SHORT CUT
ทฤษฎีสมคบคิดนี้ยังคงอยู่ข้ามกาลเวลา คนทั่วโลกจำนวนหนึ่ง ต่างเชื่อกันว่า สหรัฐฯ รู้มาตลอดว่า 'เพิร์ลฮาเบอร์' จะถูกโจมตี
ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์กล่าวว่า "เรื่องนี้ก็เหมือนต้นไม้ที่เขียวตลอดปี ไม่มีวันจบสิ้น นักเรียนของเขาในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มักจะมีใครบางคนในห้องเรียนที่พูดขึ้นมาว่า โรสเวลต์รู้เรื่องทั้งหมดนี้อยู่แล้ว"
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อ ทำเนียบขาวมีความกังวลว่า ญี่ปุ่นจะโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์มากกว่า ฐานทัพเรือใน เพิร์ลฮาเบอร์
สหรัฐอเมริกา รู้มาก่อนหรือเปล่าว่า ญี่ปุ่นจะโจมตี เพิร์ลฮาร์เบอร์ ? ทฤษฎีสมคบคิดmujได้รับความนิยมเหนือกาลเวลา !
7 ธันวาคม 1941 เป็นวันที่โลกต้องจารึก เมื่อฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ (Pearl Harbor) ของสหรัฐอเมริกา บนเกาะโอวาฮูในฮาวาย ถูกกองทัพเรือและเครื่องบินรบของญี่ปุ่นโจมตีอย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 2,300 คน เหตุการณ์นี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองอย่างเป็นทางการ และส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรมีทั้งกำลังพลและทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น จนมีชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะทั้งหมดในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ถึงจะผ่านมาหลายทศวรรษ และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตไปหมดแล้ว แต่สิ่งที่ยังคงอยู่ข้ามกาลเวลา คือ ‘ทฤษฎีสมคบคิด’ ที่ชาวสหรัฐฯ และคนทั่วโลกบางส่วน ต่างเชื่อกันว่า สหรัฐฯ รู้มาตลอดว่า เพิร์ลฮาเบอร์ จะถูกโจมตี แต่ ประธานาธิบดี ‘แฟรงกลิน โรสเวลต์ (Franklin Roosevelt) ’ ผู้นำในเวลานั้นกลับปล่อยให้มันเกิดขึ้น เพื่อเป็นข้ออ้าง ดึงสหรัฐฯ เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ทฤษฎีสมคบคิดนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่ ‘ร็อบ ซิติโน่ (Rob Citino) ’ นักวิจัยอาวุโสแห่งพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่สองแห่งชาติในนิวออร์ลีนส์ (The National WWII Museum in New Orleans) แสดงความคิดเห็นต้องประเด็นนี้ในปี 2017 ว่า ‘ไร้สาระ’
ซิติโน่ มองว่า มันเป็นทฤษฎีสมคบคิด, ข้อเท็จจริงครึ่งๆ กลางๆ, และคำโกหกที่เต็มไปด้วยความลวงกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อมันปรากฏเคียงข้างข่าวจริงและข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ — แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ การสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการโจมตีของญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1940 และแม้กระทั่งในปัจจุบัน ทุกครั้งที่มีการเปิดเผยเอกสารลับใหม่ ก็มักจะมีพาดหัวข่าวผุดขึ้นมาพร้อมคำถามว่า โรสเวลต์ รู้เห็นและยอมให้เกิดขึ้นหรือไม่?
“แต่เรื่องนี้ก็เหมือนต้นไม้ที่เขียวตลอดปี ไม่มีวันจบสิ้น นักเรียนของผมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มักจะมีใครบางคนในห้องเรียนที่พูดขึ้นมาว่า ‘โรสเวลต์รู้เรื่องทั้งหมดนี้อยู่แล้ว” ซิติโน่ กล่าว
ขณะที่ นักชีวประวัติของโรสเวลต์ 'จีน เอ็ดเวิร์ด สมิธ (Jean Edward Smith)' ก็มีมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า ‘ไม่จริง’ โดยสมิธกล่าวว่า “โรสเวลต์ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัว จากบันทึกที่มีอยู่ชัดเจนว่า ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีความเคลื่อนไหวมุ่งหน้าไปยังเพิร์ลฮาเบอร์ ที่ได้รับการตรวจพบจากวอชิงตัน”
อย่างไรก็ตาม สมิธตั้งข้อสังเกตถึง ทำเนียบขาวมีความกังวลว่า ญี่ปุ่นจะโจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์มากกว่า และโรสเวลต์ยังเชื่อว่ามาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่นที่รุกรานจีน 0tทำให้ญี่ปุ่นลดความทะเยอทะยานในเอเชียลงได้
ซิทิโนเล่าว่า มาตรการคว่ำบาตรย่อมดีกว่าสงคราม หากคุณให้เวลามันจนได้ผล และหากฝ่ายตรงข้ามมีความคิดที่มีเหตุผล แต่โรสเวลต์ประเมินสถานการณ์นั้นผิด และญี่ปุ่นก็เข้าใจผิดเช่นกันที่คิดว่าพวกเขาจะสามารถกำจัดภัยคุกคามจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ต่อปฏิบัติการของพวกเขาในแปซิฟิกตะวันตกได้
สหรัฐฯ ไม่คิดว่าญี่ปุ่นจะตอบโต้ทางการทหาร และการใช้อาวุธทางทะเลชนิดใหม่ อย่างเรือบรรทุกเครื่องบินก็ยังเป็นที่ถกเถียง สมัยนั้นไม่มีใครนำกองเรือบรรทุกเครื่องบินแล่นข้ามมหาสมุทรเป็นระยะทาง 4,000 ไมล์เพื่อโจมตีกองเรือของศัตรูในขณะที่เรือจอดทอดสมออยู่ แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ญี่ปุ่นก็ไม่คาดคิดว่า สหรัฐฯ จะกล้าสร้างกองทัพเรือขึ้นมาใหม่ แล้วก็เปิดฉากสู้รบอันนองเลือดกับญี่ปุ่น ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกแบบไม่ยอมเจรจา
“ข้อสันนิษฐาน และการข่าวกรองที่ไม่ดีเหล่านี้ทำให้เกิดสงคราม ซึ่งเป็นเหตุผลที่ชัดเจนมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน แต่ทฤษฎีสมคบคิดก็ยังคงอยู่ แม้ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ในการต่อสู้ด้วยตาตนเองจะไม่อยู่แล้วก็ตาม” ซิทิโนกล่าว
ที่มา : npr
ข่าวที่เกี่ยวข้อง