SHORT CUT
รู้จักอะฟลาทอกซิน สารก่อมะเร็ง หลังหมอ ออกมาเตือน ต้นตอมาจากวัตถุดิบในครัว สาเหตุทำให้ มะเร็งตับครองอันดับ 1 ของคนไทย ฝากถึงร้านอาหารเมตตาลูกค้า โปรดแกะราดำที่อยู่ในวัตถุดิบ ก่อนนำไปปรุง
นพ. ประชา กัญญาประสิทธิ์ ประสาทศัลยแพทย์ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ได้เผยแพร่คลิปใน TIktok ซึ่งคุณหมอได้ออกมาพูดถึง สาเหตุมะเร็งตับใกล้ตัวของคนไทย ที่สาเหตุมาจากในห้องครัว โดยคุณหมอได้เผยว่า ไม่น่าเชื่อว่า "มะเร็ง" จะมาจากในครัว เมื่อเข้าครัวทอดไข่เจียว จะหั่นหัวหอมใส่ แกะออกมาเจอราดำ โดยราดำนี้อันตรายมาก เนื่องจากราดำจะผลิต "อะฟลาทอกซิน" ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เป็น "มะเร็งตับ"
"มะเร็งตับ" มาจากในครัว หัวหอม หัวกระเทียม พริกแห้ง ถั่วลิสง ของแห้งทั้งหมด เช่น กุ้งแห้งมีสารก่อมะเร็ง "อะฟลาทอกซิน" เมื่อกินเข้าไปจะดูดซึมที่ตับเป็นที่แรก เพราะฉะนั้นมะเร็งตับจึงเป็นอันดับ 1 ของคนไทย เพราะมันมาจากวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารที่อยู่ในครัว
"แล้วร้านอาหารละ? จะแกะออกล้างออกให้เราหรือเปล่าไม่รู้ ถั่วและพริกป่น ร้านอาหารคัดเอาที่มีเชื้อราออกให้เราไหม? "มะเร็งตับ" อาจตกมาอยู่ที่คนกิน เวลาไปกินร้านอาหารในน้ำพริกในพริกแกงมีหัวหอมกระเทียมถ้าคนที่ทำกับข้าวไม่ใช่คนที่รักเราเขาจะมานั่งแกะมะเร็งให้เราไหม"
หมอประชา ยังได้บอกออีกว่า ไม่ต้องสงสัยทำไมคนไทยเป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดี เป็นอันดับ 1 เพราะ"อะฟลาทอกซิน" มีอยู่ในครัว ส่วนอันดับ 2 คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก (Stroke) ทั้งคู่ป้องกันได้ แต่มะเร็งบางอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งนี้ ฝากถึงร้านอาหารทุกร้าน โปรดจงเมตตาลูกค้าที่ทานอาหาร โปรดแกะราดำที่อยู่ในวัตถุดิบทั้ง หัวหอม หัวกระเทียม พริกแห้ง ถั่วลิสง ออกก่อน ล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง โดยปริมาณเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรียและทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ควรเลือกซื้ออาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่แตกหรือชำรุด ต้องไม่มีกลิ่นอับ ส่งกลิ่นเหม็น หรือชื้น มีส่วนประกอบและมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ และซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อความสดใหม่ ลดเวลาในการเก็บวัตถุดิบไม่ให้นานเกินไปและจัดเก็บอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงที่ที่อุณหภูมิและความชื้นสูง นอกจากนี้ขั้นตอนในการทำอาหารอาจช่วยลดปริมาณของอะฟลาทอกซินได้ เช่น การล้างและการปอกเปลือกคัดแยกส่วนที่ปนเปื้อนออก
ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง