svasdssvasds

"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง"

"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง"

"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง" สิ่งที่ควรตั้งคำถามและคิดว่าในอนาคตจะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร

SHORT CUT

  • พลุถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน โดยเริ่มแรกใช้เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย
  • ในประเทศไทย ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มใช้พลุเมื่อใด แต่มีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการเล่นไฟในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ มีการใช้ "ดอกไม้เพลิง" ในงานราชประเพณีต่างๆ
  • แม้พลุจะสวยงาม แต่เสียงดังของพลุสร้างความทุกข์ทรมานให้กับสัตว์เลี้ยง สุนัขมีการได้ยินที่ไวกว่ามนุษย์ ทำให้เสียงพลุเป็นเสียงที่ดังเกินทน เสียงพลุทำให้สุนัขเกิดความเครียดและกลัวอย่างรุนแรง ปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มมีกฎหมายควบคุมการจุดพลุและพัฒนาพลุไร้เสียงเพื่อลดผลกระทบต่อสัตว์
     

"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง" สิ่งที่ควรตั้งคำถามและคิดว่าในอนาคตจะแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวได้อย่างไร

พลุมีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าสนใจ โดยเริ่มต้นจากการค้นพบดินปืนในประเทศจีนในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน โดยชาวจีนโบราณเริ่มต้นจากการเผาไม้ไผ่เพื่อให้เกิดเสียงดังเพื่อขับไล่ปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ตามตำนานจีนโบราณมีปีศาจชื่อว่า “เหนียน” ที่จะออกมาอาละวาดในช่วงปลายปี 

\"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง\"

คนจีนจึงจุดพลุเพื่อขับไล่ปีศาจและป้องกันโชคร้าย ต่อมาเมื่อค้นพบดินปืนพลุได้ถูกพัฒนามาใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาและการเฉลิมฉลอง เช่น เทศกาลตรุษจีน การจุดพลุในเทศกาลนี้ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับโชคดีและปัดเป่าสิ่งไม่ดีในปีใหม่

\"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง\"

เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีการผลิตพลุได้พัฒนาขึ้นอย่างมาก มีการคิดค้นส่วนผสมใหม่ๆ เพื่อสร้างสีสันและรูปแบบการระเบิดที่หลากหลาย 

ในยุคกลาง พลุได้แพร่หลายไปทั่วยุโรปและกลายเป็นส่วนสำคัญในการเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ เสียงดังของพลุที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันเกิดจากการระเบิดของดินปืนที่ถูกอัดแน่นในกระบอกพลุ เมื่อถูกจุด แรงระเบิดจะดันให้พลุพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าและเกิดเสียงดังสนั่น

พลุในวัฒนธรรมนานาชาติ

ขณะที่ประเพณีการจุดพลุในสหราชอาณาจักรมีความเกี่ยวข้องกับวันกาย ฟอคส์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1605 เมื่อกาย ฟอคส์ และกลุ่มกบฏพยายามวางระเบิดรัฐสภาอังกฤษ เพื่อโค่นล้มการปกครองของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 แต่ถูกจับกุมได้ทันเวลา ชาวอังกฤษจึงจัดการเฉลิมฉลองชัยชนะในการขัดขวางการกบฏครั้งนี้ด้วยการจุดพลุและกองไฟทุกวันที่ 5 พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้และเฉลิมฉลองความสำเร็จของกษัตริย์

\"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง\"

ส่วนในญี่ปุ่น ประเพณีการจุดพลุเรียกว่า “ฮานาบิ” ซึ่งมีต้นกำเนิดตั้งแต่ยุคเอโดะ (1603-1868) ในช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองโดยขุนศึกและซามูไร ฮานาบิถูกใช้เพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายและปัดเป่าความทุกข์ยาก ต่อมาในยุคใหม่ ฮานาบิกลายเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในฤดูร้อน โดยเฉพาะ “ฮานาบิ ไทไค” ซึ่งเป็นการแสดงดอกไม้ไฟอย่างยิ่งใหญ่ในหลายเมืองของญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมักมารวมตัวกันในงานนี้เพื่อเฉลิมฉลองฤดูร้อน พร้อมกับชมความงดงามของดอกไม้ไฟที่ส่องสว่างบนท้องฟ้า

ในอินเดีย การจุดพลุมีความสำคัญอย่างมากในเทศกาลดิวาลี ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งแสงสว่าง ดิวาลีเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย ชาวฮินดูเชื่อว่าการจุดพลุในช่วงดิวาลีจะช่วยขับไล่ความมืดและความชั่วร้าย และนำโชคดี ความสุข และความเจริญรุ่งเรืองเข้ามาในชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการเฉลิมฉลองการกลับมาของพระรามหลังจากที่ทรงชนะทศกัณฐ์และกลับสู่เมืองอโยธยา ดอกไม้ไฟและพลุจึงมีความหมายเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงสว่างและชัยชนะ

คนไทยรู้จักพลุตั้งแต่เมื่อไหร่

ขณะที่ในประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ารู้จักพลุตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มีหลักฐานที่กล่าวถึงสิ่งที่คล้ายพลุตั้งแต่สมัยสุโขทัยกล่าวคือ “หลักศิลาจารึกบันทึกไว้ว่าเมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เพียย่อมคนเบียดกันเข้าดู ท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยมีดังจั๊กแตก เมื่อการกล่าวเช่นนี้พอจะขยายความได้ว่าการเล่นไฟ พูดถึงการเล่นคือความสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้เข้าชม แสงสีดอกไม้เพลิงเบียดเสียดเยียดยัดเข้ามาในพระราชฐาน ทั่วสารทิศก็เข้ามาชม นี่คือการเล่นไฟ”

นอกจากหลักฐานในศิลาจารึก สุโขทัยยังมีภูเขาสูงหนึ่งลูก ชื่อ “เขาหลวง” ห่างจากเมืองเก่า 6 กิโลเมตร และมีลานกว้าง ชื่อพญาพุ่งเรือ ซึ่งตรงกับชื่อของไฟโบราณของไทย จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าสมัยสุโขทัยเล่นไฟกันแล้ว

\"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง\"

ขณะที่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏคำว่าเล่นไฟแล้ว แต่มีคำว่าจุดดอกไม้ไฟมาแทนที่และมีสิ่งที่เรียกว่า “ดอกไม้เพลิงโบราณของไทย” ที่เกี่ยวข้องกับงานราชประเพณีต่าง ๆ ทั้งในวังและนอกวัง โดยมีชื่อตัวไฟโบราณของไทยต่าง ๆ มากมาย เช่น ไฟเป็ด ไฟปลา ไฟปลาช่อน ฯลฯ ซึ่งชื่อจะสอดคล้องกับเวลาที่พลุนั้นระเบิดออกมา อย่าง ไฟเป็ดเมื่อจุดแล้วโยนลงน้ำจะมีเสียงดังแจ๊บ ๆๆๆ เหมือนเป็ด

พลุความสุขของมนุษย์แต่ความทุกข์ของสัตว์เลี้ยง

แต่เสียงที่มนุษย์เราเห็นว่าสวยงามและน่าตื่นเต้นนั้น กลับสร้างความทุกข์ทรมานให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัข เนื่องจากสุนัขมีการได้ยินที่ไวกว่ามนุษย์ถึง 4 เท่า พวกเขาสามารถได้ยินเสียงความถี่สูงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยิน 

เสียงพลุที่ดังกึกก้องจึงเป็นเสียงที่ดังเกินกว่าที่หูของพวกเขาจะทนได้ ยิ่งไปกว่านั้น สุนัขไม่สามารถเข้าใจที่มาของเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเครียดและความกลัวอย่างรุนแรง

นักพฤติกรรมสัตว์อธิบายว่า เมื่อสุนัขได้ยินเสียงพลุ สมองของพวกเขาจะเข้าสู่โหมด "สู้หรือหนี" (Fight or Flight Response) ทันที 

\"พลุแห่งความกลัว จากประเพณีสู่ฝันร้ายของสัตว์เลี้ยง\"

ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจถี่ขึ้น และอาจแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น การวิ่งหนี การซ่อนตัว การเห่าไม่หยุด หรือแม้แต่การทำลายข้าวของเพื่อหาทางหนี พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ใช่การ "ขี้กลัว" แต่เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสิ่งที่พวกเขารับรู้ว่าเป็นภัยคุกคาม

ในปัจจุบัน แม้พลุจะยังคงเป็นส่วนสำคัญในการเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ แต่หลายประเทศเริ่มมีกฎหมายควบคุมการจุดพลุมากขึ้น ไม่เพียงเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์ แต่ยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าด้วย มีการพัฒนาพลุไร้เสียง หรือการใช้แสงเลเซอร์และโดรนแทนการจุดพลุในบางงาน เพื่อให้มนุษย์สามารถเฉลิมฉลองได้โดยไม่สร้างความทุกข์ให้กับเพื่อนสี่ขาของเรา

ความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์และผลกระทบของพลุต่อสัตว์เลี้ยงจะช่วยให้เราตระหนักและมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการใช้พลุ รวมถึงหาทางเลือกอื่นในการเฉลิมฉลองที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมากขึ้น

อ้างอิง

SilpaMag / Twinkl / TheMomentum / ทำไมสุนัขถึงกลัวเสียงพลุ /

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related