svasdssvasds

"ประกันสังคม" มาตรา 33 ม.39 และ ม. 40 ส่งเงินสมทบ ลดหย่อนภาษีได้กี่บาท

"ประกันสังคม" มาตรา 33 ม.39 และ ม. 40 ส่งเงินสมทบ ลดหย่อนภาษีได้กี่บาท

ประกันสังคมมาตรา 33 ม.39 และ ม.40 สำนักงานประกันสังคม ชี้แจงแล้วผู้ประกันตนสามารถนำเงินสมทบไปลดหย่อนภาษีต่อกรมสรรพากร ได้กี่บาท เช็กรายละเอียดได้ที่นี่

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน ทุกคนมักมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากขึ้น สิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นก็คือเรื่องของการจ่าย "ภาษี" ส่วนใหญ่มักจะเลือกจ่ายไปตามที่ฝ่ายบุคคลหรือกรมสรรพากรคิดมาให้ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และไม่ต้องมาเสียเวลาไปกับการคิดคำนวณให้ปวดหัว แต่รู้หรือไม่ว่า เราสามารถวางแผนการจ่ายภาษีและหาวิธี "ลดหย่อน" เพื่อให้เราจ่ายภาษีได้น้อยลง แถมยังได้เงินคืนกลับมาด้วย

ค่าลดหย่อนภาษี คืออะไร?

ค่าลดหย่อนภาษี คือรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

  • รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
  • เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคมออกมาชี้แจงแล้วว่า ผู้ประกันตนมาตรา 33 ม.39 และ ม.40 สามารถนำเงินสมทบไปลดหย่อนภาษีได้

 

ผู้ประกันตนม.33 ม.39 และม.40 นำเงินสมทบไปลดหย่อนภาษี รายละเอียดดังนี้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 นำเงินสมทบประกันสังคมลดหย่อนภาษีประจำปีจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินสมทบประกันสังคมลดหย่อนภาษีประจำปี จำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 5,184 บาท  
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 นำเงินสมทบประกันสังคมมาลดหย่อนภาษีประจำปีตามจำนวนเงิน ไม่เกิน 3,600 บาท

ทั้งนี้สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33  สามารถขอหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ ได้จากบริษัทที่ทำงาน หรือผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ,มาตรา 39 และ มาตรา 40 สามารถขอหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบ โดยยื่นบัตรประชาชนติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่จังหวัด/สาขา/ทั่วประเทศ

สำหรับการยื่นภาษีออนไลน์บุคคลธรรมดาเงินได้ปี 2566 (ยื่นปี 2567) กรมสรรพากร ให้บุคคลที่มีรายได้ต้องยื่นภาษี โดยกรมสรรพากร กำหนดให้ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ตั้งแต่วันนี้ - 9 เมษายน 2567

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related