svasdssvasds

การเขียนวันละ 15 นาที ช่วยเยียวยาจิตใจได้!

การเขียนวันละ 15 นาที ช่วยเยียวยาจิตใจได้!

การเขียนไม่ได้แค่ช่วยให้เราทบทวนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อเป็นบทเรียนของชีวิต และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

SHORT CUT

  • การเขียนเชิงแสดงออก ไม่ใช่แค่การบันทึกเรื่องราวในแต่ละวัน แต่คือการเขียนสิ่งที่พบเจอด้วยมุมมองของเราเอง โดยไม่ต้องกลัวว่าสิ่งที่เราคิด หรือมุมมองของเรา จะผิดในสายตาคนอื่น
  • คุณอาจรู้สึกแย่ในช่วงแรกของการเขียนอธิบายความทุกข์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะมีผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพ
  • ใช้เวลาเขียนประมาณ 15 นาทีติดต่อกัน 3 วัน เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

การเขียนไม่ได้แค่ช่วยให้เราทบทวนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อเป็นบทเรียนของชีวิต และมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

‘เจมส์ เพนเนเบเกอร์ (James Pennebaker)' นักจิตวิทยาสังคมและศาสตราจารย์กิตติคุณ ‘แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่เมืองออสติน (The University of Texas at Austin) ’ เป็นผู้ริเริ่มการวิจัยเกี่ยวกับ ‘Expressive writing’ หรือ ‘การเขียนเชิงแสดงออก’ ตั้งแต่ปี 1986 และพบว่าช่วยเยียวยาจิตใจของผู้คนได้

James Pennebaker นักจิตวิทยาสังคม PHOTOBY Larry D. Moore

โดยการเขียนเชิงแสดงออก ไม่ใช่แค่การบันทึกเรื่องราวในแต่ละวัน แต่คือการเขียนสิ่งที่พบเจอด้วยมุมมองของเราเอง โดยไม่ต้องกลัวว่าสิ่งที่เราคิด หรือมุมมองของเรา จะผิดในสายตาคนอื่น อย่างเช่น หากวันนี้เราถูกตำหนิจากหัวหน้าเรื่องงาน แล้วรู้สึกไม่ดี เราสามารถ ใช้การเขียนเชิงแสดงออกระบายความรู้สึกสิ่งนี้ได้ ซึ่งอาจเขียนว่าเราไม่ผิด หรือผิดจริงก็ได้ เพื่อให้เราได้ปลดปล่อยความรู้สึกที่แท้จริงออกมา ซึ่งการเขียนออกมาทั้งหมดโดยไม่ห่วงเรื่องภาษา และแสดงความรู้สึกส่วนลึกออกมาอย่างจริงแท้ จะช่วยให้เราโอบกอดหัวใจที่เหนื่อยล้าของตัวเองให้กลับมามีพลังอีกครั้ง

ตัวอย่างการเขียนเชิงแสดงออกที่ชัดเจน และโด่งดังที่สุดคือ ‘บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ (The Diary of Anne Frank) ’ ที่ผู้เขียนเป็นเพียงเด็กสาวคนหนึ่ง แต่สามารถถ่ายทอดช่วงเวลาอันยากลำบากของสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกมาได้อย่างสะเทือนอารมณ์ เธอบรรยายสิ่งทั้งมดที่เห็นด้วยมุมมองของตัวเอง และนอกจากบรรยายอารมณ์ของตัวเองแล้ว เธอยังบรรยายอารมณ์ของคนอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์จริง หรืออารมณ์สมมติก็ตาม ซึ่งทำให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของโลก และเกิดความหวังในชีวิตเหมือนกับผู้เขียน

การเขียนระบายจะทำให้รู้สึกดีขึ้น !

การเขียนระบายทำให้รู้สึกดีขึ้น 

ส่วนการวิจัยของเพนเนเบเกอร์ คือนำผู้คนมาเขียนเชิงแสดงออกเพื่อดูว่าหลังจากนั้นพวกเขาจะสามารถดึงตัวเองกลับมาสู่ชีวิตที่ดีได้หรือไม่ โดยเขาและเพื่อนร่วมงาน ได้คัดเลือกนักศึกษาจากวิทยาลัยจำนวนหนึ่งและมอบหมายให้พวกเขาเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่น่าวิตกกังวลหรือหัวข้อทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย เช่น บันทึกกิจกรรมในสัปดาห์ที่แล้ว โดยอ้างว่าเป็นแค่การทบทวนการบริหารเวลาของพวกเขา

ผลที่ออกมาคือ กลุ่มทดลองจะรู้สึกแย่ในช่วงแรกของการเขียนอธิบายความทุกข์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขากลับมีผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพ ดูได้จากที่นักศึกษากลุ่มนี้ ไปใช้บริการศูนย์สุขภาพนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยน้อยลง และนักศึกษาบางคนที่เขียนงานไม่ได้เรื่องในชั้นเรียนเป็นประจำ มีพัฒนาการเขียนเล่าเรื่องได้ดีขึ้น หลังจากผ่านการทดลอง

เพนเนเบเกอร์เชื่อว่า ‘กุญแจสำคัญ’ ที่ทำให้ชีวิตนักศึกษาดีขึ้น ไม่ใช่การเปิดเผยเรื่องเจ็บปวด แต่คือ ‘การเขียน’ ที่ช่วยดึงชีวิตพวกเขาไว้

การเขียนทุกวัน ช่วยบรรเทาความโดดเดี่ยว !

การเขียนทุกวัน ช่วยบรรเทาความโดดเดี่ยว !

ความสำเร็จของการวิจัยนี้ ทำให้เกิดการวิจัยซ้ำในเวลาต่อมาโดยนักวิจัยจำนวนมากได้ ซึ่งขยายกลุ่มทดลองออกไปเป็น ทหารผ่านศึก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง ผู้ป่วยโรคปวดเรื้อรัง เหยื่ออาชญากรรม เจ้าหน้าที่กู้ภัย คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เพิ่งตกงาน และผู้ถูกคุมขัง

การศึกษาวิจัยติดตามผลที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจำนวนมากได้ทำซ้ำผลการศึกษาในขณะที่ขยายประชากรออกไปอย่างมากเพื่อรวมทหารผ่านศึก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง ผู้ป่วยโรคปวดเรื้อรัง เหยื่ออาชญากรรม เจ้าหน้าที่กู้ภัย คุณแม่มือใหม่ ผู้ดูแล ผู้ที่เพิ่งตกงาน และผู้ถูกคุมขัง

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่พบเพิ่มเติมคือ ระยะเวลาและจำนวนครั้งในการเขียน ไม่ว่าจะ 2 นาที หรือ 15 นาทีต่อวัน ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพไม่ต่างกัน และที่น่าสนใจคือ ผลการศึกษาเผยว่า ไม่จำเป็นต้องเขียนถึงความทุกข์ของตัวเองด้วยซ้ำ เพราะการเขียนบรรยายถึงความทุกข์ของผู้อื่นก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน เพราะในงานวิจัยปี 2013 (Nazarian & Smyth, 2013) เผยว่า การเข้าถึงความรู้สึกเจ็บปวดของผู้อื่นช่วยให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เนื่องจากกลุ่มทดลองมองเริ่มเข้าใจว่า ความยากลำบากทั้งหลาย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์

ลองฝึกเขียนอย่างน้อยวันละ 15 นาที 

ลองฝึกเขียนอย่างน้อยวันละ 15 นาที 

ใช้มือเขียนตัวอักษร

หากคุณสนใจที่จะลองเขียนหนังสือเชิงแสดงออก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษ สิ่งสำคัญคือให้ลองเขียนด้วยมือ เพราะวิธีดั้งเดิมนี้ต้องใช้แรงมากว่าคีย์บอร์ด ซึ่งจะทำให้จังหวะการเขียนช้าลง ช่วยให้เราได้คิด ไตร่ตรอง ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ระยะเวลาการเขียน

ความยาวและความถี่ในการเขียนขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว แต่ช่วงแรกการเขียนเป็นเวลา 15 นาทีติดต่อกัน 3 วันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

สถานที่สำหรับเขียน

ควรเป็นสถานที่ส่วนตัว ที่เป็นโซนปลอดภัย เช่นห้องส่วนตัว หรือคาเฟ่ที่มีบรรยากาศผ่อนคลาย คนไม่เยอะ เสียงไม่ดัง

หัวข้อที่เขียน

ควรเลือกเรื่องที่เราให้ความสำคัญใช้ชีวิต เช่นความสัมพันธ์ ความรู้สึก หรือประสบการณ์ที่เราอยากเล่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในอดีต หรือปัจจุบัน ที่มีผลกับจิตใจของเราในเวลานี้ จะเป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ หรือเรื่องของคนอื่นที่คุณอยากเล่าในมุมของตัวเองก็ได้ แต่ในช่วงแรก อาจลองเขียนหัวข้อเดียวกันในทุกวันก่อน เพื่อให้เราได้อธิบายเรื่องนั้นในทุกมุม จากนั้นจึงค่อยเปลี่ยนหัวข้อ เมื่อเจอเรื่องใหม่

สิ่งสำคัญ สำหรับการเขียน

โปรดจำไว้ว่าเขียนเชิงแสดงออกไม่สามารถทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ภายในช่วงเวลาสั้นๆ แต่มันต้องอาศัยเวลา ต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้เกิดผลที่ชัดเจน ดังนั้น จงอดทน สะสมพลังงานจากสิ่งที่ทำเอาไว้ และท้ายที่สุดความรู้สึกที่เราเขียนลงไปทั้งหมดจะทำให้เราเข้าใจได้เองว่า ความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด

ที่มา : Psychology Today

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related