมูลดิจิทัล
ความสะดวกสบายจากสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและความบันเทิงออนไลน์ ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอ่านและการเรียนรู้ไปอย่างสิ้นเชิง เด็กในเจนนี้มักมีความคุ้นเคยกับข้อมูลที่มาในรูปแบบสั้น กระชับ และมีภาพเคลื่อนไหว ทำให้ทักษะการอ่านเนื้อหาที่ยาวและลึกซึ้งอาจถูกลดทอนลงเมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อน
ต่อไปนี้คือ 7 เหตุผลสำคัญที่ Generation Alpha กำลังเผชิญกับปัญหาด้านการอ่าน
จากข้อมูลของ Firstup เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ข้ามชาติสัญชาติสหรัฐฯ พบว่าคนรุ่นมิลเลนเนียล หรือ GEN Y ที่เป็นพ่อแม่ ส่วนใหญ่ทำงานมากกว่า 40 หรือ 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจทำให้พวกเขามีเวลาน้อยลงในการใช้เวลากับลูก ๆ เพราะ Gen Alpha ทักษะการอ่านจะพัฒนาได้ดีขึ้น เมื่อพวกเขาได้รับการปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่และอ่านหนังสือร่วมกัน หาก Gen Alpha ไม่ได้รับความใส่ใจจากพ่อแม่เพียงพอที่บ้าน นี่อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมพวกเขาถึงมีทักษะการอ่านจับใจความแย่ลง
ตามข้อมูลจาก Real Clear Education เว็บไซต์ รวบรวมข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของอเมริกา เผยว่า ครูในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นจำนวนมากยังคงใช้วิธีการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพในการสอนเด็กให้เรียนรู้การอ่าน วิธีการสอนที่ไม่ดีเหล่านี้ส่งเสริมให้เด็กเดาคำ ใช้ภาพประกอบเป็นตัวช่วย และข้ามคำที่พวกเขาไม่รู้ ความจำเป็นในการปฏิรูปหลักสูตรอาจเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระดับการรู้หนังสือให้ดีขึ้น
Gen Alpha ได้รับขนานนามว่าเป็น “iPad Generation” เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีในการสัมผัสกับเทคโนโลยีตั้งแต่อายุยังน้อยอาจส่งผลเสียต่อทักษะทางภาษา โดยเฉพาะหากเนื้อหาที่เด็กดูไม่มีลักษณะส่งเสริมการอ่าน
โรงเรียนหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้การเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัส อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนพบว่าการเรียนในรูปแบบดิจิทัลทำให้พวกเขามีปัญหาในการตั้งใจเรียนและเข้าใจเนื้อหา ส่งผลให้พวกเขาเรียนไม่ทันในระดับชั้นที่ควรจะเป็น
ตามรายงานของ AP News เด็กที่เรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ในช่วงปี 2020-2021 มีคะแนนด้านการอ่านต่ำกว่าปกติถึง 8% เมื่อเทียบกับเด็กที่ได้เข้าเรียนในห้องเรียนตามปกติ และเด็กกลุ่มนี้ที่เรียนไม่ทันอาจยังไม่ได้รับการปรับตัวจนกลับมาทันเพื่อนในชั้นเรียนทั้งหมด
ครูหลายคนต้องเผชิญกับภาระงานที่หนักขึ้นเนื่องจากจำนวนห้องเรียนที่มีนักเรียนมากเกินไป อันเป็นผลมาจากการขาดแคลนครู การดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคลในห้องเรียนที่มีนักเรียนมากกว่า 30 คนขึ้นไปนั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก ขณะที่ห้องเรียนขนาดเล็กมักมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนที่ดีขึ้น ดังนั้น ห้องเรียนที่แออัดเกินไปอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Gen Alpha ประสบปัญหาด้านการเรียนรู้
เนื่องจาก Gen Alpha มักใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาอาจไม่ได้รับโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันมากพอ การเข้าสังคมมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม (soft skills) รวมถึงความสามารถด้านภาษา
เด็กในยุคปัจจุบันมีปัญหาด้านพฤติกรรมที่รุนแรงกว่าคนรุ่นก่อน ๆ โดยครูมักประสบปัญหาในการทำให้เด็ก Gen Alpha เชื่อฟังคำสั่งของผู้ใหญ่ นักเรียนหลายคนมักเพิกเฉยต่อคำแนะนำ ไม่สามารถนั่งนิ่งได้ และมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ขว้างสิ่งของใส่เพื่อนร่วมชั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง